EEAT กับ YMYL: ตัวย่อใหม่ที่คุณควรรู้เวลาทำ SEO

EEAT กับ YMYL: ตัวย่อใหม่ที่คุณควรรู้เวลาทำ SEO

(เนื้อหาในบทความนี้มีการอัพเดทตามข้อมูลจากทาง Google แล้วในปี 2024 ครับ)

Google เป็นบริษัทที่มีหน้าที่ใหญ่โตในการจัดอันดับเว็บไซต์ทั้งหมดในอินเตอร์เนต แต่วิธีจัดอันดับพวกนี้มันทำงานยังไงนะ โดยในบทความนี้ เราจะมาคุยถึง EEAT และ YMYL ตัวอักษรไม่กี่ตัวแต่สำคัญมากสำหรับ SEO

สำหรับปี 2019 ขึ้นไป Google ได้เปิดเผยปัจจัยหลักตัวใหม่ที่ใช้ตัดสินว่าเว็บไซต์ไหนจะได้อันดับดีและเว็บไหนจะถูกลดอันดับ ข้อแนะนำของ Google ได้อธิบายสามปัจจัยว่า ‘คอนเทนท์’ แบบไหนเป็นคอนเทนท์คุณภาพดีและคอนเทนท์ไหนเป็นคอนเทนท์คุณภาพแย่ เรามาดูกันเลยครับ

EEAT และ YMYL คืออะไรนะ

Google บอกไว้ว่าเว็บไซต์ที่อยากจัดอันดับต้องมี วัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ (Beneficial Purposes) ซึ่งจะรวมถึง

E-A-T (Expertise, Authoritativeness, Trustworthiness) หมายถึงความเชี่ยวชาญ อำนาจ และ ความน่าเชื่อถือ (หรือเรียกได้ว่า คุณภาพของเว็บไซต์) 
YMYL (Your Money or Your Life) หมายถึงคอนเทนท์ที่เกี่ยวกับเงินหรือชีวิตของผู้อ่าน

โดยตั้งแต่ในปี 2023 ขึ้นไป E-A-T จะถูกปรับเป็น E-E-A-T ที่รวมถึงประสบการณ์ (Experience) ด้วย นอกเหนือไปจากความเชี่ยวชาญ อำนาจ และ ความน่าเชื่อถือ เป็นดั้งเดิม

ข้อแนะนำนี้มีไว้สำหรับคนออกแบบระบบการจัดอันดับของ Google หรือก็คือคนเขียนโค๊ดเพื่อสร้างอัลกอริทึมเพื่อตัดสินเรื่องส่งเสริมหรือลดความสำคัญของเว็บไซต์ ถึงแม้ว่าข้อแนะนำนี้ไม่ได้มีเพื่อนักการตลาดหรือนักสร้างคอนเทนท์โดยตรง แต่เราก็สามารถออกแบบคอนเทนน์ให้ถูกใจคนออกแบบระบบของ Google ได้อีกที

คำตอบของการจัดอันดับ Google ในยุคใหม่ก็คือ E-E-A-T, YMYL และประโยชน์สำหรับผู้อ่านนั่นเอง แต่ตัวย่อพวกนี้หมายความว่ายังไงสำหรับเจ้าของเว็บไซต์กันนะ ในบทความนี้เรามาลองดูสิ่งที่ Google เขียนอธิบายสำหรับแต่ละข้อแนะนำกันเลยครับ

วัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์, EAT และ YMYL: การจัดอันดับเว็บไซต์ที่มีคุณภาพในสายตาของ Google

EEAT และ YMYL คือปัจจัยที่ Google ให้ความสำคัญในการจัดลำดับเว็บไซต์ EEAT ย่อมาจาก ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ อำนาจ และ ความน่าเชื่อถือ และ YMYL (Your Money or Your Life) คือเนื้อหาที่มีเกี่ยวข้องกับชีวิต ความสุข หรือการเงินของผู้อ่าน ซึ่งเจ้าของบทความต้องแสดงความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือมากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้องกับ YMYL สามารถส่งผลกระทบในแง่ร้ายต่อผู้อ่านได้เยอะหากไม่มีคนคอยควบคุม ยกตัวอย่างคือการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนแบบผิดๆจนทำให้ผู้อ่านขาดทุน หรือการสอนออกกำลังกายผิดท่าจนทำให้คนเจ็บ

อย่างไรก็ตามสิ่งพวกนี้เป็นแค่ ‘ข้อแนะนำ’ ไม่ใช่ ‘คำตอบที่ชัดเจน’ สิ่งที่เราต้องทำก็คือการ ‘ตีความ’ ว่าข้อแนะนำพวกนี้ควรจะเป็นอย่างไร แต่ข้อดีก็คือข้อแนะนำพวกนี้ให้ข้อมูลเราเยอะมาก เรามาลองดูกันอย่างละเอียดกัน

วัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ (Beneficial Purposes) – สิ่งสำคัญอย่างแรก

ในปี 2018 การอัพเดทของ Google จะเขียนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ (Beneficial Purposes)ของเว็บไซต์มากขึ้น แต่มันหมายความว่ายังไง

ในย่อหน้าที่ 2.2 What is the Purpose of a Webpage หรือแปลว่าวัตถุประสงค์ของเว็บเพจคืออะไรกันแน่ในสายตาของ Google เราจะเห็นได้ดังนี้

วัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ (Beneficial Purposes) - การทำ SEO ด้วย E-A-T และ YMYL

ในตรงที่ไฮไลท์ไว้เขียนว่า ‘Websites and pages should be created to help users’ หรือ เว็บไซต์และเพจต่างๆควรถูกสร้างเพื่อช่วยผู้ใช้งาน

แต่ละเว็บและแต่ละเพจควรถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายเฉพาะทางของมัน และเป้าหมายนั้นต้องเหมาะสมกับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการทำให้คนหัวเราะ การขายสินค้า การให้ข้อมูลผู้อ่าน หรือ การสอนอะไรก็แล้วแต่

ตัวอย่างทั่วไปของเพจที่มีประโยชน์หรือช่วยเหลือผู้อ่านได้แก่

  • แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อ
  • แบ่งปันมูลส่วนบุคคลหรือสังคม
  • แบ่งปัน ภาพ วิดิโอ หรือมีเดียชนิดอื่นๆ
  • แสดงความคิดเห็นหรือมุมมอง
  • ให้ความเพลิดเพลิน
  • ขายสินค้าหรือบริการ
  • ให้ผู้ใช้ถามคำถามเพื่อที่ผู้ใช้คนอื่นจะสามารถช่วยตอบได้
  • ให้ผู้ใช้แบ่งปันไฟล์หรือดาวน์โหลดซอฟต์แวร์

เพจที่ถูกสร้างมาเพื่อทำเงินโดยเฉพาะโดยไม่สนเรื่องการช่วยเหลือผู้ใช้งานคือเพจที่มีคุณภาพแย่ที่สุดในสายตาของ Google

‘วัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ (Beneficial Purposes)’ ถูกอ้างอิงอีกครั้งในย่อหน้า 3.2 ซึ่งเกี่ยวกับขั้นตอนในการสร้างเพจที่มีคุณภาพดีในสายตาของ Google

‘ขั้นแรกในการสร้างเพจคุณภาพดี ก็คือการทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของเพจนั้น’
(Remember that the first step of PQ rating is to understand the true purpose of the page.)

ข้อแนะนำของ Google ในปี 2019 ก็ได้อธิบายเรื่อยวัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ไว้เหมือนกัน Google แนะนำให้เจ้าของเว็บ ‘มองให้กว้างเข้าไว้’ หมายความว่า ‘ประสบการณ์การใช้งาน’ (User Experience) ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญอยู่ อย่างไรก็ตามประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้อาจจะแปลว่าเราต้องทำให้เว็บเร็วขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น หรือ มีประโยชน์ต่อผู้อ่านมากขึ้นก็ได้ 

แปลว่า ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีใดก็ตาม สุดท้ายแล้วคอนเทนต์ของคุณต้องเหมาะกับจุดหมายที่ผู้ใช้อยากได้ และในปีหลังๆ บทความที่ไม่ทีประโยชน์ บทความที่ให้ข้อมูลผิด บทความที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ จะโดนปรับลด ranking ลงได้ด้วย !

YMYL (Your Money or Your Life) คอนเทนท์ที่เกี่ยวกับเงินหรือชีวิต

YMYL (Your Money or Your Life) เป็นคอนเทนท์ที่ถ้าคุณนำเสนอผิดไปหรือนำเสนอในแง่ไม่ดีอาจจะมีผลกระทบต่อ ความสุข สุขภาพ ความปลอดภัย หรือ ฐานะการเงิน ของผู้อ่าน

Google เห็นว่าคอนเทนท์พวกนี้มีความเสี่ยงเยอะและควรจัดตามองเป็นพิเศษ หากคุณสร้างเพจ YMYL ที่แนะนำอะไรผู้อ่านผิดๆ หรือให้ข้อมูลที่มีความเท็จ ข้อมูลพวกนี้จะส่งผลต่อชีวิตและการทำมาหากินของคนอื่น

ตามคำแนะนำของ Google เราควรให้ ‘ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง’ เขียนเพจ YMYL เท่านั้น

แต่บทความแบบไหนคือ YMYL กันบ้าง เรามาดูย่อหน้าที่ 2.3 กันครับ

YMYL (Your Money or Your Life) คอนเทนท์ที่เกี่ยวกับเงินหรือชีวิต - การทำ SEO ด้วย E-A-T และ YMYL
  • ข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่นหัวข้อเรื่อง ธุรกิจ วิทยาศาสตร์ การเมือง หรือ เทคโนโลยี อย่างไรก็ตามข่าวกีฬาหรือบันเทิงส่วนมากไม่ใช่ YMYL
  • กฎหมาย รัฐบาล และ พลเมือง เช่นการเลือกตั้ง บริการทางสังคม ปัญหากฎหมาย หน่วยงานของรัฐ เป็นต้น
  • เงินและคำแนะนำทางการเงิน เช่น ภาษี เกษียณ การลงทุน กู้เงิน เป็นต้น รวมถึงเพจที่ทำให้คนสามารถซื้อของหรือโอนเงินออนไลน์ได้ด้วย
  • ช้อปปิ้ง เช่น การให้ข้อมูลช่วยเหลือในการซื้อสินค้าหรือบริการ รีวิว และรวมถึงเพจที่ให้คนซื้อของออนไลน์
  • คำแนะนำทางการแพทย์ ข้อมูลเกี่ยวกับยา โรงพยาบาล หรือ กรณีฉุกเฉิน เป็นต้น
  • ข้อมูลเกี่ยวกับคนอื่น เกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ เรื่องเพศ ฯลฯ

หากเพจของคุณมีแนวโน้มที่จะกระทบต่อชีวิตหรือทางเลือกสำคัญของผู้อ่าน ก็ให้คิดว่าเป็น YMYL ไว้ก่อนได้เลยครับ หัวข้อ YMYL มีเยอะมากแต่ Google แนะนำให้เราใช้ ‘วิจารณญาณ’ ในการตัดสินคอนเทนท์ของตัวเอง เพจที่เกี่ยวกับ YMYL ต้องมีการสร้าง EAT ให้เยอะเข้าไว้ เรามาศึกษาเกี่ยวกับ EAT กันครับ

E-E-A-T ความเชี่ยวชาญ อำนาจ และ ความน่าเชื่อถือ (หรือเรียกได้ว่า คุณภาพของเพจ)

ตัวย่อสุดท้ายในวันนี้ก็คือ EEAT ซึ่งอาจจะเป็นศัพท์ใหม่สำหรับนักการตลาดคนไทย แต่ถ้าคุณทำ SEO มาซักพักแล้วคุณก็น่าจะเคยผ่านหูมาบ้าง EEAT ย่อมาจาก Experience, Expertise, Authoritativeness, Trustworthiness หมายถึง ระสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ำนาจ และ ความน่าเชื่อถือ หรือเรียกว่า ‘ปชอน’ ก็ได้ครับ 555

EAT SEO - E-A-T ความเชี่ยวชาญ อำนาจ และ ความน่าเชื่อถือ (หรือเรียกได้ว่า คุณภาพของเพจ)

เมื่อ Google ได้ทำการตัดสินแล้วว่าเพจไหนมี ‘วัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์’ Google ก็จะหันมาวัดดูว่าคอนเทนท์นี้เกี่ยวกับ YMYL หรือเปล่า ถ้าเป็นคอนเทนท์ YMYL Google ก็จะวิเคราะห์ต่อว่าบทความพวกนี้มี EAT ที่ดีพอจะรับรองคอนเทนท์ไหม หากเป็นบทความที่ไม่ใช่ YMYL ก็ไม่ต้องดู EEAT มากขนาดนั้นก็ได้ 

#1 เชี่ยวชาญ – หมายถึงคนเขียนบทความหรือคนสร้างคอนเทนท์ในแต่ละเพจ คนเหล่านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเปล่า มีอะไรรับรองได้ไหม หากเป็นไปเราต้องมีข้อมูลหรือเอกสารสนับสนุนในเว็บไซต์เราด้วย

  • Google ได้เขียนไว้ว่าเราสามารถเป็น ‘ผู้เชี่ยวชาญจากการใช้งาน’ หมายถึงคนเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหัวข้อใดเพราะใช้งานบ่อยหรือมีประสบการณ์ตรง ทั้งที่ไม่เคยผ่านการฝึก การอบรม หรือการศึกษาเฉพาะทางมาก่อน แต่เราสามารถใช้วิธีนี้กับคอนเทนท์ที่ไม่ใช่ YMYL เท่านั้น
  • หัวข้อย่อย 4.5 เขียนไว้ว่า ระดับความเชี่ยวชาญขึ้นอยู่กับหัวข้อแต่ละเพจ ยกตัวอย่างเช่นคนที่เขียนรีวิวร้านอาหารอาจจะมีความ ‘เชี่ยวชาญจากการใช้งาน’ เพราะเป็นคนชอบไปร้านใหม่ๆและรักการกินของอร่อยก็ได้

#2 อำนาจ – หมายถึงคนสร้างคอนเทนท์ ตัวคอนเทนท์เอง หรือเว็บไซต์ที่เราลงคอนเทนท์ก็ได้ 

‘อำนาจ’ อาจจะเป็นคำที่ฟังแล้วกว้างไปหน่อย แต่ส่วนมากจะหมายถึงการที่คนเห็นค่าในความคิดเห็นของคุณ ถ้าคนอื่นรู้จักคุณ รู้จักประวัติของคุณ หรือมองคุณเป็นผู้นำของอุตสาหกรรม คนก็จะมองว่าคุณเป็นแหล่งข้อมูลที่ดี

#3 น่าเชื่อถือ – ความน่าเชื่อถือของ EAT คือความน่าเชื่อถือของคนสร้างคอนเทนท์ ตัวคอนเทนท์เอง หรือเว็บไซต์ที่เราลงคอนเทนท์ เช่นกัน

#4 ประสบการณ์ – หมายความว่าเนื้อหาที่มาจากประสบการณ์จริง ก็สามารถจัดอันดับได้ เช่น คอนเทนต์ท่องเที่ยว ทำอาหาร หรือ ความรู้เฉพาะวงการ

การเป็นผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือหมายถึง การที่คนเชื่อว่าคอนเทนท์ของคุณเป็นข้อมูลที่เที่ยงตรง ถูกต้อง และเป็นความจริง

การพิจารณา EEAT เพิ่มเติม

ยิ่งคุณเป็นเพจที่เกี่ยวกับ YMYL คุณยิ่งต้องใส่ใจกับ EEAT ให้มากขึ้น คู่มือของ Google แนะนำว่าเพจพวกนี้ ‘ต้องมี’ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางรับรอง

  • คำแนะนำทางแพทย์
  • บทความข่าวที่สำคัญ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อทางวิทยาศาสตร์
  • คำแนะนำทางการเงิน กฏหมาย และเรื่องภาษี
  • คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องใหญ่ๆ เช่นการตกแต่งบ้าน การเลี้ยงลูก เป็นต้น
  • เพจงานอดิเรกที่ต้องใช้ทักษะ เช่นการถ่ายรูป การเล่นเครื่องดนตรี เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องมอง EEAT จากมุมมองของผู้ใช้ด้วย ยกตัวอย่างเช่นหากเราอยากหาบทความเรื่อง ‘การมีความสุขกับโรคมะเร็ง’ เราก็คงเลือกอ่านบทความจาก ‘ผู้รอดชีวิตจากมะเร็ง’ มากกว่าบทความจากหมอมะเร็งเป็นต้น

ข้อแนะนำของ EEAT และ YMYL ในการทำ SEO

แต่ละเว็บมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้วิธีดังนี้เพื่อสร้าง EAT ที่เหมาะสมกับคอนเทนท์ YMYL 

  • About Us หรือ หน้าเพจเกี่ยวกับเรา เป็นเพจที่ควรให้ความสำคัญมากขึ้น เราควรแสดงความน่าเชื่อถือและความเชี่ยวชาญทั้งหมดออกมา ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ทำงาน การศึกษา หรือแม้แต่รางวัลต่างๆ (อันนี้สำคัญมาก ทุกเว็บควรหันมาปรับปรุงส่วนนี้ให้ดี)
  • เจ้าของคอนเทนท์ หากคุณเขียนบล็อกที่มีคนทำคอนเทนท์หลายคน คุณควรหาวิธีแนะนำ ‘เจ้าของบทความ’ ลงไปในแต่ละหน้าด้วย 
  • Link ถ้าคุณอ้างอิงถึงงานวิจัยหรือข้อมูลต่างๆ คุณก็ควรจะแสดง link ไปหาเจ้าของข้อมูลที่แท้จริงเพื่อให้ Google เข้าใจถึงแหล่งที่มา เช่นเราเขียนรีวิวสินค้าเราก็สามารถ link ไปยังเว็บของผู้ผลิตหรือแหล่งที่มาขอคู่มือการใช้งานเพื่อสร้าง EAT เป็นต้น
  • Backlink หากเราสามารถได้รับการรับรองจากเว็บใหญ่ๆหรือเว็บที่มีความน่าเชื่อถือ เช่นเว็บของรัฐหรือของมหาลัย Google ก็จะมั่นใจได้มากขึ้นว่าเรามีอำนาจหรือความเชี่ยวชาญมากขึ้น

คอนเทนท์คุณภาพดีคือคอนเทนท์จาก ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ที่เขียนเพื่อ ‘ช่วยคนอ่าน’

ในยุคที่ใครก็สามารถเขียนอะไรลงอินเตอร์เนตก็ได้ Google ตัดสินใจว่าคอนเทนท์ที่มีคุณภาพดีและคู่ควรกับ ranking อันดับต้นๆขึ้นอยู่กับสามปัจจัย วัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์, EEAT และ YMYL

  • ทุกเพจต้องมีวัตถุประสงค์ และวัตุประสงค์แต่ละอย่างต้องก่อประโยชน์ให้กับผู้ใช้
  • ทุกเพจต้องมีผู้เชี่ยวชาญ แต่ละเพจอาจจะใช้ความเชี่ยวชาญคนละแบบ บางอย่างต้องให้แพทย์เขียน บางอย่างต้องให้วิศวะเขียน บางอย่างต้องให้คุณแม่ลูกสองเขียนเป็นต้น ในกรณีสำหรับเพจที่ไม่ใช่ YMYL เราอาจจะแค่เขียนง่ายๆว่าเราเคยทำมาแล้วก็เพียงพอ
  • เพจ YMYL ต้องใช้ EEAT ที่คุณภาพดี หากคุณอยากจะให้คำแนะนำหรือขายอะไรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตหรือความสุขของคนอื่น คุณก็ควรแสดงความรับผิดชอบด้วยการอธิบายความน่าเชื่อถือของตัวเองออกมา

โดยล่าสุด 2023-2024 Google ออกมาบอกแล้วว่า คอนเทนต์ที่ดี จะให้ใครเขียนก็ได้ (หมายถึง AI) แต่ต้องมีเนื้อหาที่มีประโยชน์และเขียนให้คนด้วยกันอ่าน โดยรวมผมตีความว่าผู้เชี่ยวชาญก็ต้องรีวิวบทความที่เขียนด้วย AI อยู่ดี

สุดท้ายนี้ให้จำไว้ว่ามาตรฐานของ Google นั้นเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะพฤติกรรมของผู้ใช้ก็เปลี่ยนไปเรื่อยเช่นกัน 

การที่ Google เผยแพร่ข้อมูลของ YMYL และ EAT แปลว่าการทำ SEO ในยุคสมัยใหม่นี้เราต้องอาศัย ‘ความเข้าใจผู้อ่าน’ มากกว่า ‘ทริคหรือเทคนิคต่างๆ’ ครับ หลายสิบปีที่ผ่านมา Google ได้ทำการ ‘อุดช่องโหว่’ ในการทำ SEO ไปเยอะมาก เทคนิคที่นัก SEO สมัยก่อนทำเพื่อสร้าง ranking อันดับหนึ่งได้ภายในไม่กี่อาทิตย์นั้นไม่สามารถทำได้อีกต่อไป กลับกับเทคนิคพวกนั้นจะทำให้ Google ‘ลงโทษ’ คุณมากกว่าเดิม

หากเรามองประโยชน์ของผู้ใช้ไว้เป็นหลังและตั้งใจสร้างคอนเทนท์ที่ช่วยเหลือคนอื่นได้จริงๆ ต่อให้ Google ปรับอัลกอริทึมมากเพียงไหน เราก็ไม่ต้องกังวลใจว่าประโยชน์ที่เราสร้างจะดูไม่ดีในสายตาของ Google หรือเปล่า สิ่งที่เรากังวลหลังจากนั้นจะเป็นเพียงว่า คนอื่นจะสร้างประโยชน์ได้มากกว่าเราไหม และ คนอื่นจะน่าเชื่อถือกว่าเราไหม

ตลาดเปลี่ยน ผู้ใช้เปลี่ยน นักการตลาดบน Google ก็ต้องปรับตัวตามให้ทันครับ

Tiger

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด