JEFF BEZOS และ Amazon.com: เบื้องหลังความสำเร็จที่คนอื่นทำตามไม่ได้!

JEFF BEZOS และ Amazon.com: เบื้องหลังความสำเร็จที่คนอื่นทำตามไม่ได้!

Amazon.com คือหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก เจ้าของของ Amazon ก็คือ Jeff Bezos หนึ่งในคนที่รวยที่สุดในโลกเช่นเดียวกัน ในบทความนี้เราจะมาดูเบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของทั้งบริษัท Amazon และ Jeff Bezos กัน

JEFF BEZOS และ Amazon.com: เบื้องหลังความสำเร็จที่คนอื่นทำตามไม่ได้!

เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว พนักงานเงินเดือน Jeff Bezos ลาออกจากงานประจำทางด้านการเงิน แล้วมาเปิดบริษัทขายหนังสือออนไลน์ ในโลกที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ต ในสมัยนั้น อินเตอร์เน็ตยังถือว่าเป็นอะไรที่ใหม่มากๆ

ย้อนกลับมาในยุคนี้ เราเห็นแล้วว่า Amazon คือยักษ์ใหญ่ระดับโลก ตอนนี้ไม่ได้ขายแค่หนังสือเราด้วยซ้ำ ขายทุกอย่างที่เราสามารถจินตนาการได้เลย แต่เราก็ไม่สามารถอ้างได้หรอกว่า Amazon ได้เปรียบเพราะเริ่มก่อน ในสมัยนั้นก็มีหลายบริษัทที่ขายหนังสือออนไลน์ มีหลายบริษัทที่เริ่มขายปลีกทุกอย่างในโลกออนไลน์ก่อน Amazon ด้วยซ้ำ

แล้วอะไรทำให้ Amazon ประสบความสำเร็จกัน? ซึ่งผมบอกเลยว่าถ้าอ่านบทความนี้จบแล้ว นิยามของคำว่าความสำเร็จของคุณจะเปลี่ยนไป

Amazon.com และนิยามความสำเร็จที่ไม่เหมือนใคร

อะไรคือสิ่งที่บอกว่าบริษัทประสบความสำเร็จ? สำหรับหลายๆคน คงบอกว่าการที่บริษัทนั้นรวย เป็นบริษัทที่ใหญ่ ก็คือบริษัทที่มีความสำเร็จใช่ไหมครับ.. ถ้าจะพูดในแนวนี้ ก็คือแปลว่าบริษัทต้องกำไร 

แต่คุณรู้หรือเปล่าครับว่า 5 ปีแรกของ Amazon ไม่ได้กำไรเลย ถ้าเราไปดูงบการเงิน เราจะเห็นว่ามีช่องว่างประมาณ 10 ปีเลยนะครับ กำไรโดยรวมหรือว่า Net Profit ของบริษัท อยู่แค่ 1% คือเราหาเงินได้ 100 บาท แต่เข้ากระเป๋าบริษัทจริงๆแค่ 1 บาท 

ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ ทำงานอาทิตย์ละ 7 วัน 22:00 23:00 น ก็ยังนั่งอ่านอีเมล์ลูกน้องอยู่ แต่บริษัทของคุณได้กำไรแค่ 1% คุณคิดว่าคุณจะมีไฟในการทำงานอยู่หรือเปล่า?

ตอนที่บริษัท Amazon เข้าตลาดหลักทรัพย์ปีแรก Jeff Bezos ได้เขียนจดหมาย 1 หน้าให้กับพนักงานแล้วก็ผู้ถือหุ้นทั้งหมด บอกว่า ณ ตอนนั้น บริษัทมีลูกค้า 1.5 ล้านคนต่อปี มีรายได้เพิ่มขึ้นปีต่อปี 800 เปอร์เซ็นต์ ธุรกิจมียอดขายรวมทั้งหมด 150 ล้าน USD

แต่เป้าหมายของ Amazon มีอย่างเดียว Jeff Bezos เขียนไว้ว่า It’s all about the long term หรือ ทุกอย่างคือทำเพื่อระยะยาวอย่างเดียว

เป้าหมายความสำเร็จของ Amazon

ถึงผมจะบอกว่า Amazon ไม่ได้กำไรเยอะ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเขาขายขาดทุน ถ้าเราไปดูงบการเงิน เราจะเห็นว่าสมมุติ Amazon ขายของ 100 บาท เขาจะได้กำไรจากการขาย 20% ส่วนนี้คือกำไรหลังจากที่หักต้นทุนสินค้าเบื้องต้น แต่พอไปรวมกับการลงทุนเพิ่มเติม เช่น การจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ต่างๆ กำไรที่เหลือน่ะก็คือแค่เปอร์เซ็นต์เดียว 

ในมุมมองให้กว้างมากๆ ของบริษัทที่มียอดขายหลักหลายพันล้านบาท การลงทุนเพิ่มเติมของเขา รวมถึงการสร้างโกดังใหม่ๆ การเอาเงินไปพัฒนาสินค้าหรือเว็บไซต์ให้ดีขึ้น และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อลดต้นทุนในระยะยาว 

ใช่แล้วครับ สิ่งที่ Amazon ทำคือการลงทุนระยะยาว ด้วยการควบคุมเม็ดเงินอย่างดีเยี่ยม ที่เราจะพูดว่าเขากำไรแค่ 1% ตลอด 10 ปี เราต้องชื่นชมที่เขาสามารถประคองกำไรให้เหลือ 1% 2% ในระยะเวลา 10 ปี ไม่มีปีไหนที่ใช้เกินจนขาดทุน และไม่มีปีไหนที่ใช้ขาดจนเสียโอกาสในการลงทุน

ควาทเสี่ยงในการลงทุนของ Amazon

Jeff Bezos บอกไว้ว่า ต่อให้บริษัทจะมองการไกลและลงทุนเก่งแค่ไหน สุดท้ายทุกอย่างก็คือความเสี่ยงอยู่ดี แต่เค้าเลือกที่จะเสี่ยงกับการทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ลงทุนกับความต้องการของลูกค้า 

สิ่งที่ผมคิดว่าน่ากลัวที่สุดของเรื่องนี้คือ ในฐานะบริษัทคู่แข่งของ Amazon คงไม่มีบริษัทไหนสามารถตามเขาทันได้ เพราะเค้าได้ลงทุนด้วยเม็ดเงินที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดแล้ว เพราะสุดท้ายเราก็คงไม่สามารถสู้กับบริษัทที่ไม่คิดที่จะทำกำไรได้ใช่ไหมครับ 

คือตั้งแต่ 20 กว่าปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์มา Amazon ก็ยังคงใช้กลยุทธ์ลงทุนแบบเดิมอย่างนี้เรื่อย ถึงแม้ว่าภายหลังจะได้กำไรมากขึ้นจากผลการลงทุนในอดีต 10 ปีที่แล้ว จากการลงทุนในอดีตก็เพียงพอในการกีดกันคู่แข่งให้ออกไปได้ในระดับหนึ่ง 

กลับมาที่นิยามของความสำเร็จที่ผมเคยพูดไว้ ถ้าเป้าหมายของคู่แข่งอเมซอนคือกำไร โดยเบื้องต้นแล้วผมคิดว่าสามารถสู้ได้ยากมาก เพราะถ้ากำลังใจของเจ้าของบริษัทคู่แข่ง คือการทำกำไรได้เยอะๆ ผมคิดว่าเลือกคู่แข่งผิดแล้ว 

เพราะเหมือนกับว่าสิ่งที่ทำให้บริษัทอเมซอนสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ไม่เคยเป็นกำไรในงบการเงินตั้งแต่ตอนแรก แต่เป้าหมายของ Amazon ก็คือจะดันให้บริษัทโตและใหญ่ขึ้นได้อีกมากเท่าไหร่ ส่วนกำไรเป็นแค่ฟันเฟืองในการทำให้สิ่งนั้นเป็นจริงเท่านั้น

Tiger

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด