อย่าเพิ่งลาออก ถ้ายังไม่รู้ข้อดี-ข้อเสียของการย้ายงานบ่อย!

อย่าเพิ่งลาออก ถ้ายังไม่รู้ข้อดี-ข้อเสียของการย้ายงานบ่อย!

ช่วงนี้กระแส ‘Job Hopper’ หรือการย้ายงานบ่อยกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง  โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ มีการถกเถียงกันว่าพฤติกรรมแบบนี้มีข้อดีมากกว่าข้อเสียจริงหรือ ซึ่งในสายตาของคนเจนเนอร์เรชันอื่นบางคนคิดว่าพนักงานเหล่านั้นไม่มีความอดทน

แต่ในเมื่อทุกคนมีความรู้ความสามารถและสิทธิ์ที่จะเลือก เหตุใดต้องย่ำอยู่กับความจำเจ ความไม่ก้าวหน้าหรือสภาพแวดล้อมที่เป็น Toxic ด้วยล่ะ วันนี้เราจะพาคุณมาเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของการเปลี่ยนงานบ่อย ก่อนจะลาออกมาเช็กกันเลยว่าคุ้มค่าหรือไม่ พร้อมแล้วมาดูกันเลย

พาส่อง 5 ข้อดีของการย้ายงานบ่อยที่คุณคาดไม่ถึง

มาเริ่มกันที่ข้อดีของผู้ที่ชอบย้ายงานบ่อยกันเถอะ เพราะการเป็น Job Hopper ก็มีสิทธิ์เติบโตแบบก้าวกระโดด แถมได้เรียนรู้อย่างหลากหลายอีกด้วย จะน่าสนใจอย่างไร มาเริ่มกันเลย

1. การเปลี่ยนงานคือการเติบโตที่เร็วที่สุด

สำหรับค่าเฉลี่ยของพนักงานที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 24 มีอายุการทำงานแต่ละแห่งเฉลี่ยเพียง 1.3 ปีเท่านั้นในสหรัฐอเมริกา และจากสถิติของแพลตฟอร์มหางานชื่อดังก็พบสถิติว่าชาว Millennial ต่างต้องการลาออกถึง 23% หลังจากที่เพิ่งเริ่มงานได้ไม่นานนัก โดยอาจารย์สอนด้านการจัดการออกมาเผยว่า เหตุผลก็เนื่องมาจากการที่บริษัทแข่งกันแย่งคนเก่ง ๆ ทำให้มีสิทธิ์เลือกเยอะขึ้น ทั้งนี้บริษัทเองต้องสร้างโอกาสดี ๆ ให้คนทำงานสนใจอีกด้วย

การลาออกครั้งใหญ่ของผู้คนในช่วงหลังโควิดเองก็เป็นเพราะการเปลี่ยนมุมมอง อำนาจไม่ได้อยู่ที่บริษัทในการตัดสินใจว่าใครจะก้าวหน้าแต่เขาเป็นคนกำหนดเอง โดยนักเศรษฐศาสตร์มองว่าการย้ายงานนี่แหละทำให้เกิดการ ‘เติบโต’ ในหน้าที่การงาน รวมถึงเงินเดือนที่มากขึ้นด้วย

2. ได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองมากขึ้น

สำหรับใครที่มี Growth Mindset การลาออกอาจจะทำให้คุณยิ้มกว้างได้มากกว่าเดิมเพราะนอกจากเรื่องความก้าวหน้าในหน้าที่การงานแล้วคุณยังมีโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาความสามารถของตัวเองเพิ่มขึ้น จากเดิมย่ำอยู่ที่เดิมก็ได้เริ่มต้นความท้าทายครั้งใหม่ และนั่นจะทำให้คุณเป็นคนที่เก่งขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

3. Work-life Balance

มาถึงข้อนี้คุณคงได้คำตอบแล้วว่าการเปลี่ยนงานบ่อย แปลก ไหม นั่นถือเป็นเรื่องปกติของปัจจุบันเลยก็ว่าได้ สำหรับข้อดีข้อนี้คือการได้บาลานซ์ชีวิตที่ดีขึ้น เพราะบางแห่งคุณอาจจะได้ทำงานที่กินเวลาชีวิตมหาศาลไม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ดังนั้นในบริษัทรุ่นใหม่หรือบริษัทที่มีนโยบายสอดคล้องกับ Work-life Balance จะช่วยให้คุณได้ใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ มีเวลาว่างเป็นของตัวเองจริง ๆ

4. มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น

นอกจากข้อดีที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว คุณจะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากทั้งการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ รวมถึงประสบการณ์จากการย้ายงานบ่อยจะทราบว่ารูปแบบการทำงาน บุคคลหรือพฤติกรรมแบบไหนจะส่งผลเสียบ้าง ดังนั้นเมื่อนำมาประยุกต์ใช้คุณจะกลายเป็นคนที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีแน่นอน

5. ปรับตัวได้ไวกว่าใคร

สำหรับข้อดีของการย้ายงานบ่อยข้อสุดท้ายก็คือเรื่อง ‘Adaptation’ ซึ่งในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ คุณจะสามารถเปลี่ยนแปลงและเข้ากับที่ใหม่ได้เร็ว เป็นกลุ่มที่เรียนรู้งานได้ง่าย ใช้เวลาน้อยและสามารถนำไปต่อยอดได้อีกด้วย

เตรียมรับมือกับข้อเสียของการย้ายงานบ่อย ก่อนยื่นซองขาว

แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงบางครั้งก็เป็นดาบสองคมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากใครที่กำลังตัดสินใจจะลาออก ย้ายงานบ่อย ๆ มาดูกันก่อนว่าข้อเสียมีอะไรบ้าง

1. ถูกมองว่าขาดความอดทน

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า บางคนมองว่าผู้ที่เปลี่ยนงานบ่อยคือผู้ที่ไม่มีความอดทน อาจทำให้ต่อยอดในระดับที่สูงยากขึ้นเพราะต้องการผู้มีประสบการณ์ยาวนานหลายปี ทำให้บางบริษัทเกรงว่าเมื่อเราเข้าไปแล้วจะลาออกง่าย ๆ แบบเดิมนั่นเอง แต่ถ้าคุณมีเหตุผลที่เปลี่ยนงานบ่อย สัมภาษณ์แล้ว HR เข้าใจได้ก็ไม่ต้องกังวลไป

2. เรื่องอายุและ ‘Ageism’ ของสังคมไทย

หลายคนมองว่าการที่อายุมากแล้วไม่ควรย้ายงานบ่อย ๆ เพราะสองปัจจัย คือ การเรียนรู้งานใหม่กับระบบงานใหม่ หากสอนโดยคนที่เด็กกว่าอาจจะทำให้บรรยากาศแปลก ๆ บางคนก็ไม่สามารถยอมรับได้เลย ข้อที่สองคือเรื่อง Ageism ในสังคมไทย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบริษัทหลายแห่งตัดสินคนอายุมาก ๆ ว่าอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจากแค่ตัวเลข 

3.  งานใหม่อาจไม่เป็นดังใจหวัง

ก่อนจะตัดสินใจต้องมีข้อมูลที่รอบคอบไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง รูปแบบการทำงาน ภาระหน้าที่เกินขอบข่ายของตำแหน่ง ค่าใช้จ่ายในย่านนั้น เพื่อนร่วมงานมี Gap Generation หรือเป็น Toxic ดังนั้นทำรีเสิร์ชให้ดีก่อน

4. Resume ดูไม่ดีเท่าไหร่

บางครั้งที่มีการตัดสินจากหน้าปกไม่ได้อธิบายรายละเอียดว่าทำไมถึงย้ายงานก็อาจทำให้คุณถูกปัดตกตั้งแต่แรก สำหรับ HR บางคนจะรู้สึกเซฟกับผู้ที่มรประวัติการทำงานแต่ละแห่ง 6 เดือนขึ้นไปมากกว่า 

5. ความเสี่ยงช่วงทดลองงาน

หากตำแหน่งที่คุณสมัครไปมีการทดลองงานสัก 3 เดือนก็มีโอกาสที่คุณอาจจะไม่ถูกจ้างต่อและอาจว่างงานไปเลย ดังนั้นชั่งน้ำหนักให้ดีก่อนจะเริ่มต้นใหม่

Tiger

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด