แน่นอนว่าจุดมุ่งหมายของทุกธุรกิจคือ ‘กำไร’ และการเติบโตขององค์กร ซึ่งปัญหาของเถ้าแก่มือใหม่ที่พบอยู่บ่อยครั้งก็คงหนีไม่พ้นการขายของ กําไรน้อย บ้างก็ไม่สามารถขายของได้ บ้างก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าแต่กำไรช่างน้อยนิด และฝันร้ายของผู้ประกอบการก็คือการขาดทุน ดังนั้นนอกจากยอดขายและปริมาณผู้บริโภคแล้วไม่สามารถวัดได้ ผู้ประกอบการต้องคำนวณต้นทุน ค่าใช้จ่ายให้ดี
สำหรับต้นตอปัญหาได้ กำไรน้อยมีหลายประการอย่างมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณควรเก็บพับธุรกิจไว้เพียงเท่านี้ วันนี้เรามีวิธีการสำคัญที่จะช่วยให้การขายขาดทุนน้อยลงและเพิ่มกำไรให้มากขึ้น พร้อมกับพาเรียนรู้สาเหตุที่พบบ่อยสำหรับปัญหานี้ หากพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย
ชวนส่อง 3 สาเหตุของการขายของ กําไรน้อยเกินคาด
สำหรับสาเหตุหลักที่หลายคนขายของ กําไรน้อยมากกว่าที่คิดเนื่องจากไม่มีการจัดการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ มาเช็กกันดีกว่าว่าธุรกิจของคุณเป็นแบบนี้หรือไม่
1. บัญชีส่วนตัวใช้ร่วมกับบัญชีกิจการ
ข้อแรกไม่ควรทำอย่างยิ่งเนื่องจากคุณอาจจะใช้เงินแบบไม่มีลิมิต ให้ถือเป็นหนึ่งในพนักงานเงินเดือนหนึ่งคนที่แยกบัญชีกันจะดีกว่า เพื่อป้องกันเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่คงที่ในแต่ละเดือน ซึ่งคุณอาจจะหยิบมาใช้มากน้อยแบบไม่ทันระวัง ฉะนั้นจงตั้งเงินเดือนแก่ตัวเอง จากนั้นมีการจ่ายเช่นเดียวกันกับคนอื่นทุก ๆ สิ้นเดือน ทั้งนี้ห้ามนำส่วนอื่นออกมาใช้ส่วนตัวอย่างเคร่งครัด
2. ธุรกิจไม่มีบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ทุกครั้งที่มีการจ่ายหรือรับเงินควรมีบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างเป็นกิจจะลักษณะว่าแต่ละวันมีการใช้จ่ายด้านไหนไปบ้าง เหลือเงินอยู่จำนวนเท่าไหร่ ไม่ใช่ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายเพราะเห็นว่ามียอดขายเยอะ ทั้งนี้คุณสามารถเพิ่มเงินเดือนให้ตัวเองได้บนความเหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ จะรู้ได้ว่าเป็นจำนนเท่าไหร่ก็ต่อเมื่อคุณมีการทำบัญชีนั่นเอง ข้อนี้ห้ามพลาดกันเด็ดขาดไม่งั้นอาจเจ๊งแบบไม่รู้ตัว
3. การใช้เงินผิดประเภท
สำหรับต้นตอของการขายของ กําไรน้อยข้อต่อมาคือการใช้เงินผิดประเภท นำเงินส่วนกลางของบริษัทมาใช้ส่วนตัว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วธุรกิจต้องจ่ายเงินให้สิ่งที่เกี่ยวข้องเท่านั้นอย่าง การซื้อวัสดุ เงินเดือนพนักงาน การชำระหนี้การค้า เป็นต้น สำหรับใครที่นำเงินไปใช้อย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะคิดว่ามีกำไรเยอะแล้ว แต่อย่าลืมเรื่องต้นทุนทั้งหมดเพราะกำไรของคุณอาจจะไม่เหลือสักบาทเลยก็ได้
ไขข้อสงสัย ขายของ กําไรน้อยกว่าที่คาดควรรับมืออย่างไรดี?
หลังจากเข้าใจสาเหตุที่ทำให้ขายของ กําไรน้อยกว่าที่คิดแล้ว เราจะพาคุณมาดูวิธีแก้กันต่อ โดยสามารถนำไปปรับใช้ได้กับธุรกิจ หากพร้อมรับกำไรเพิ่มกันแล้ว มาเริ่มกันเลย
1. จัดการทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เราจะเริ่มกันที่คำถามง่าย ๆ ว่าธุรกิจของคุณมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าหรือไม่ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้อยู่มีความเหมาะสมหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์ ที่มีราคาตั้งแต่หลักพันปลาย ๆ ไปจนหลักแสน บางคนเลือกซื้อ iMac เพื่อใช้พิมพ์งานและคุยแชต หากเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่น ๆ บนตลาดแล้วสิ่งที่คุณใช้นั้นคุ้มค่าจริงหรือไม่ ทั้งนี้ต้องดูอายุการใช้งานประกอบด้วย เมื่อทรัพยากรมีประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าแล้วจะช่วยลดต้นทุนได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นสิ่งที่จะตามมาก็คือ กำไร นั่นเอง
2. การตั้งราคาขาย
หลายคนคงเคยได้ยินว่า ขายดีจนเจ๊ง ใช่ไหมล่ะ แต่ขายดีอย่างไรให้ขาดทุนล่ะ นั่นก็เพราะการตั้งราคาที่ไม่รอบคอบ มารู้ตัวอีกทียอดขายที่ได้ก็ถูกละลายแม่น้ำเพราะนั่นคือต้นทุน ไม่มีสินทรัพย์เหลือจะเกิดความติดขัดในเรื่องเงินหมุน แล้วทำไมบางคนถึงขายถูกจังเลยล่ะ? นั่นก็เพราะในตลาดมีการแข่งขันสูง บางเจ้าราคาถูกอยู่แล้วก็ลดราคาลงเพื่อเรียกลูกค้าแต่หารู้ไม่ว่าจะทำให้ขาดทุนแบบไม่รู้ตัว ดังนั้นคุณอาจจะมองหากลุ่มเป้าหมายใหม่ที่จะช่วยให้ขาย ของ กำไร ดีกว่าเดิม เพราะส่วนใหญ่ธุรกิจก็คงมีต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) กันอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่า ค่าใช้จ่าย เป็นต้น
3. ขายจำนวนน้อยเกินไป
บางธุรกิจที่หา กำไรได้น้อยก็เพราะมีการจำหน่ายปริมาณน้อยเกินไปนั่นเอง ซึ่งผู้ประกอบการต้องกลับมาวิเคราะห์อีกครั้งว่าธุรกิจของคุณมีรูปแบบใด อาจจะต้องขายจำนวนมากเพื่อให้ได้กำไรแบบผลิตภัณฑ์ FMCG หรือเป็นสินค้า High-end ที่ขายจำนวนไม่มากแต่ราคาสูง
หากสินค้าของคุณเป็นแบบแรกที่หาสินค้าทดแทนกันได้จะสามารถทำกำไรได้น้อย ดังนั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนปริมาณให้มากยิ่งขึ้น อย่างขายหลักร้อยได้กำไรเพียงหลักหน่วยต้องขายให้ถึงแสนชิ้นจึงจะได้กำไรก้อนกลับมา ซึ่งคุณจำเป็นต้องหาลูกค้าให้มากขึ้น อาจจะขายปลีกให้ห้างสรรพสินค้า ขายส่งเพื่อกระจายสินค้าโดยเข้าหากลุ่มธุรกิจอื่น (B2B)
4. การทำบัญชีเป็นกุญแจสำคัญที่สุด
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าหากขาดบัญชีไปจะส่งผลกระทบเพียงใด แถมคุณยังไม่รู้อีกด้วยว่าจุดอ่อนของธุรกิจนั้นอยู่ตรงไหน มีรายรับ-รายจ่ายและเงินหมุนเวียนเป็นอย่างไร ดังนั้นไม่มีทางรู้ได้ว่าขาดทุนหรือทำกำไรได้
โดยวิธีการแก้ปัญหาหลังจากวิเคราะห์บัญชีก็คือการพัฒนาให้ดีขึ้นหรือตัดทิ้งไปเลย หากส่วนใดไม่สามารถสร้างกำไรได้และไม่สามารถพัฒนาต่อได้ เช่น การปิดสาขา แน่นอนว่าคุณอาจจะมีความผูกพัน แต่หากไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการก็อาจจะเจ๊งได้ในท้ายที่สุด