เช็ก 5 สัญญาณชี้ว่าคุณควรปิดกิจการ ก้าวต่อก็มีสิทธิ์ล้มสูง!

เช็ก 5 สัญญาณชี้ว่าคุณควรปิดกิจการ ก้าวต่อก็มีสิทธิ์ล้มสูง!

ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจนี้ หลายธุรกิจอาจกำลังเผชิญอุปสรรคมากมายโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจใหม่ที่มีประสบการณ์น้อย หลายแห่งต้องปิดกิจการลง ดังนั้นเราจะพาทุกท่านมาเช็กกันว่าสัญญาณที่ทำให้ SME ปิดกิจการหรือกลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ก็ตามใกล้หมดลมหายใจจะมีอะไรบ้าง ซึ่งรู้ไว้ล่วงหน้าก็มีประโยชน์ไม่น้อยเพราะคุณอาจเสียหายน้อยลง และกิจการของใครที่ยังไม่ได้ประสบปัญหามากนักก็สามารถวางแผนรับมือกับปัจจัยเหล่านี้ได้ หากพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย

รู้ไว้ใช่ว่า 5 ปัญหาธุรกิจที่ควรพิจารณาปิดกิจการ!

แน่นอนว่าฝันหลายของผู้ประกอบการทุกคนก็คงจะเป็นการปิดกิจการ ดังนั้นหากใครที่กำลังประสบกับวิกฤติต่าง ๆ นานาในชั่วโมงนี้ มาร่วมเช็กกันเลยว่า 5 ปัญหาที่นำมาสู่จุดจบของบริษัทจะมีอะไรบ้าง หากยังไม่หนักมากคุณก็สามารถอุดรอยรั่วไว้ให้ทันท่วงทีได้ เอาล่ะ มาเรียนรู้ไปพร้อมกันเลย

1. ผู้บริโภคลดลงมาก (No Customers)

มาประเดิมกันที่สัญญาณข้อแรกที่ชี้ว่าบริษัทใกล้เจ๊ง สามารถตรวจสอบได้จากตัวเลขที่ชัดเจน เมื่อเทียบกับคู่แข่งคนอื่น ๆ แล้วสินค้าหรือบริการของเรามียอดขายน้อยกว่าจริง ๆ และคุณมีรายละเอียดของลูกค้าที่ใช้ในการวิเคราะห์เพียงพอหรือไม่

ผู้ประกอบการบางคนไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้เพราะไม่เคยมีการเก็บข้อมูลของผู้บริโภคเลย ดังนั้นจึงตัดสินใจได้ยาก เมื่อไม่มีข้อมูลแล้วอาจจะไปใช้ความรู้สึกในการประเมินแทนว่าก่อนหน้านี้มีลูกค้าเยอะกว่านี้แต่ปัจจุบันกลับว่างไม่ยุ่งแบบที่เคย บางครั้งการตัดสินจากความรู้สึกอาจไม่เป็นจริงก็ได้ ในทางตรงกันข้ามหากมีการเก็บฐานข้อมูลของลูกค้าจะช่วยให้วิเคราะห์ธุรกิจได้ว่าลูกค้าของคุณลดลงจริงหรือไม่ วิธีที่แนะนำคือใช้ข้อมูลในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับปีก่อน ๆ มาใช้เปรียบเทียบ

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน เช่น ธุรกิจของคุณขายช็อกโกแลต ซึ่งจะขายดีเป็นพิเศษในช่วงเทศกาลต่าง ๆ อย่างวาเลนไทน์เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ควรใช้เปรียบเทียบกับช่วงเมษายน แต่ให้นำชุดข่อมูลของกุมภาพันธ์ปีก่อนมาเปรียบเทียบกัน

หากถามว่าควรเก็บข้อมูลอย่างไรดี เราขอแนะนำเครื่องมือไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมบัญชี หรือแอปพลิเคชัน เช่น FlowAccount สามารถเช็กรายงานการขายแยกตามชนิดของสินค้า บอกได้ว่าชิ้นไหนขายดีขายไม่ดีและลูกค้าคนไหนที่อุดหนุนคุณเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อในการทำการตลาด เจาะกลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้อง ประหยัดงบขึ้นเป็นกอง หรือหากธุรกิจของคุณมีการใช้บัตรสมาชิกก็สามารถหยิบข้อมูลมาให้โปรโมชันก็ได้

2. สภาพการเงินขาดความคล่องตัว (No Cash Flow)

มาต่อกันที่สัญญาชี้ควรปิดกิจการข้อที่สอง หากเงินไม่พอใช้จ่าย ต้องมาดูต้นตอกันที่บัญชีเงินเข้าและออกของธุรกิจ หากพบว่าเงินออกสูงกว่าจำนวนเงินเข้าแปลว่าคุณกำลังเผชิญวิกฤตสภาพเงินขาดความคล่องตัวแล้ว ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเช็กว่ายอดจ่ายและรายได้มาจากไหนมา ยกตัวอย่างเช่น การลิสต์รายจ่ายออกมาทั้งหมดต่อ 1 เดือนจากนั้นสำรองไว้ให้เพียงพอ

ซึ่งการประเมินรายจ่ายจะช่วยให้คุณทราบว่าการลงทุนนั้นเหมาะสมหรือมีความคุ้มค่าหรือไม่ ส่วนเรื่องรายรับอาจจะประเมินได้ยากมากกว่าเพราะในแต่ละวันมียอดขายไม่เท่ากัน ดังนั้นแยกบัญชีให้ชัดเจนสำหรับการรับเงินสดและการทำธุรกรรมแบบโอน

เมื่อมีข้อมูลที่ชัดเจนแล้ว คุณจะสามารถบริหารจัดการได้ดีมากขึ้น มีคำตอบเสมอว่ารายรับรายจ่ายเท่าไหร่ อาจจะใช้โปรแกรมช่วยแบบในข้อแรก Flow Account สามารถเปรียบเทียบให้เห็นชัดระหว่างแผนภูมิรายรับ-รายจ่าย เทรนด์ธุรกิจของคุณตอนไหนเป็นขาขึ้นและมีช่วงใดเป็นขาลงบ้าง

3. ขาดการพัฒนาและปรับปรุง (No Ideas to Improve)

หากธุรกิจของคุณเกิดปัญหาแล้วมืดแปดด้านหาทางออกยังไม่เจอ หรือสินค้าและบริการมาถึงทางตันไม่รู้จะพัฒนาต่ออย่างไร อาจมีธุรกิจเจ้าอื่นสร้างนวัตกรรมใหม่ออกมา Disrupt ฉะนั้นการทำธุรกิจจึงจำเป็นต้องขับเคลื่อนไปข้างหน้าตลอดเวลา หยุดนิ่งเมื่อไหร่มีคนแซงหน้าและลูกค้าหายหด และในที่สุดจำเป็นต้องปิดกิจการแน่นอน

4. ธุรกิจขาดทุน

มาต่อกันที่สัญญาณปิดกิจการ นั่นก็คือ การขาดทุนนั่นเอง แต่ก่อนอื่นต้องเช็กให้ดีว่าแค่ขาดเงินสดหรือขาดทุนจริง ๆ เพราะทั้งสองอย่างไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เช่น คุณซื้อของมา 2,000 บาท ขายได้ 1,600 บาท เช่นนี้คือการขาดทุนอย่างแท้จริง แต่หากเป็นกรณีที่คุณลงทุนไป 2,000 บาทแต่ขายได้ 4,000 บาทถือเป็นกำไร ซึ่งอาจจะไม่ได้รับเงินในช่วงเวลานั้นทันที จึงต้องใช้เงินทุนในการซื้อของมาขายเพิ่ม เช่นนี้จะเป็นเงินจ่ายก่อนเงินจะเข้าหรือเงินขาดสภาพคล่อง โดยต้องหยิบมาพิจารณาให้ถี่ถ้วนอีกครั้งว่าหากต้นทุนคงที่ของคุณสูงกว่ากำไร ก็อาจใกล้ถึงคราล่มสบายแล้ว

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องระวัง นั่นก็คือ คู่แข่งที่ออกโปรโมชันลดกระหน่ำ ยิ่งซื้อมากยิ่งลดมาก แล้วทำตามจนหลงลืม ขาดกำไรไปก็มี ฉะนั้นจำเป็นต้องคำนวณต้นทุนให้ครบทั้งหมดจริง ๆ ก่อน

5. ความสัมพันธ์ภายในองค์กรแย่หรือมีการทุจริต

การทำธุรกิจย่อมมีหลายคนหลายความคิดหากบาดหมางมีบรรยากาศไม่ดีแล้วล่ะก็ ธุรกิจอาจสะดุดลงได้ เพราะดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ ยอดขายก็ลดลง นอกจากนี้ต้องตรวจสอบการเงินอย่างดี หากพบทุจริตต้องจัดการให้ไว้ไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง

บทความล่าสุด