ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจผู้ประกอบการทั้งหลายอาจเผชิญกับคลื่นลูกใหญ่ที่กระทบกิจการ โดยเฉพาะกลุ่ม SME บางแห่งก็ปิดธุรกิจไปถาวร บางบริษัทใกล้เจ๊งก็มีจำนวนไม่น้อย หากครอบครัวของคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบครั้งใหญ่จนสถานการณ์ร่อแร่ จะมีวิธีการอย่างไรในการฟื้นชีพธุรกิจบ้าง
วันนี้เราได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้คุณแล้ว บอกเลยว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการประคับประคองกิจการให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงโดยนักธุรกิจผู้มากประสบการณ์ จะน่าสนใจอย่างไร มาเรียนรู้ไปพร้อมกันเลย
9 วิธีกอบกู้บริษัทใกล้เจ๊ง ให้กลับกลายเป็นบริษัทใกล้ ‘เจ๋ง’
แน่นอนว่าทุกธุรกิจต้องการจะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะมือใหม่ที่มีความคาดหวังสูงเป็นเรื่องปกติ แต่ถึงแม้จะมีการวางแผนเดินเกมมาเป็นอย่างดีแต่บริษัทใกล้เจ๊งได้อยู่ดี เพราะบางสิ่งบางอย่างอยู่เหนือการควบคุม ฉะนั้นวิธีที่จะช่วยกอบกู้ธุรกิจของครอบครัวได้คือการลดความเสี่ยงที่จะทำให้กิจการถึงจุดจบ จะมีวิธีไหนบ้างมาดูกันเลย
1. อย่าเพิ่งเร่งเปลี่ยนหัวหน้า เริ่มจากตัวเองก่อน
สำหรับหัวหน้าของคุณอาจจะเป็นพ่อแม่ คุณลุงป้า หรือวงศาคณาญาติ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนคนได้แต่คุณสามารถเข้าหาด้วยวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพให้งานบรรลุผลตามที่วางไว้ โดยเรื่อง Generation Gap ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเพราะเขาทำงานอยู่มาก่อน สิ่งที่เราทำได้คือการอธิบายให้ทุกฝ่ายเห็นภาพเดียวกัน อาจจะนำเสนอสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคย การเปลี่ยนแปลงจะเกิดประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
2. สต็อกของให้น้อยลง
ในช่วงวิกฤติบริษัทใกล้เจ๊งไม่ใช่เวลาดีในการสต็อกของให้แน่นแบบเมื่อก่อน สำหรับใครที่กำลังจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ควรเจรจากับโรงงานให้เรียบร้อยก่อน การใช้วิธีสั่งจองสินค้าล่วงหน้าผ่านตัวแทนก็เป็นไอเดียที่ไม่เลวเลย ซึ่งต้องไม่ลืมทำการตลาดก่อนการจำหน่ายสินค้าเพราะมีโอกาสสูงที่จะขายได้มากยิ่งขึ้น ฉะนั้นการสต็อกสินค้าไม่จำเป็นต้องแน่นและคงสินค้าไว้ที่โกดังตัวเองทั้งหมด ยิ่งไม่ต้องเองเลยยิ่งดี
3. เข้าสู่มาร์เก็ตเพลสออนไลน์
หากธุรกิจของคุณยังทำแบบออฟไลน์หรือใช้หารตลาดแบบดั้งเดิมอยู่ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยน เพื่อให้ถูกเข้าถึงได้ง่ายขึ้น วิธีการเลือกแพลตฟอร์มต้องสำรวจก่อนว่ากลุ่มลูกค้าของคุณอยู่บนช่องทางไหนมากที่สุด จากนั้นค่อยเข้าไปยังจุดนั้นไม่จำเป็นต้องมีร้านค้าทุก Marketplace ก็ได้ ศึกษาเรียนรู้ให้เชี่ยวชาญเพียงหนึ่งช่องทางก็พอเหมาะในช่วงวิกฤตเช่นนี้ หลังจากตั้งตัวแล้วจะขยับขยายก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
4. หาพันธมิตร
หากคุณกำลังเผชิญปัญหาใหญ่สิ่งที่ต้องทำคือการทำงานให้มากขึ้น ขยันขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าเพื่อให้ธุรกิจได้ไปต่อ โดยควรมองหามิตรทางธุรกิจไว้ด้วยเพื่อเกื้อหนุนกัน สิ่งใดที่เราและเขามีสามารถยื่นหมูยื่นแมวกันได้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งขึ้นได้
ในยุคนี้การใช้ศักยภาพของตัวเองให้สูงสุด มีความเข้าใจความต้องการของลูกค้า จุดแข็งของเราเป็นอย่างไร คิดหาหนทางได้ต้องลงมือปฏิบัติให้ไว ดีกว่านิ่งเฉย ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงจนธุรกิจ ล้มละลายไป
5. ตรวจสอบและจัดการบัญชีให้ดี
เมื่อนึกถึง ‘บัญชี’ หลายคนคงกุมขมับกันเลยทีเดียว ซึ่งการจัดการบัญชีที่ดีมีการบันทึกต้นทุน รายรับ รายจ่าย จะช่วยให้สามารถตรวจสอบยอดขายและกำไรได้ง่าย นอกจากนี้ยังต้องมีการเก็บเอกสารให้ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จ ใบภาษีหัก ณ ที่จ่าย แม้จะดูจุกจิกแต่เชื่อเถอะว่าเมื่อเกิดปัญหาคุณจะสามารถรับมือได้อย่างตรงจุด รู้ว่าส่วนใหญ่สามารถลดได้ และส่วนไหนหายไปบ้าง
6. ก่อนคิดจะ Rebrand, Restructure อาจได้ผลดีกว่า
สำหรับใครที่เพิ่งเข้ามาสืบทอดธุรกิจต่อ อาจตระหนักถึงเรื่องภาพลักษณ์ที่ควรปรับให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน หลายคนเลือกที่จะ Rebrand แต่นั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่ได้ผลเสมอไป ทางเลือกอีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจก็คือการ Restructure ให้ธุรกิจมีการทำงานอย่างเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น ซึ่งคุณสามารถเข้าไปพัฒนาและปรับโครงสร้างได้ในตำแหน่งหรือบริบทที่กำลังควบคุมดูแล
7. ค้นหาช่องทางใหม่ในธุรกิจ
สำหรับบริษัทใกล้เจ๊ง รายได้หดหายขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังแบกรับภาระหนี้อยู่ มีโอกาสน้อยหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรอด เจ้าของธุรกิจต้องสร้างช่องทางสร้างรายได้ให้แก่บริษัทใหม่ทันที แม้ในช่วงแรกจำทำกำไรได้ไม่มากเท่าเมื่อก่อนแต่ก็มีกระแสเงินสดช่วยบรรเทาภาระก้อนโตให้ลดลงได้
8. หาลูกค้ากลุ่มใหม่
หากธุรกิจของคุณยังมีรายได้เข้ามาอยู่สามารถเข้าหาลูกค้าเก่าได้และหาลูกค้าใหม่ได้เช่นเดียวกัน แม้จะฟังดูเป็นเรื่องยากในช่วงเวลานี้แต่หากต้องการชนะในการแข่งขันก็ต้องดูว่าลูกค้าอยู่ที่ไหน แพลตฟอร์มใดเป็นหลัก จากนั้นคำนวณต้นทุนในการทำการตลาด อย่างจ่ายไป 1,000 นำลูกค้ากลับมาซื้อได้ 3 คนแล้วจะทำกำไรได้เท่าใด และมีวิธีการใดให้ลูกค้าใหม่กลับมาซื้อซ้ำบ้าง
9. รัดเข็มขัดค่าใช้จ่ายให้แน่น
ในภาวะที่ยากลำบากหากใช้จ่ายไม่ระมัดระวังอาจส่งผลให้กิจการ เจ๊งได้ เลือกเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ ใครที่กำลังจะออกผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ก็ไม่ควรตั้งราคาให้สูงเกิน ผู้บริโภคต้องเข้าถึงง่ายด้วยในภาวะวิกฤติ โดยราคาเท่าไหร่ที่ถือว่าพอดีต้องดูต้นทุนทั้งหมดกันก่อน