10 เทคนิคหาคนทํางานที่เหมาะกับธุรกิจ – HR ต้องรู้!

10 เทคนิคหาคนทํางานที่เหมาะกับธุรกิจ - HR ต้องรู้!

บางครั้ง Resume ที่มีความโดดเด่นสะดุดตาและการสัมภาษณ์ที่ลงตัวไม่ได้แปลว่าการทำงานร่วมกับองค์กรของคุณจะไม่มีอุปสรรค หากไม่ได้หาคนทํางานที่สามารถเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้นการรับพนักงานสักคนจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะมีทัศนคติหรือค่านิยมที่ตรงกันเพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายแบบความสามารถ

นั่นหมายความว่าหากคุณต้องการรับสมัครพนักงานสักคน คุณเองต้องมีความเข้าใจกิจการของคุณอย่างถ่องแท้เสียก่อนเพื่อที่จะได้หาคนตรงงาน หางานตรงใจอย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เราได้รวบรวมเทคนิคในการเฟ้นหาทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณมาไว้ที่นี่แล้ว มาเริ่มต้นกันเลย

สุดยอด 10 กลยุทธ์การหาคนทํางานที่เข้ากับธุรกิจได้เป็นปี่เป็นขลุ่ย

สำหรับกลยุทธ์การหาคนทํางานนอกจาก HR ในยุคดิจิทัลจะต้องทราบช่องทางแล้ว ยังต้องมีการทดสอบ รวมถึงขั้นตอนการมัดใจคนเก่ง ๆ ให้เข้าองค์กร หากพร้อมแล้วมาดูกันเลยว่า 10 เทคนิคเหล่านี้มีอะไรบ้าง

1. การประกาศรับสมัครออนไลน์

การประการรับสมัครพนักงานบนแพลตฟอร์มออนไลน์กลายมาเป็นเครื่องมือหลักเพราะนอกจากจะประสบความสำเร็จแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ายุคก่อน ๆ มาก ที่มีการใช้สื่อสิ่งพิมพ์หรือโฆษณาต่าง ๆ โดยการสื่อสารจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็ว ซึ่งสามารถแบ่งออกได้หลายระดับ แต่ละตำแหน่งอาจจะต้องเช็กกลุ่มเป้าหมายให้ดีว่าอยู่ที่ไหน เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย เป็นต้น สำหรับแต่ละช่องทางมีจุดเด่นดังนี้

  • โซเชียลมีเดีย

กลุ่มผู้ใช้งานหลักอายุระหว่าง 25 – 34 ปี อย่าง Facebook มีผู้ใช้งานมากกว่า 2 ใน 3

  • ออนไลน์จ็อบบอร์ด

สำหรับช่องทางนี้ คือ เว็บ หาคน ทํา งานขนาดใหญ่ เช่น Linkedin, Jobnow และ Glassdoor เป็นต้น โดย HR ต้องศึกษาว่าคนไทยกลุ่มใดใช้งานเว็บไซต์ใดมากที่สุดเพื่อที่จะได้หาคนทํางานแบบตรงจุด ซึ่งแต่ละเว็บไซต์เองก็เป็นแหล่งรวมแรงงานที่โดดเด่นในแต่ละสาขาแตกต่างกันอย่าง JobThai จะเด่นบริษัทขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ส่วน GetLinks เป็นเว็บที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสตาร์ตอัปเป็นหลัก

  • มหกรรมแรงงาน

โอกาสครั้งใหญ่ที่ผู้ว่าจ้างและผู้สมัครจะมาพบกัน บ้างก็เห็นในรั้วมหาวิทลยาลัยที่มองหาคน ตรง งานเข้าสู่องค์กร บ้างก็เป็นงานแฟร์สำหรับผู้ประกอบการต่างประเทศหรือไทย มีโอกาสได้พูดคุยสอบถามแบบตัวต่อตัว ทั้งนี้การแข่งขันค่อนข้างสูงและใช้งบประมาณมากเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและน่าเชื่อถือ

2. เฟ้นหาโดย Referral

ใครที่อยากเซฟเงินต้องวิธีนี้เลย จากงานวิจัยการใช้ Referral มีโอกาสสูงที่ผู้ถูกแนะนำจะมีความสามารถและเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร (Cultural Compatibility) ได้ ดังนั้นจึงมีอัตราการลาออกลดลง ทั้งนี้ต้องระมัดระวังประเด็นละเอียดอ่อนอย่างการเลือกรับคนทำงาน ให้มีความโปร่งใส นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรช่วยหาด้วยรางวัลพิเศษ

3. ใช้เทคโนโลยีร่นระยะเวลา

ทุกท่านก็ทราบแล้วว่าจะหาคน ทํา งานได้ ที่ไหน จากนั้นอย่าลืมนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ประหยัดเวลา เพราะผู้ลงสมัครทางออนไลน์มีจำนวนมหาศาลอย่างแน่นอน โดยอาจจะให้ทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อวัดบุคลิกภาพ (Personality Test) หรือการคัดเลือกพนักงานจากการวิเคราะห์คุณสมบัติจากวิดีโอแนะนำตัว วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียและคุณสมบัติในการทำงานผ่านการสัมภาษณ์ออนไลน์

4. เปิดรับสมัครบนเว็บไซต์ของธุรกิจ

การเปิดรับสมัครแบบแพสซีฟก็คือการมให้ผู้สมัครวิ่งเข้ามาหาเอง โดยมีโอกาสที่จะได้รับผู้สมัครที่มีความเข้ากับองค์กรเพราะผู้ที่เข้ามาต่างก็รู้จักธุรกิจของคุณอยู่แล้ว ทั้งนี้เรื่องหน้าตาเว็บไซต์และความน่าเชื่อถือก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องลงทุน

5. กลยุทธ์ ‘RMF’

สำหรับ Recruitment Management System: RMF คือการรับสมัครงานประหนึ่ง One-stop Service ตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้หาคนทํางานที่ใช่ ข้ามขั้นตอนอันแสนวุ่นวาย เช่น Tracking System นัดสัมภาษณ์ ประกาศผล, AI ตรวจสอบประวัติการทำงาน,  Database เก็บข้อมูลผู้สมัครไว้และ Analytics วิเคราะห์ว่าการจ้างงานครั้งนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่

6. สร้างเครือข่ายไว้ให้คนรู้จักเยอะ

การสร้างเครือข่ายในที่นี้ทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์เพื่อให้หาคนทํางานกลุ่มที่มีศักยภาพหลากหลายแห่ง โดยเครื่องมือบนแพลตฟอร์มโซเชียลอย่าง Social Listening Tool ก็สามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวของคนที่เราตามหาได้จาก ‘Keyword’

7. การเน้นเผยวัฒนธรรมองค์กรบนพื้นที่สาธารณะ

อันที่จริงคุณสามารถกรองคนที่เข้ามาได้ตั้งแต่แรก โดยการแทรกวัฒนธรรมองค์กรออกมาให้เห็นตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์ ข้อมูล ABOUT สำคัญไม่น้อยทั้ง วิสัยทัศน์ การให้คุณค่ากับสิ่งหนึ่งหรือระบุความสามารถและทักษะในการทำงาน  เช่น ผู้ที่มีการพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง

8. สอบถามเพื่อให้ทราบมุมมองผู้สมัคร

การหาคนทํางานจะประสบความสำเร็จได้นอกจากวัดความสามารถแล้วยังต้องสังเกตบุคลิกและค่านิยมอีกด้วย เช่น วันหยุดทำอะไรบ้าง ข้อเสีย-ข้อดีของตัวเอง เหตุผลใดจึงอยากทำงานกับเรา ชอบวิธีการทำงานของเราแบบไหนเป็นพิเศษ จะมีส่วนช่วยองค์กรตามเป้าหมายได้อย่างไร ดังนั้นคุณจะทราบแรงจูงใจในการทำงานของผู้สมัครและคัดว่าเข้ากับทีมหรือไม่

9. แบบทดสอบ ‘Cultural and Personal Fit’

หากอยากคัดกรองผู้สมัครจำนวนมาก สามารถสร้างแบบทดสอบความเหมาะสมกับองค์กรขึ้นมาวัดได้ เพื่อจะได้ทราบลักษณะนิสัย บุคลิกและความเชื่อว่าตรงกับความต้องการขององค์กรหรือไม่

10. เฝ้าดูความรู้สึกของพนักงานใหม่ห่าง ๆ

ในช่วงแรกที่มีการทำงานอาจพูดคุยสอบถามตัวต่อตัวทุก 2 สัปดาห์หรือเว้นระยะห่างหนึ่งเดือนเพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามความคาดหวังหรือไม่มีส่วนใดต้องปรับปรุง

Tiger

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด