เคยมีงานวิจัย บอกไว้ว่า เว็บไซต์ที่ได้อันดับ 1 บน Google จะได้ Traffic หรือคนคลิกเข้าเว็บไซต์มากถึง 33% ของจำนวนคำค้นหา สมมุติว่าในหนึ่งเดีอนมีคำค้นหาว่า วิธีทำหมูกรอบด้วยหม้อทอด 1000 คน ถ้าเว็บไซต์ของคุณขึ้นมาอันแรกเวลาคน search คุณก็จะได้คนเข้าเว็บไซต์ 330 คนโดยเฉลี่ย
ส่วนถ้าเว็บคุณอยู่อันดับสอง อันดับสาม คนก็จะเข้าเว็บน้อยลงเรื่อยๆ และถ้าไปอยู่หน้าสอง เราแทบไม่สามารถคาดหวังได้เลยว่าจะมีใครเห็นเว็บไซต์เรา…แต่สิ่งที่เรียกว่าอันดับ 1 ก็ไม่ได้เป็นที่สุดของการทำให้คนเข้าเว็บไซต์เราผ่าน Google ได้
ในบทความนี้ผมจะสอนวิธีทำให้เว็บไซต์จัดอันดับที่ 0 หรือที่เรียกว่าติด Google Snippet ถ้าคุณจริงจังกับเรื่องของการทำ SEO ผมอยากจะให้คุณดูวีดีโอนี้ให้จบเพราะว่าถ้าพลาดอะไรไปเนี่ยมันอาจจะทำให้คุณเสียอันดับได้
9 สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ Google Snippet
เราจะมาดูกันมทุกหัวข้อตั้งแต่ Snippet คืออะไร มีรูปแบบไหนบ้าง วิธีทำให้เราจัดอันดับ Snippet ได้ และ การไปแย่งตำแหน่ง Snippet คนอื่นถ้าคำค้นหานั้นๆมีเว็บอื่นได้ Snippet ไปแล้ว
#1 Google Snippet คืออะไร
Google Snippet คือเนื้อหาชิ้นเล็กๆของเว็บไซต์เราที่ Google คัดออกมาเพราะคิดว่าเนื้อหาเหล่านี้จะตอบคำถามคนได้ดีแบบรวดเร็ว ซึ่ง Snippet ก็จะมีทั้งในรูปแบบย่อหน้าเล็กๆ รายการต่างๆ แล้วก็ตารางครับ
Snippet แปลเป็นภาษาไทยน่าจะเป็น เศษเล็กเศษน้อย เหมือนกับ Google เอาคอนเทนต์เล็กน้อยในเว็บไซต์เรามียื่นให้คนอ่านก่อน
Google ปกติก็จะคัดคำค้นหาแบบนี้มาตอบคนอยู่แล้วครับ แต่เมื่อก่อนจะทำแค่สิ่งที่เรียกว่า Meta Description ซึ่งจะเป็นคำอธิบายเว็บไซต์ที่อยู่ใต้ชื่อลิงก์ เป้าหมายก็คือเป็นการ ‘ให้ข้อมูลเพิ่ม คนที่ค้นหาคำจะได้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะคลิกแต่ละลิงก์หรือเปล่า’
#2 ข้อดีของ Google Snippet
ข้อแตกต่างของ Snippet ก็คือการตอบคำถาม Snippet คือสิ่งที่เราเรียกว่า position zero หรือตำแหน่งที่ 0 เพราะถ้าเราทำ Snippet เป็น เราจะจัดอันดับได้ง่ายขึ้น แถมตำแหน่งนี้โดยเจ้าอื่นแย่งไปยากเหมือนกัน ตำแหน่งที่ 1 กับตำแหน่งที่ 0 วิธีทำไม่ค่อยเหมือนกันเท่าไร
ซึ่งแน่นอนว่าพอคนเห็น Snippet พวกนี้ เค้าก็จะอาจจะพอใจกับการคำถามที่เค้าพิมพ์แล้วก็ได้ สุดท้ายก็มีสิทธิที่จะไม่เข้าเว็บไซต์เรา ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือพวกคำค้นหาแนว ดูอุณหภูมิ ดูวันเกิดดารา ดูข้อมูลอะไรง่ายๆ พอคนค้นหา Google แล้วอยากได้คำตอบง่ายๆ เค้าก็จะไม่ต้องเข้าเว็บไซต์
ข้อดีอีกอย่างก็คือ หากเราบอกว่าการจัดอันดับ SEO ใช้เวลานาน (3-6 เดือน) เว็บไซต์ผมเคยอยู่อันดับที่ 7-8 แต่เนื่องจากว่าคำค้นหาอันดับแรกไม่ได้มี Snippet พอผมปรับนิดเดียว ผมได้ Snippet ภายในหนึ่งวันเลยครับ สรุปก็คือ Google ใช้อัลกอริทึมไม่เหมือนกัน Snippet เลยเป็นการเพิ่มอันดับที่ดีและเร็วมากๆ
#3 ปัญหาของ Google Snippet
ในฐานะ user หรือคนเล่น Google การมี Snippet ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สะดวกครับ แต่สำหรับคนทำเว็บไซต์ที่อยากให้คนเข้าเว็บก็เป็นเรื่องน่าปวดหัวเหมือนกัน เพราะข้อมูลใหม่บอกว่า 50.3% ของทุกคำค้นหาในยุคนี้ คนจะไม่คลิกเข้าเว็บครับ เพราะส่วนหนึ่งจะได้คำตอบจาก Google แล้วจบเลย ไม่จำเป็นต้องคลิก
ในอดีตเมื่อ 7-10 ปีที่แล้ว พวกเว็บไซต์ด้านเนื้อเพลงหรือบอกอุณหภูมิ ถือว่าเป็นคำค้นหาที่ดีมากครับ เพราะมีคนต้องการหาอยู่เรื่อยๆ แต่พอมาวันนี้ Google จับคำค้นหาพวกนี้ออกมาเป็น Snippet หมดเลย ทำให้เว็บไซต์เหล่านี้มีคนเข้าน้อยลงมากๆ
ผมอยากให้เข้าใจว่า Snippet มีข้อเสียด้วย แต่โดยรวมแล้ว ในโลกเทคโนโลยี ถ้าเราไม่ disrupt ตัวเอง เราก็จะโดนคนอื่นเค้า disrupt คือถึงแม้ว่าเรารู้ว่าถ้าติด Snippet แล้วจะเสีย Traffic แต่ถ้าเราไม่เอาตำแหน่งนี้ไป เราก็จะถูกคนอื่นแย่งไปอยู่ดี สุดท้ายโดนลด Traffic ก็ดีก็ Traffic หายไปหมด
#4 วิธีทำ Snippet เบื้องต้น
ถ้าเราเข้าใจว่า Snippet ก็คือการตอบคำถามของคำค้นหา เราก็ต้องส่งสัญญานให้กับ Google ให้มากที่สุด สำหรับผม การส่งสัญญาณให้ดีที่สุดก็คือการเอาข้อมูลที่เราอยากให้ถูก Snippet ไปอยู่ใกล้หัวข้อย่อย h2 h3 ให้มากที่สุด หากเป็นไปได้ผมจะให้เป็นข้อมูลที่มาจากย่อหน้าแรกถัดจากหัวข้อย่อยเลย
ยกตัวอย่างเช่นสมมุติว่าผมมี 1 ประโยคที่อยากจะให้ถูกจัดอันดับเป็น Snippet สมมุติเป็นคำค้นหาว่า ‘หนังสือเสียงคืออะไร’ … ผมก็จะมีชื่อหัวข้อย่อย h2 ว่า ‘หนังสือเสียงคืออะไร’
และย่อหน้าแรกก็มักจะเป็นย่อหน้าที่ผมอยากจะให้ถูกจัดอันดับเป็น Snippet โดยผมจะเขียนทวนไปอีกรอบว่า ‘หนังสือเสียงคือ…’ การทำแบบนี้คือการส่งสัญญาณให้กับ Google ว่าย่อหน้านี้แหละคือย่อหน้าที่เราทำขึ้นมาเพื่อตอบคำถามของคำค้นหาว่า ‘หนังสือเสียงคืออะไร’
ข้อแม้อย่างหนึ่งก็คือเว็บไซต์เราต้องถูกจัดอันดับได้ประมาณหน้าแรกหรือว่าประมาณ 10 คำค้นหาแรกก่อนนะครับ เพราะเหมือน Google จะไม่ค่อยชอบดึงข้อมูลจากหน้า 2 หน้า 3 ขึ้นไปมาทำเป็น Snippet ในส่วนนี้ ผมมีวีดีโอยาวๆสอนเรื่องการทำ seo อยู่ ไปศึกษาจากวีดีโอพวกนี้ได้เลย
ซึ่งเดี๋ยวผมจะแนะนำคำแนะนำเฉพาะแต่ละ Snippet อีกทีนะครับ รวมถึงการทำ Table Snippet, List Snippet และ Answer Snippet ด้วย
#5 วิธีทำ Table Snippet
ผมขอเริ่มด้วยวิธีการทำ table snippet ซึ่งตรงไปตรงมาที่สุดแล้ว และเป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้เว็บไซต์ของเราปิด Google Snippet ได้ง่ายที่สุด
ส่วนมากแล้วข้อมูลที่เป็นตารางก็จะเป็นข้อมูลทางด้านตัวเลขต่างๆใช่ไหมครับ ราคาสินค้า ตารางดอกเบี้ย ขนาดสินค้า
ข้อแม้ก็คือเราต้องมีตาราง ที่ Google สามารถอ่านได้ ถ้าคุณใช้ wordpress เราใช้พวกปลั๊กอินหรือว่า theme ทั่วไป ก็ไม่ต้องเป็นห่วงไปครับ เขาทำให้เราเองอยู่แล้ว แต่ถ้าเราใช้แพลตฟอร์มทำเว็บไซต์เจ้าอื่น หรือใช้ plugin แปลกๆ เราก็ต้องดูก่อนด้วยว่าเค้าอ่าน html code ใน รูปแบบ table format ได้หรือเปล่า
ที่เหลือก็จะเป็นคำแนะนำด้านการทำ seo ทั่วไป พยายามมี keyword ที่เกี่ยวข้องด้วย ใส่ inter link ไปด้วยก็ดี และ ก็พยายามเรียบเรียงข้อมูลให้เข้าใจง่าย ส่วนตารางถ้าเป็นไปได้ก็ใส่ข้อมูลไว้อย่างน้อย 4-5 column (ด้านแนวตั้ง) นะครับ
#6 วิธีทำ List Snippet
List Snippet เป็นหัวข้อที่ผมมีปัญหามากที่สุด เพราะทำติดยากมาก แต่คำแนะนำเบื้องต้นก็จะมีดังนี้นะครับ
- ตั้งชื่อหัวข้อบทความ h1 ให้มีคำว่า ดีที่สุด จัดอันดับ รายการ เพราะเหมือนกับว่า Google จะอ่านสัญญาณจากหัวข้อเหล่านี้ ว่าบทความนี้เป็นรายการที่ต้องถูกจัดเป็น list snippet
- ชื่อรายการที่เราอยากจะทำให้ถูกจัดอันดับ ให้ตั้งเป็นชื่อหัวข้อใหญ่ h2 h3 ส่วนมากผมจะใช้ h2 ในการทวนชื่อชื่อหัวข้อบทความ และ h3 ในการเขียนอธิบายรายการต่างๆ
- Google จะแสดงได้แค่ 7-8 รายการ เป็นอย่างมาก แต่จากที่ผมลองนับดูคร่าวๆแล้ว ก็คือจะแสดงแค่ประมาณ 55 คำ หรือ 300 ตัวอักษร
ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่า List เหมาะกับการให้รายการสำหรับการใช้ชีวิต การทำงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น อาหารแบบไหนมีวิตามินซี อุปกรณ์ห้องประชุมที่เราต้องมี หรือ เครื่องมือทำสวนที่บ้านใช้ง่าย ราคาไม่แพง เป็นต้น
#7 วิธีทำ Paragraph Snippet
สำหรับผม Paragraph Snippet เป็นสิ่งที่ผมพยายามใส่ใจมากเวลาเขียนแต่ละบทความ ซึ่งผมขอทวนวิธีการทำคร่าวๆก่อนนะครับ
- ทวนชื่อคำค้นหาหรือคำถามหลักไว้ในหัวข้อ h2 หรือ h3
- เอาคำตอบย่อหน้าที่อยากจะให้ถูกจัดอันดับมาอยู่ใกล้แค่ h2 h3 มากที่สุด
ส่วนคำแนะนำเพิ่มมีดังนี้
- Snippet ส่วนมากอยู่ระหว่าง 55 คำหรือ 300 ตัวอักษร แต่จริงๆแล้ว Google เขานับภาษาไทยแบบประหลาด snippet ภาษาไทยบางอันไปลองนับมาก็ได้ประมาณ 70 คำ เอาเป็นว่าปรับคำอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 คำนะครับ
- เขียนให้เป็นคำตอบแนววิชาการหรือแบบ wikipedia ให้เริ่มย่อหน้าด้วยการทวนคำถามแบบ ถ้าคำค้นหาคือ Ironman เป็นใคร เราก็ต้องเขียนเริ่มว่า ‘Ironman คือ’ หรือถ้าคำค้นหาคือ อะไรคือต้นไม้ที่แก่ที่สุดในโลก เราก็ต้องเริ่มด้วยคำว่า ต้นไม้ที่มีอายุมากที่สุดคือ … ลองไปอ่านโครงประโยคของวิกิพีเดียแล้วก็นำมาปรับใช้ดูนะครับ
- ทำย่อหน้าที่อยากจัด Snippet เป็นตัว bold อันนี้ผมเห็นนักทำ SEO ในต่างประเทศเขาสอนกัน ไม่ได้มีงานวิจัยอะไรสบับหนุนหรอกครับ แต่ผมคิดว่าถ้าไม่ใช่เป็นการส่งสัญญาณให้กับ Google อย่างน้อย คนที่เข้ามาอ่านบทความเราก็จะได้รู้ว่าย่อหน้านี้สำคัญ จะได้ตั้งใจอ่าน
พยายามอย่าเขียนวนไปวนมานะครับ 2 สิ่งที่หลายคนทำผิดบ่อยๆก็คือ 1) ชอบมีประโยคเกิดก่อน เช่น ‘ถ้าถามว่า Iron Man คือใคร’ ซึ่งผมรู้สึกว่ามันเป็นการเพิ่มคำพูด โดยไม่ได้เพิ่มคุณค่าให้กับย่อหน้านั้นๆ
และ 2) เขียนอธิบายแบบคลุมเครือ เช่น ถ้าคำค้นหาคือ ‘เงินเดือนพยาบาลเท่าไหร่’ บางคนอาจจะตอบว่า ‘เงินเดือนพยาบาลขึ้นอยู่กับประสบการณ์’ ซึ่งก็รู้กันอยู่แล้วใช่ไหมครับ แต่คำตอบที่ดีต่อ Snippet อาจจะเป็น ‘เงินเดือนพยาบาลโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 20000-30000 บาท หากเป็นคนจบใหม่อาจจะได้ 15000 แต่ถ้าเป็นหัวหน้าพยาบาลก็อาจจะเพิ่มไปเป็น 40,000 บาท’
ให้บอกไปเลยครับว่ามันขึ้นอยู่กับอะไรและตัวเลขหรือว่าการตัดสินใจต่อไปมันมีอะไรบ้าง
#8 ไม่เอา Snippet ได้ไหม?
คำตอบสั้นๆก็คือทำได้ครับ เราสามารถส่งสัญญาณให้กับ Google เพื่อให้ Google ไม่จัดอันดับหน้าเว็บไซต์นี้เป็น Snippet ได้
แต่ว่าการทำแบบนี้มันใช้เวลานะครับ บางทีก็ทำติดบ้างไม่ติดบ้าง เพราะสุดท้ายแล้ว Google เขาก็เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มเขาก็สามารถทำอะไรอยุ่แล้ว แต่โดยเฉลี่ยผมเห็นคนใช้เวลาการเป็นหลักหลายวันไปจนถึงหลายอาทิตย์ กว่าจะยื่นเรื่องให้ Google เอา Snippet ออกไปได้
ส่วนตัวแล้วผมไม่แนะนำให้ทำนะเพราะว่า ต่อให้เราไม่ติดอันดับนี้ คนอื่นก็จะแย่งอันดับเราไปอยู่ดีครับ เพราะฉะนั้นวิธีที่น่าจะดีกว่าก็คือการพยายามทำ Snippet ในรูปแบบที่เราให้ข้อมูลผู้อ่านเยอะ แต่ควรก็ยังอยากจะมาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมอีกทีนึงด้วย
ยกตัวอย่างเช่นถ้าผมกำลังค้นหาคำว่าเสื้อผ้าที่ใช้แทนขนแกะ ในภาษาอังกฤษผมจะได้ประโยคนี้เอามาครับ ผมจะแปลเป็นภาษาไทยให้
เราสามารถใช้อะไรแทนขนแกะได้บ้าง? มีตัวเลือกหลายอย่างที่สามารถใช้แทนขนแกะได้ ได้แก่ ฝ้าย กำมะหยี่ แล้วก็ตัวเลือกเหนื่อยมากมาย โรคภูมิแพ้เป็นสิ่งที่ต้องระวัง และเราก็ต้องเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสำหรับตัวเราเอง
เราจะเห็นใช่ไหม ว่าประโยคแรกๆ ‘เราสามารถใช้อะไรแทนขนแกะได้บ้าง? มีตัวเลือกหลายอย่างที่สามารถใช้แทนขนแกะได้ ได้แก่ ฝ้าย กำมะหยี่ แล้วก็ตัวเลือกเหนื่อยมากมาย’ ก็จะตอบโจทย์คำค้นหาได้หมดแล้ว เป็น snippet ด้วยตัวเองได้แล้ว แต่พอมีประโยคสุดท้ายว่ามีโรคภูมิแพ้ด้วยนะ ผมก็ต้องกดเข้าไปดูเพราะผมอยากจะรู้ว่าเสื้อผ้าแต่ละอย่างมันมีข้อดีข้อเสียต่างกันยังไงอีก
#9 วิธีแย่ง Snippet จากคู่แข่งเจ้าอื่น
สิ่งแรกที่ต้องบอกนะครับก็คือ ถ้าเราทำ Snippet ดีแล้วจริงๆ คนอื่นแย่งไปได้ยากมาก หรือต่อให้อยากจะแย่งได้ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล บางทีก็เป็นหลายเดือนตามสไตล์การทำ SEO
เอาจริงๆ snippet บางตัวที่ผมอยากได้ ผมปรับมาเป็นปีแล้ว ยังแย่งไม่ได้เลยครับ ซึ่งผมอยากจะให้มองว่าเป็นข้อดีนะ ถ้าเราทำออกมาดีแล้ว เราถูกคนอื่นแย่งไปได้ยากมาก แต่โอกาสตอนนี้คือเว็บไซต์หลายเว็บยังไม่ได้ปรับบทความหรือรูปหน้าให้เหมาะกับการทำสิ่งนี้ ทำให้เราชิงตำแหน่งได้ง่าย
ซึ่งวิธีก็คือง่ายๆครับ ทำให้ดีกว่าคนอื่น … ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าผมพิมพ์คำว่า
ในคำค้นหานี้เราก็จะเห็นว่าเราก็มีโอกาสแต่งประโยคที่ดีกว่า และใช้จำนวนคำน้อยกว่าเพื่อเอาชนะได้ หากจะให้ผมเขียน ผมก็คงเขียนเป็นประมาณ
ข้อแตกต่างระหว่างกัญชา (marijuana) และกัญชง(hemp) ก็คือกัญชงมีใบแคบเร็วและสีเขียวอ่อนกว่ามีลำต้นสูง แล้วแต่กินก้างน้อยกว่า ช่อดอกมีนางน้อยกว่ากัญชา ในการจำแนกเชิงลึก กัญชงจะมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (เรียกว่า THC) น้อยกว่ากัญชา เหมาะกับการใช้งานรักษาที่แตกต่างกัน
ซึ่งจริงๆแล้วผมก็ไม่รู้หรอกครับว่าจะชนะ snippet หรือเปล่า แต่ผมพยายามจะเรียบเรียงให้มันตอบโจทย์มากที่สุดแล้วก็มีการเขียนให้คนอยากจะเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่ม เวลาเราทำ Snippet ถ้าเป็น keyword ยากๆ คู่แข่งเก่ง เราก็ต้องปรับคำไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้