ในปัจจุบันผู้คนหันมาประกอบธุรกิจเป็นของตัวเองกนมากขึ้น ซึ่งธุรกิจนั้นอาจเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ในครอบครัวหรือแม้แต่กิจการจากรุ่นสู่รุ่นที่ขยับขยายจนกลายมาเป็นบริษัท ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัท เป็นสิ่งแรก ๆ ที่ผู้ประกอบการนึกถึงเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นมาถึงระดับหนึ่ง
แต่เมื่อเปิดบริษัทของตัวเองแล้วผู้ประกอบการอาจจะยังไม่แน่ใจในข้อดีข้อเสีย รวมถึงขาดความเข้าใจในขั้นตอนดำเนินการว่าต้องทำอะไรบ้าง ที่บอกได้ว่านี่แหละคือเวลาที่ควรจดทะเบียนบริษัทแล้ว วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กัน
ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทต้องทำเมื่อไหร่ถึงจะดี?
กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะเริ่มขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เป็นสัญญาณบอกได้ว่าถึงเวลาแล้วคือ รายรับของบริษัทนั่นเอง เพราะปัจจัยในการคำนวณภาษีเงินได้ที่ต้องเสียของบุคคลกับบริษัทที่ผ่านการจดทะเบียนมาแล้วมีความแตกต่างกันนั่นเอง
รู้หรือไม่? จดทะเบียนบริษัทมีแบบใดบ้าง
การจดทะเบียนบริษัทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
- จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา)
การจดทะเบียนบริษัทของกิจการที่มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว คิดเอง ทำเอง มีอิสระและสามารถตัดสินใจทุกอย่างเกี่ยวกับกิจการได้เต็มที่หรือเหมาะกับกิจการขนาดเล็กที่ขายสินค้าหรือบริการง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก
- จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล
สำหรับกิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน การกระทำทุกอย่างจะเป็นไปในนามกิจการทั้งหมด ข้อดีคือ ภาษีเงินได้สูงสุดที่ต้องจ่ายจะอยู่ที่ 20% ซึ่งน้อยกว่าจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ ส่วนข้อเสียคือ การดำเนินกิจการอาจมีความล่าช้าเพราะมีผู้ตัดสินใจหลายคน โดยทะเบียนนิติบุคคลมี 3 ประเภทแบ่งดังนี้
- ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- บริษัทจำกัด
ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัททำได้เพียง 5 ขั้นตอน!
1. ตรวจและจองชื่อบริษัท
ก่อนทำการจดทะเบียนบริษัท จะต้องมีชื่อบริษัทขึ้นมาก่อนโดยชื่อเหล่านั้นต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายกับบริษัทอื่นที่จดทะเบียนไปแล้ว โดยการคิดชื่อเพื่อใช้ในการจดทะเบียนนั้นเราสามารถยื่นจองได้สูงสุดถึง 3 ชื่อ และจะได้รับการพิจารณาจากชื่อแรก หากชื่อแรกซ้ำหรือไม่ผ่านเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็นายทะเบียนก็จะพิจารณาชื่อในลำดับถัดไปแทน
ส่วนการยื่นจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ 2 แบบ คือ
- ยื่นด้วยตนเองต่อนายทะเบียน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่เราอาศัยอยู่ หรือหากเราอยู่ต่างจังหวัด ก็สามารถยื่นได้ที่สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด
- จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th
2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือแสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท โดยจะต้องยื่นไม่เกิน 30 วันจากวันที่นายทะเบียนรับรองชื่อเรียบร้อย
ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัท
- ชื่อของบริษัท (ตามที่ได้จองชื่อไว้)
- ที่ตั้งสํานักงานใหญ่ / สาขา
- วัตถุประสงค์ของบริษัท
- ทุนจดทะเบียน
- ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยาน 2 คน
- ข้อบังคับ (ถ้ามี)
- จํานวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชําระแล้ว อยางน้อยร้อยละ 25% ของทุนจดทะเบียน
- ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
- รายชื่อหรือจํานวนกรรมการที่มีอํานาจลงชื่อแทนบริษัท (อํานาจกรรมการ)
- ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
- ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติและจํานวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
3. รอนายทะเบียนตรวจสอบเอกสาร
เมื่อส่งเอกสารตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ให้รอการตรวจสอบจากนายทะเบียน หากมีส่วนไหนจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมจะได้รับการแจ้งกลับ
4. เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อใช้จดทะเบียนบริษัท
เอกสารที่ต้องเตรียมมาในการจะทะเบียนบริษัทมีดังนี้
- แบบจองชื่อนิติบุคคล
- สําเนาบัตรประจําตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
- สําเนาหลักฐานการรับชําระคาหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
- แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่และสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
หมายเหตุ: เอกสารทุกฉบับผู้ขอจดทะเบียนจะต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างน้อยหนึ่งคน ยกเว้นสำเนาบัตรประจําตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน เจ้าของบัตรจะต้องเป็นผู้เซ็นรับรองความถูกต้องด้วยตนเอง
5. ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท
ยื่นคำขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ใกล้บ้านผู้ประกอบการทุกจังหวัดทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 87 แห่ง เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรอง ก็แสดงว่าผู้ประกอบการเป็นเจ้าของบริษัทที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ค่าธรรมเนียมขั้นตอนจะทะเบียนบริษัทเป็นอย่างไร ใช้เวลากี่วัน
การจองชื่อและยื่นตรวจเอกสารออนไลน์ใช้เวลาประมาณ 1 วัน และเมื่อนายทะเบียนตรวจสอบเอกสารเสร็จดำเนินการยื่นจดทะเบียนใช้เวลาประมาณ 1 วันเป็นอันเสร็จสิ้น
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คิดจากเงินทุนแสนละ 50 บาท โดยเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และขั้นสูงได้ไม่เกิน 25,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท ตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และขั้นสูงไม่เกิน 250,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
- ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
- ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท
เพียงแค่รู้ขั้นตอนก็ทำให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนบริษัทตามลำดับได้อย่างถูกต้อง แต่หากต้องการความสะดวกและประหยัดเวลา การใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทจากผู้มีประสบการณ์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการจดทะเบียนบริษัทแล้ว
จดทะเบียนบริษัท ทำด้วยตนเองหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญดีกว่า?
เจ้าของกิจการสามารถจดทะเบียนด้วยตนเองได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ข้อดีก็คือผู้ประกอบการจะได้เรียนเกี่ยวกับขั้นตอนการจดทะเบียนตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลาหรือไม่อยากวุ่นวายในขั้นตอนและเอกสาร ก็สามารถจ้างสำนักงานบัญชีได้เช่นกัน
ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทมีข้อดีแถมทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด
ก็จบไปแล้วสำหรับขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทซึ่งจะเป็นผลดีกับบริษัทของผู้ประกอบการหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษี ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ รวมทั้งสร้างโอกาสในการขอสินเชื่อเพื่อพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการและสร้างความถูกต้องในเรื่องของกฎหมาย เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ประกอบการศึกษาการจดทะเบียนบริษัทอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าการจดทะเบียนย่อมสร้างประโยชน์มากกว่าโทษอีกด้วย