เวลาที่ลูกน้องทะเลาะกันเราอาจใช้วิธีต่าง ๆ ที่เราคิดว่าจะทำให้พวกเขาดีกัน แต่กลายเป็นลูกน้องเกลียดกันมากขึ้นก็ได้แค่คุณไม่รู้ เคยไหมเวลาที่ลูกน้องทะเลาะกันแล้วคุณเรียกพวกเขามาเปิดใจคุยกันตรงหน้าตัวคุณที่เป็นหัวหน้า…คุณพยายามจะให้ลูกน้องเคลียร์กันไปแล้วจะได้ไปทำงานต่อเบรก หากคุณทำแบบนี้บอกเอาไว้ครับเลยว่าเราแค่รู้สึกสบายใจเท่านั้นแหละ เเต่ว่าพวกลูกน้องก็ไม่ได้ดีกันจริง ๆ หรอกนะครับ
ลูกน้องมักจับมือกันเป็นปลอมๆเพื่อให้คุณสบายใจเพราะอยากจะได้ออกไปจากสถานการณ์นี้ให้เร็วที่สุด ถ้าเราอยากให้ลูกน้องดีกันให้ลองสังเกตและลองใช้หลักการจิตวิทยาเข้ามาช่วยและลองสำรวจอารมณ์ตัวเองให้พร้อมด้วยหลักการทางอารมณ์และความรู้สึกหรือ EQ เพราะก่อนที่จะไปเข้าใจอารมณ์ของลูกน้องเพื่อปรับสถานการณ์จากแย่ให้กลายเป็นดี เราต้องรู้จักตัวเองและควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ดีก่อน
บทความนี้ผมขอเริ่มที่สาเหตุที่ลูกน้องของคุณยังทะเลาะกันอยู่เรื่อยๆทั้งๆที่คุณพยายามแก้มาหลายหนแล้ว และในตอนหลังผมจะแนะนำ 4 วิธีแก้ปัญหาเวลาลูกน้องทะเลาะกัน ตามหลักจิตวิทยาองค์กร (หรือถ้าใครรีบ กดตรงนี้เพื่อข้ามไปวิธีแก้ปัญหาเลย)
สาเหตุที่คุณแก้ปัญหาลูกน้องทะเลาะกันไม่เคยได้
การขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกองค์กรและทุกธุรกิจ เนื่องจากคนในทีมหรือคนในที่ทำงานมีบุคลิกภาพและอายุหรือวุฒิภาวะที่แตกต่างกัน ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้โดยมีอาจมีปัจจัย ดังนี้ คือ
– พนักงาน ต่อ ลูกจ้าง: ความข้องใจที่เกิดขึ้นภายในทีม
– ผู้จัดการ กับ พนักงาน: ความสัมพันธ์ของตัวเรากับสมาชิกในทีมแต่ละคน
– ทีม ต่อ ทีม: พนักงานที่ทำงานร่วมกันกับทีมอื่น ๆ อาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกันหรือสื่อสารผิดพลาด
นักจิตวิทยาประจำองค์กรนั่นบอกว่า สิ่งที่คนที่เป็นหัวหน้ามักทำผิดก็คือการพยายามแก้ปัญหาด้วยสมองและเหตุผลแทนที่จะแก้ด้วยความรู้สึกและความเข้าใจ
คุณคิดว่าประโยคไหนที่คุณจะพูดกับลูกน้องครับ
หนึ่ง อืม…ผมเข้าใจ
สอง น่าๆ มันก็เป็นคนแบบนี้แหละอย่าไปคิดมากเลย
สาม ลองมองข้อดีของอีกฝ่ายดูบ้าง
แล้วรู้ไหมว่าการที่ทะเลาะกันมีผลกระทบกับงาน ในมุมที่เป็นหัวหน้าคุณคิดว่าประโยคไหนที่ควรจะพูดกับลูกน้องลองมาดู ถ้าตัวเราเป็นลูกน้องแล้วได้ยินหัวหน้าพูดแบบนี้จะรู้สึกยังไง ถ้าพูดว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เห็นต้องเก็บมาใส่ใจเลย
ในมุมลูกน้อง คือ ถ้าเป็นในใจเขาจะคิดว่ามันเรื่องเล็กน้อยที่ไหน หัวหน้าไม่ได้ยืนอยู่ด้วยกันตลอดเวลานี่ ไม่รู้ว่าอีกฝ่ายเขาทำอะไรไว้บ้างหัวหน้าไม่เป็นตัวเรา หัวหน้าไม่รู้หรอกเขาก็จะรู้สึกว่าคุณไม่ได้เข้าใจเขา แถมยังไปอธิบายความดีของอีกฝ่ายให้ฟังอีกนอกจากเราจะไม่เข้าใจลูกน้องแล้ว ยังไม่เห็นคนอื่นดีกว่าเขาอีกความรู้สึกก็จะรู้สึกก็จะเป็นแบบนี้
ดังนั้นการที่เรียกลูกน้องเข้ามา ขอให้ลูกน้องเข้าใจกันต่างคนต่างมีนิสัยไม่ดีเเต่เข้าใจเขาเถอะตามหลักจิตวิทยาองค์กรแล้วถ้าไปขอให้ลูกน้องทำแบบนี้ ให้เราหยุดอย่าทำแบบนี้เด็ดขาดเพราะว่าการทำแบบนี้ไม่ได้ช่วยทำให้ลูกน้องรู้สึกดีขึ้น โดยตัวเราที่เป็นหัวหน้าและลูกน้องที่เป็นทีมงานจำเป็นต้องมีและจัดลำดับความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) หรือ จิตใจเพื่อเป็นเจ้านายและผู้ฟังที่ดีในการประเมินอารมณ์ ต่าง ๆ ในองค์กรเพื่อลดโอกาสความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น
โดยสำคัญตัวเราที่เป็นหัวหน้าต้องเข้าใจและรู้จักวิธีบริหารอารมณ์ตัวเองก่อนมีต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) หรือ EQ เป็นทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ตนเองและผู้อื่นเมื่อสามารถบริหารจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมก็จะใช้ชีวิตให้มีความสุขและประสบความสำเร็จได้ โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้านที่จะประกอบได้ด้วย
1.การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness)
2.การควบคุมตัวเอง (Self-Regulation)
3.ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Social Skills)
4.การเข้าใจผู้อื่น (Empathy)
5.การจูงใจ (Motivation)
4 วิธีแก้ปัญหาเวลาลูกน้องทะเลาะกัน ตามหลักจิตวิทยาองค์กร
เวลาที่เราเจอลูกน้องทะเลาะกันหรือเพื่อนเราทะเลาะกันให้เราลองตามทำแบบนี้ (อนึ่งในบทความเราจะคุยกันเรื่องวิธีแก้ปัญหาลูกน้องทะเลาะกันนะครับ เพราะฉะนั้นเรื่องอย่างการไล่ออก พักงาน ผมจะไม่ขอพูดถึง เพราะเรื่องพวกนี้บรรเทาความเจ็บปวดให้คุณได้ แต่ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา)
1.ไม่ต้องพยายาม ทำให้พวกเขาดีกัน
2.อย่าวางเเผนให้มาพบกันโดยไม่รู้ตัว
3.อย่าอธิบายความดีของอีกฝ่าย
4.เรียกลูกน้องมาคุยกับคุณโดยตรง…ทั้งสองฝ่าย
#1 เราต้องไม่พยายามทำให้ลูกน้องดีกันเกิดความจำเป็น
เพราะลึกๆ ตามจิตวิทยาการพยายามทำแบบนี้เหมือนเป็นความต้องจากฝ่ายเราอย่างเดียวไม่ใช่ความต้องการของเขาสองคนที่ทะเลาะกันเลย ดังนั้นก็เท่ากับเราไปบังคับและเป็นเหมือนบุคคลที่ 3 แทนที่เราที่เป็นหัวหน้าจะรู้ใจลูกน้องและจะเป็นกาวใจ กลับกันเลยไม่ใช่เลยครับ มันจะทำให้สถานการณ์แย่ลงอย่างที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น
ลองจินตนาการดูนะครับว่า เวลาที่เพื่อนทะเลาะกัน หรือ เวลาที่มีลูกน้องทะเลาะกันแล้วคุณพยายามที่จะเล่นบทบาทเป็นกาวใจ สิ่งที่เรามักจะทำคือ มักจะไปพูดให้อีกฝ่ายนึงเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่งเสมอคนส่วนใหญ่ทำแบบนั้นคุยกันได้ไหมเราจะได้ทำงานด้วยกันได้ประโยคแบบนี้ “เราจะทำงานด้วยกันได้” เป็นประโยชน์ของใครคำนี้เลิกทะเลาะกันเถอะ “ผมปวดหัวมากแล้วเนี่ย” เป็นประโยชน์คนที่พูดอย่างเดียวเลยดีกันเถอะ เพราะในแล้วเราก็มีความคิดว่า “ฉันรู้สึกไม่สบายใจที่เห็นลูกน้องทะเลาะกัน”
“ดังนั้น ทั้งสองฝั่งจะไม่มีวันเข้าใจกัน เพราะ สิ่งที่ตัวเองเจอรู้สึกอึดอัด รู้สึกไม่ดีกับตัวเองแน่ ๆ จำไว้ว่าความรู้สึกบังคับกันไม่ได้ จำไว้ว่า อย่าพยายามทำให้ทั้งสองคนดีกัน”
อย่าลืมว่า ‘การแข่งขันในบริษัท’ เป็นปัจจัยอันดับต้นๆที่ทำให้ลูกน้องขยันและพยายามมากขึ้น ตราบใดที่เราสามารถควบคุมความบาดหมางไว้อยู่เพียงแค่การแข่งขัน (และตราบใดที่ลูกน้องยังทำงานได้โดยไม่กระทบต่อผลประกอบการบริษัทหรือสภาพจิตใจพนักงานคนอื่น
#2 อย่าให้สองคนมาปะทะกันโดยตรง
การพาพวกเขามาเจอกันแบบไม่รู้ตัว บางครั้งเราที่เป็นผู้จัดการก็มักจะทำพลาดไปเป็นผู้จัดการในชีวิตคนอื่นด้วยเหมือนกัน อย่าทำแบบนั้นนะครับเพราะว่าการพยายามทำให้ทั้งสองหรือกลุ่มคนที่ทะเลาะกันมาเจอกันเป็นการสร้างสถานการณ์ที่ความอึดอัด กว่าการที่เขาทะเลาะกันเองอีกสถานการณ์อาจจะแย่ลงก็ได้นะครับ
การพยายามให้คนสองคนที่ยังอารมณ์ร้อนอยู่มาเจอกันตรงๆ (แถมซ้ำด้วยการหลอกให้มาเจอกัน แบบการนัดทานข้าว การนัดคิวคุยงาน) อาจจะกลายเป็นว่าตัวเราเองก็ไปสร้างความเจ็บช้ำให้กับลูกน้อง การทำแบบนี้ยิ่งทำให้แย่ลง
“แม้ว่าคุณจะมีเจตนาที่ดีก็ตาม แต่ลูกน้องจะรู้สึกว่าเราก็ไว้ใจไม่ได้เหมือนกัน เจตนาที่ดีนั้นก็ต้องสอดคล้องกับวิธีการที่เหมาะสมด้วย ดังนั้นสถานการณ์นี้ไม่ควรทำ”
#3 อย่าพยายามอธิบายความดีของฝ่ายให้อีกฝ่ายฟัง
เข้าใจว่าคุณที่เป็นหัวหน้าอยากจะให้แต่ละฝ่ายมองเห็นข้อดีอีกฝ่ายนึงแต่การพยายามอธิบายข้อดีให้อีกฝ่ายหนึ่งฟังยัดเยียดความดีของอีกฝ่ายนึงให้อีกฝ่ายหนึ่งที่กำลังโกรธกันอยู่ยอมรับตามหลักจิตวิทยาแล้วคนโกรธกันไม่ใช่ช่วงเวลาที่เขาจะไปยอมรับข้อดีอีกฝ่ายหนึ่งได้ ข้อดีมีนะลูกน้องเขารู้อยู่เเล้วการบอกข้อดีของอีกฝ่ายตอนนี้ไปก็ไม่ได้มีมีประโยชน์อะไรที่จะทำให้พวกเขาทั้งสองคนดีกัน
ขณะที่คนเขาทะเลาะกันในขณะที่ลูกน้องไม่ถูกกันในฐานะหัวหน้างานคุณแค่รู้สถานการณ์ว่ามีการทะเลาะกันและไม่เข้าใจกันเขาโกรธกันแต่เราไม่มีทางรู้รายละเอียดทั้งหมดระหว่างเขาสองคนหรือสองทีม ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือแค่โฟกัสที่งานยอมรับว่ามีการทะเลาะกันและบอกเจตนารมณ์ให้ชัดเลยเหมือนเป็นกฎของบริษัทแต่บอกเชิงมี EQ
เข้าใจในมุมตัวเอง และ มุมลูกน้อง ว่าทะเลาะกันแต่ต้องทำงานด้วยกันได้ ทะเลาะกันได้ไม่ชอบกันได้แต่ในการทำงานต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพเหมือนเดิมถ้าทำงานด้วยกันไม่ได้แล้วมีผลเสียตามมา หากผลงานพวกคุณไม่ดีการประเมินผลปลายปีก็ต้องไม่ดีหรือทำให้เกิดผลเสียจากการทะเลาะกันคุณจะถูกลงโทษนะ เราต้องแจ้งให้กับทีมงานที่เขาทะเลาะกันตามนโยบายของบริษัทหรือกฎธุรกิจและบริการให้ทุกฝ่ายทราบ
#4 การแก้ปัญหาเริ่มที่การคุยกับทั้งสองคนแบบแยกก่อน
ลูกน้อง A มาคุยกับคุณก็เข้าใจ
ลูกน้อง B มาคุยกับคุณก็เข้าใจ
ไม่ต้องไปทำให้พวกเขาเข้าใจกันโดยทันที โดยการที่ตัวคุณไปบังคับเพราะเมื่อไหร่ก็ตามถ้าทั้งสองฝ่ายสงบลงเราก็จะมีวิธีการเยียวยาสัมพันธภาพของเขาเอง แต่มันก็เป็นสิทธิ์ของเขาอีกนะครับถ้าไปบังคับหรือเร่งให้พวกเขารีบดีกันปล่อยให้เป็นธรรมชาติว่าเขาอยากจะดีกันหรือเปล่า เรื่องสัมพันธภาพมันเป็นเรื่องระหว่างบุคคล ส่วนบุคคลที่ 3 อย่าเข้าไปจัดการเลยทันทีให้คอยดูอยู่ห่างๆ ในเเต่ล่ะฝ่ายอย่าพยายามทำให้เขาดีกันโดยการบังคับในฐานนะหัวหน้างานและผู้จัดการหรือจะเป็นใครก็ตามที่มีทีมงานทะเลาะกัน
ลองนำแนวคิดนี้การประยุกต์ใช้ดูนะครับ
ถ้าอยากให้ลูกน้องดีกันแค่รับฟังและเข้าใจ สุดท้ายคือ เราก็ยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเเต่หลักสำคัญคือ “อย่าให้ส่งผลกระทบต่องาน” เน้นเรื่องการปฏิบัติงานให้เป็นเรื่องปกติก่อนลำดับแรกส่วนเรื่องใจเราต้องเชื่อใจลูกน้องและให้พวกเขารับผิดชอบด้วยใจของพวกเขาเองครับ ส่วนเราก็ค่อยดูและค่อยประเมินสถานการณ์อยู่ห่างๆ ก่อนเป็นพอครับ
ยกตัวอย่างใกล้ตัวเราหรือครอบครัวเราก็เช่นกัน พ่อเเม่บางครอบครัวเวลาพี่น้องทะเลาะกันวิธีที่ดีก็คือปล่อยให้เขาทะเลาะกันให้เต็มที่เลยและค่อยดูอยู่ห่างๆ ไม่ให้เกินเลยเกินไปสุดท้ายด้วยความเป็นพี่-น้องที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเมื่อเขาปรับความเข้าใจกันได้ พอเข้าใจกัน เขาก็จะรักกันมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมและจะรู้เองว่าอีกฝ่ายสำคัญแค่ไหน เป็นต้นครับ เหมือนกันกับในที่ทำงานของเราก็อาจจะมีลูกน้องที่มีคนอายุมากและอายุน้อยทะเลาะกัน
ในกรณีที่ลูกน้องทะเลาะกัน ไม่ว่าอย่างไรลูกน้องก็ยังต้องเจอกันในที่ทำงานทุกวัน บางที่การเป็นหัวหน้าที่ดีก็แค่รับรู้ไว้และปล่อยให้เขาทะเลาะกันให้เต็มที่โดยเราที่เป็นหัวหน้าก็ค่อยดูอยู่และประเมินสถานการณ์การทะเลาะนั้นต้องไม่กระทบกับงาน โดยแจ้งพวกเขาแบบไม่เปิดเผยอาจจะแจ้งในที่ประชุม หรือ แปะกระดาษเตือนกฎของบริษัทไว้ก็ได้
แต่เราห้ามฝืนให้ลูกน้องเจอกันเองโดยที่ทั้งสองยังไม่พร้อมอย่างเด็ดขาด เพราะมันจะทำให้เขาเป็นจุดสนใจและอาจทำให้แย่ขึ้นไปกว่าเดิม
ดังนั้นการเป็นหัวหน้าเรื่องเจอเหตุการณ์ลูกน้องทะเลาะกันก็ คือ สิ่งที่ต้องเราอย่างแรกคือใจเย็นและรับฟังพร้อมเข้าใจ และสุดท้ายคือเราก็ยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ได้เสมอครับ