ปีที่บริษัท Disney เกือบต้องปิดตัวเพราะ ‘มิกกี้เมาส์’ และ ‘เจ้าหญิง’

ปีที่บริษัทดิสนีย์เกือบต้องปิดตัวเพราะ 'มิกกี้เมาส์' และ 'เจ้าหญิง'

เวลาเราพูดถึงบริษัท Disney หลายคนอาจจะนึกถึงตัวละครเจ้าหญิงต่างๆ หรือแม้แต่มิกกี้เมาส์ แต่จริงๆแล้ว ตัวละครเหล่านี้เป็นปัญหาสำหรับบริษัท Disney มากกว่าที่เราคิด

ในปี 2020 ดิสนี่มีรายได้มากถึง 65,000 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ลองคิดดูนะครับ สำหรับบริษัทที่มีช่องทางในการหาลูกค้าผ่านโรงหนังและสวนสนุก Disney กลับแทบไม่ถูกผลกระทบจาก COVID เลย รายได้ลดไปนิดเดียว

Disney คือเสือนอนกินบนคอนเทนต์เก่า

เราจะบอกว่า Disney ถือว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่มีแบรนด์และตัวละครดังๆคอยสนับสนุนอยู่มากมาย มีแฟนคลับหนาแน่น แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ ว่าจริงๆแล้ว แบรนด์และตัวละครต่างๆอย่างเจ้าหญิงกับมิกกี้เมาส์ เกือบทำให้บริษัทอย่าง Disney Animations ที่สร้างหนังอนิเมชั่นต้องปิดตัวมาแล้ว 

ย้อนกลับไปประมาณ 20 ปีที่แล้ว Disney มีปัญหาหนึ่งอย่าง ก็คือ วัฒนธรรมองค์กร … ถ้าจะให้ลงกว่านี้ก็คือ วัฒนธรรมองค์กรไม่ส่งเสริมให้สร้างไอเดียใหม่ ผมคิดว่าทุกคนคงจำได้ดีครับ Lion Kingม Toy Story, Aladin หนัง animation พวกนี้คือขุมทรัพย์ และ เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเราหลายคนหลงรักในการ์ตูน Disney

ถ้าจะให้มาคิดจริง หนังเหล่านี้เอามาทำภาคสอง หรือ ทำใหม่แบบคนแสดงก็ยังทำเงินได้เรื่อยๆ (รายได้หลักพันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ปัญหาของการไม่มีคอนเทนต์ใหม่ๆ

แต่ปัญหาของ Disney ก็คือ ‘หวงสิ่งพวกนี้’ มากเกินไป ไม่กล้าเปิดรับไอเดียใหม่ๆเลย ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในปี 2000-2006  Disney ไม่สามารถผลิตหนังใหม่หรือสร้างแบรนด์ใหม่ที่คนดูชอบมากได้เลย ขนาด CEO ออกมายอมรับว่าหนังในช่วงนี้เป็นการล้มเหลวที่แพงมากๆ

ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็เหมือนกับ บริษัทเก่าแก่ที่เราคุ้นเคยกันในประเทศไทย มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ติดตลาดอยู่ 2-3 อย่าง แต่ก็ไม่สามารถสร้างสินค้าใหม่ได้ ถึงแม้วันนี้จะยังมีเงินอยู่ แต่สถานะก็คือรอวันที่จะถูกบริษัทอื่นมาทดแทน 

ซึ่งเจ้าของดิสนีย์ CEO ในตอนนั้นเค้าก็รู้ปัญหาครับ แต่เขาก็ยอมรับโดยตรงว่าวัฒนธรรมองค์กรไม่สามารถแก้ไขได้ง่าย เปลี่ยนคนก็เปลี่ยนยาก หรือจะให้เอาแบรนด์เก่าๆที่คนรักอย่างเจ้าหญิงหรือมิกกี้มาเปลี่ยนแบบพลิกโฉม ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี 

การแก้ปัญหาองค์กรของ Disney

แต่เพียงเพราะว่าข้างในเปลี่ยนไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้เลย ข้อดีของดิสนีย์ในตอนนั้นก็คือ CEO ไหวตัวทัน และ ดิสนี่ย์เป็นบริษัทที่ยังมีเงินเก็บเยอะอยู่

แปลว่าหากแก้ภายในไม่ได้ ก็สามารถใช้เงินเก็บแก้ปัญหาจากภายนอกได้

โจทย์แรกของดิสนี่ก็คือการแก้ปัญหาความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร ด้วยการซื้อบริษัทขนาดเล็กที่เรียกว่า Pixar เข้ามา การ shopping ครั้งนี้ทำให้ดิสนี่มีเทคโนโลยีในการสร้าง animation 3D แถมยังได้คนเก่งๆที่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่มา

การซื้อขายครั้งนี้ก็ส่งผลทันที เมื่อ Disney สามารถสร้างหนังเจ้าหญิงยุคใหม่อย่าง Rapunzel ใน Tangle และ Elza จาก Frozen ได้ แถมยังไม่รวมหนังต่างๆที่ Pixar ทำขึ้นมา สามารถเอามาใช้รวมกับใน Disney World ได้

แน่นอนว่าอะไรที่มันส่งผลดีก็ต้องทำต่อไป Disney ใช้เงินเยอะขึ้นเรื่อยๆ เพื่อซื้อ บริษัทผลิตหนัง Hero อย่าง Marvel เจ้าของ Starwars อย่าง Lucas Film และ ลิขสิทธิ์หนังอื่นๆอีกมากมายจาก Fox Studio

Disney เป็นบริษัทที่เก่งในด้านการเล่าเรื่อง และได้ซื้อเรื่องเล่าอื่นๆมามากมาย 

เพราะฉะนั้นอย่าให้ทุกคนจำไว้ว่า หากสถานการณ์ในปัจจุบันเราไม่ดี บางทีวิธีแก้อาจจะไม่ได้อยู่แค่การเปลี่ยนภายในหรือแค่การเปลี่ยนภายนอก

อะไรที่ดี เราก็ยังสามารถเก็บไว้ได้ และมันก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่เราจะไม่สามารถไขว่คว้าสิ่งที่ดีกว่ามาไว้ได้เช่นเดียวกัน

Tiger

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด