วิธีเลือกงาน ให้เหมาะสำหรับตัวเรา – 7 ข้อที่ต้องรู้

อยากเลือกอาชีพที่เหมาะกับเรา ต้องพิจารณา 7 ข้อสำคัญ!

ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรและไม่รู้ว่าอาชีพที่เหมาะกับเรามากที่สุดคืออาชีพใดอยู่หรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นตัวคุณเองหรือเพื่อนสนิทมิตรสหายที่ตกอยู่ในสภาวะนี้อย่าเพิ่งเศร้าซึมไป ถึงแม้จะไม่มีใครบอกได้ว่าอาชีพที่ใช่ ชีวิตที่ชอบของคุณเป็นอย่างไร ปลายทางช่างดูมืดมนไร้คำตอบก็ตาม วันนี้เราจะพาทุกคนมาพบกับแสงสว่างนำทางสู่คำตอบ ซึ่งนั่นคือ บุคลิกและลักษณะนิสัยของตัวคุณเอง

โดยใครที่กำลังค้นหาตัวเอง อยากมีแนวทางประกอบอาชีพชัดเจน มาทำความรู้จักตัวเองกันให้มากขึ้นไปพร้อมกับเรา เพราะปัญหาที่ผู้คนไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไรและชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษมีมานานนมแล้ว ทั้งนี้มีวิธีการสำรวจตัวเอง 7 ข้อที่ถูกคิดค้นเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว จะมีอะไรบ้าง มาดูพร้อมกันเลย

เลือกอาชีพที่เหมาะกับเรา ต้องวิเคราะห์บุคลิกให้เป็น

แน่นอนว่าแต่ละคนมีความเป็นปัจเจก ชื่นชอบในสิ่งที่แตกต่างกันและมีอุปนิสัยไม่เหมือนกัน ดังนั้นการเลือกอาชีพที่เหมาะกับเราที่จะทำให้มีความสุขและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือ การเลือกจากความเป็นตัวเอง มาดูกันเลยว่าต้องพิจารณาแง่มุมใดบ้าง

1.บุคลิกส่วนตัว

หากพิจารณาด้านบุคลิกภาพ คุณอาจจะเจออาชีพที่น่าสนใจมากมาย โดยคำว่า ‘บุคลิก’ นั้นรวมทั้งลักษณะทางใจและร่างกาย เช่น หน้าตา รูปร่าง วิธีการพูด ความมั่นใจ ทัศนคติ ไหวพริบ โดยควรเจาะลึกไปถึงความถนัดที่แท้จริงและค่านิยมอีกด้วย ซึ่งวิธีการที่ง่ายและรวดเร็วที่สุดในการค้นหาตัวเองในข้อนี้ คือ การทำแบบทดสอบความถนัด ความสนใจและบุคลิกภาพนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันมีการเปิดให้บริการฟรีหลากหลายเว็บไซต์ให้คุณเลือกได้แบบจุใจแน่นอน

2.ความสนใจ

นอกเหนือจากบุคลิกภาพแล้ว การนำความสนใจหรือกิจกรรมที่ชื่นชอบแบบพิจารณาจะช่วยให้ตัวเลือกชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้ที่ได้ทำงานตามความสนใจแนะตรงกับคุณสมบัติจะทำให้มีความสุขในการทำงานและมีผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ซึ่งความสนใจนี้สังเกตได้ง่าย ๆ คือ สิ่งที่คุณทำอยู่บ่อย ๆ และไม่ฝืนใจ เช่น การวาดรูป การแปลภาษา และการทำอาหาร เป็นต้น

3.ความรู้ความสามารถ

การวัดความรู้ความสามารถอาจสังเกตได้จากระดับคะแนนจากการทดสอบรายวิชาต่าง ๆ ถ้าผลการเรียนของวิชาใดสูง แสดงว่ามีความสามารถในด้านนั้นจริง ในทางกลับกันหากมีผลวิชาใดค่อนข้างต่ำแสดงว่ามีความสามารถทางด้านนั้นค่อนข้างน้อย ดังนั้นจงตั้งคำถามกับตัวเองและสำรวจว่าคนมีความสามารถด้านใดบ้าง สิ่งนี้จะเป็นวิธีเลือกอาชีพที่เหมาะกับเราได้ดีไม่น้อยเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามจงตระหนักว่าคุณไม่จำเป็นต้องเก่งในด้านเดียวกับคนอื่น ขอแค่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นก็เพียงพอแล้ว 

4.ความถนัด

ความถนัดในที่นี้หมายถึง การลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วทำได้อย่างคล่องแคล่วและประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ซึ่งความถนัดมักมาคู่กันกับความสนใจ แต่ถ้าหากไม่มาด้วยกันก็สามารถปรับปรุงพัฒนาจุดอ่อนของตัวเองให้เก่งขึ้นได้ เมื่อมีความชำนาญ คุณจะมีความสุขและภาคภูมิใจอย่างแน่นอน

5.จุดมุ่งหมายในชีวิต

ข้อนี้อาจจะตอบได้ยาก แต่หากทราบปลายทางแล้วขั้นตอนทุกอย่างจะปรากฏชัดเจนขึ้นทันที เช่น อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก็จะทราบแล้วว่าต้องเรียนอะไรและต้องพัฒนาความถนัดและบุกคลิกในด้านใดบ้าง สำหรับค่านิยมทำตามเพื่อนอาจจะรู้สึกว่าปลอดภัยได้อยู่ในเซฟโซน แต่หารู้ไม่ว่าปลายทางจะพาเราไปทิศทางใดก็ไม่อาจทราบได้ โดยอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ชอบก็ได้ ดังนั้นการวางแผนเลือกอาชีพที่เหมาะกับเราควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริงด้วย

6.สภาวะทางเศรษฐกิจ

อีกหนึ่งข้อจำกัดในการเลือกอาชีพที่เหมาะกับเรา ที่ทุกคนต้องพิจารณา คือ ฐานะทางบ้าน จะพอส่งเสียให้ศึกษาต่อหรือไม่ เพราะบางคณะหรือภาควิชามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง บางสาขามีค่าใช้จ่ายน้อยและมีระยะเวลาไม่มาก ทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีโอกาสหากคุณสนใจศึกษาต่อในสายนั้นจริง ๆ คือ การขอทุน สอบชิงทุนและการกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นต้น

7.ลักษณะทางกายภาพ

สถานศึกษาบางแห่งมีการกำหนดเกณฑ์ทางกายภาพ เช่น ตำรวจ ทหารและพลศึกษา จำเป็นต้องมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์มีค่า BMI ที่เหมาะสม ไม่พิการทางสายตา นอกจากนี้บางอาชีพก็มีการกำหนดเกณฑ์เช่นกันอย่าง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทั้งชายและหญิงต้องมีส่วนสูงตามเงื่อนไขเท่านั้น ซึ่งแต่ละสายการบินจะแตกต่างกันออกไป

วิธีการเลือกอาชีพที่เหมาะกับเรา เริ่มต้นง่าย ๆ จากบุกคลิก 

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับกลวิธีเลือกอาชีพที่เหมาะกับเรามากที่สุดที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ เชื่อว่าหลายคนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรและไม่รู้ว่าจุดหมายปลายทางในชีวิตอยู่ที่ใดจะมองเห็นแนวทางการเลือกอาชีพได้ชัดเจนขึ้นจากความเป็นปัจเจกของตนทั้งบุคลิก ความสนใจ ความรู้ ความถนัด จุดมุ่งหมาย สภาพเศรษฐกิจและลักษณะทางกายภาพ ซึ่งหากค่อย ๆ สังเกตตัวเองแล้ว คุณจะได้คำตอบอย่างแน่นอนทั้งนี้ข้อจำกัดบางอย่างสามารถแก้ไขและปรับปรุงได้ เช่น สิ่งที่ชื่นชอบและสิ่งที่ถนัดไม่ใช่อย่างเดียวกัน

Tiger

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด