เปิดหมดเปลือก ข้อดี-ข้อเสียของการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์

เปิดหมดเปลือก ข้อดี-ข้อเสียของการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์

สำหรับผู้ที่กำลังดำเนินธุรกิจในระยะเริ่มแรกคงทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่าหากบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์จะเป็นแหล่งเงินทุนมหาศาลได้ ซึ่งจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รายใหม่จำนวนมาก

จากสถิติ หากใครที่กำลังพิจารณานำบริษัทของตัวเองเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ต้องมองให้ครบทั้งสองแง่ ทั้งข้อดีและข้อเสีย วันนี้เราพร้อมเผยแบบหมดเปลือกให้คุณเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากพร้อมแล้วมาเริ่มต้นกันเลย

ข้อดีของบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์นั้นน่าสนใจ ให้ภาพลักษณ์ที่ดี

หลังจากทำความเข้าใจการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เบื้องต้นแล้ว เราจะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจให้ทะลุปรุโปร่งถึงจุดเด่นของวิธีการนี้ หากพร้อมแล้วมาดูไปพร้อมกันเลย

1. มีเงินทุนระยะยาว

มากันที่ข้อดีข้อแรกที่เรากล่าวไปในช่วงเริ่มต้น สำหรับบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์จะสามารถระดมเงินทุนไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจหรือการขยายกิจการให้เติบโตรวดเร็วขึ้น สิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดข้อได้เปรียบในตลาด แถมมีโอกาสในการออกหลักทรัพย์ชนิดอื่นไม่ว่าจะเป็น หุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพเองก็ตาม

2. พันธมิตรทางธุรกิจ

เมื่อบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วจะดึงดูดความสนใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ นำมาสู้ความแข็งแกร่งและการเติบโตของธุรกิจเมื่อมีการเชื่อมโยงทางธุรกิจเกื้อหนุนกันไม่ว่าจะการผลิต การเงินหรือเทคโนโลยีจะเป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจมีความได้เปรียบสูง

3. ภาพลักษณ์บริษัทดี

หากบริษัทของคุณเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้หมายความว่า ก.ล.ต. พิจารณาแล้วว่ามีการดำเนินธุรกิจอย่างดี มีความมั่นคงและการเผยข้อมูลอย่างเปิดเผย ช่วยให้มีความน่าเชื่อถือพร้อมทั้งเพิ่มพูนอำนาจต่อรองของคุณ สร้าง Brand Awareness ไปในตัวด้วย

4. ข้อยกเว้นของภาษีเงินปันผล

สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากการรับเงินปันผลที่ถือหุ้นของบริษัทอื่นหรือกองทุนรวม ซึ่งมีระยะการถือมาไม่น้อยกว่า 3 เดือนทั้งก่อนและหลังวันที่รับเงิน

5. เสริมสร้างการทำงานแบบ ‘Professional’

แน่นอนว่าเมื่อเข้าสู่สายตาของสาธารณะแล้วการทำงานต้องมีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากตัวเลขราคาหุ้นของบริษัทคุณคือตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของประชาชนในระดับหนึ่ง โดยคุณจะมีเครื่องมือสำหรับการกำหนดทิศทางบริษัทเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย

6. สร้าง ‘Share Value’ ของบริษัท

หากถามว่าบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ดียังไง เมื่อบริษัทของคุณมีภาพลักษณ์และผลประกอบการที่ดี มีการยอมรับอย่างแพร่หลายจะช่วยกระตุ้นให้พนักงานทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการสร้างชื่อด้วยค่านิยมร่วมหรือ Share Value ส่งผลดีต่อบริษัทของคุณในอนาคตอย่างแน่นอน

7. มีความยืดหยุ่นในการระดมทุนมากขึ้น

สำหรับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะช่วยให้บริษัทสามารถระดมทุนเพิ่มเติมเมื่อต้องการได้โดยการออกตราสารทางการเงิน เช่น ตราสารทุนและตราสารหนี้ หรือแบบกึ่งหนี้กึ่งทุน เช่น หุ้นกู้ หุ้นสามัญเพิ่มทุน จะช่วยให้บริษัทสามารถจัดการกับโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะกับธุรกิจ

เช็กข้อเสียของการเข้าตลาดหลักทรัพย์ให้ถี่ถ้วนก่อนเริ่มต้น

หลังจากทราบข้อดีกันแล้วว่าการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์มีข้อดีอย่างไรบ้าง หลายคนอาจตาเป็นประกายขึ้นมาทันที แต่ช้าก่อนมาเรียนรู้ข้อเสียเพื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจกันเถอะ

1. ความเป็นเจ้าของธุรกิจถูกลดลง

แน่นอนว่าเมื่อเข้าสู้ตลาดหลักทรัพย์แล้วผู้ถือหุ้นจะเป็นคนภายนอกซึ่งครองหุ้นบางส่วน ดังนั้นโครงสร้างการถือหุ้นเดิมจึงเปลี่ยนแปลง อาจสร้างความกังวลใจให้ผู้ประกอบการว่าบริษัทเสี่ยงต่อการเทกโอเวอร์

2. เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะเพิ่มขึ้น

ข้อเสียต่อมา คือ การเปิดเผยข้อมูลภายในเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นข้อกำหนดของทางหน่วยงานกำกับดูแลและตลาดหลักทรัพย์

3. มีกฎระเบียบยุ่งยาก

หากก้าวขาเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แล้วจำเป็นต้องดำเนินกิจการไปตามกฏระเบียบและมีหน่วยงานตรวจสอบ จะสร้างความซับซ้อนรวมถึงใช้ทุนมากยิ่งขึ้นในการจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมายหรือการเงิน และการปรับโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสม นอกจากนี้ยังต้องมีการวานจ้างผู้ตรวจสอบภายในให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐาน

4. ขาดอิสระในการบริหาร

สำหรับข้อต่อมาอาจทำให้หลายคนถึงกับกุมขมับเพราะเมื่อก่อนมีการตัดสินใจได้ดังที่ต้องการ แต่เมื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แล้วขอบเขตในการตัดสินใจจะน้อยลงไปเพราะมีผู้อื่นมาคอยกำกับดูแลไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการอิสระและผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นต้น

5. การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบควบคุมภายใน

สำหรับผู้บริหารจำเป็นต้องมีมุมมองในการควบคุมภายใน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้รอบคอบ อย่างการทำเอกสารที่สามารถตรวจสอบผลกระทบและการเช็กสินค้าคงคลังเป็นต้น นอกจากนี้การจัดการต้องแบ่งอำนาจหน้าที่อย่างชัดและเหมาะสม ระบบ Check&Balance จึงจะดี ดังนั้นขั้นตอนทั้งหมดอาจจะต้องใช้ระยะเวลากันสักหน่อย

Tiger

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด