ชั่วโมงนี้การซื้อ-ขายของออนไลน์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง Lazada ได้รับความนิยมสูงยิ่ง การขายของใน Lazada เป็นหนึ่งในช่องทางที่พ่อค้าแม่ขายเล็งเห็นความสำคัญก็เพราะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย แถมเทคโนโลยียังทันสมัยช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกสบายขึ้น
วันนี้ใครที่สนใจขายของในลาซาด้ามาเจาะลึกกันก่อนว่าแพลตฟอร์มชื่อดังนี้มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร คุ้มค่าแก่การใช้งานมากน้อยเพียงใด มาเรียนรู้ไปพร้อมกันเลย
มัดรวม 5 ข้อดีของการขายของใน Lazada ที่ต้องรู้ก่อนลงทุน!
สำหรับจุดเด่นหลักของการขายของใน Lazada ที่เราหยิบมาฝากกันครั้งนี้บอกได้เลยว่าน่าตื่นตาตื่นใจอย่างมากเพราะสมัครง่าย ๆ ด้วยหมายเลขโทรศัพท์ก็ได้รับสิทธิประโยชน์เพียบ โดยเฉพาะในช่วงแรกทางแพลตฟอร์มมีการช่วยเหลือให้ร้านค้าของคุณเริ่มต้นอย่างแข็งแรง มาดูกันเลยว่าจะควรค่าแก่การใช้บริการอย่างไรบ้าง
1. สมัครง่ายภายใน 1 นาที
หากคุณต้องการความสะดวกรวดเร็วในการสร้างร้านค้า การขายของ Lazada ตอบโจทย์อย่างแน่นอนเพราะใช้เวลาเพียง 1 นาที ใช้ข้อมูลดังนี้ หมายเลขโทรศัพท์, อีเมล, ที่อยู่คลังสินค้าและส่งเอกสารยืนยันตัวตน จากนั้นก็ลงสินค้าขายได้เลย
โดยมีให้เลือกสมัครทั้งแบบ LazMall สำหรับร้านค้าที่จดทะเบียนรูปแบบนิติบุคคล เป็นเจ้าของบรนด์หรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ และแบบร้านค้าบุคคลธรรมดา/นิติบุคคล ซึ่ง Lazada รองรับการใช้งานบนมัลติแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊กและคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงสะดวกสบายขั้นสุด ที่ไหนเมื่อไหร่ก็สามารถใช้งานแอปพลิเคชัน ‘Lazada Seller Center’ ได้
2. สิทธิประโยชน์สำหรับร้านค้าใหม่ 6 ประการ
ขอกระซิบบอกเลยว่าการขายของใน Lazada ให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าแม่ขายเกินใครในท้องตลาดนาทีนี้ เริ่มจากค่าธรรมเนียมในการชำระเงิน 0% นานถึง 30 วัน, ค่าธรรมเนียมการใช้บริการมาร์เก็ตเพลส 0% นานถึง 30 วัน, โปรแกรมเงินคืนทุกวัน 0% นาน 30 วัน, โปรแกรมส่งพิเศษ 0% นาน 30 วัน รวมถึงแคมเปญ Lazada ช่วยไทยและคูปองกระตุ้นยอดขาย บอกได้เลยว่าเข้าตากลุ่มลูกค้าของคุณอย่างแน่นอน
ไฮไลต์ของมาร์เก็ตเพลสแห่งนี้ก็คือ บริการทีมงานผู้เชี่ยวชาญ (Regional Business Intelligence-Buyer Growth) ช่วยดูแลร้านค้าฟรี! นานถึง 90 วัน โดยสอนใช้เครื่องมือเพิ่มยอดขาย หากยอดขายไม่ถึงเป้า Lazada มีเครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจแบบเรียลไทม์ ช่วยวิเคราะห์สาเหตุและสถิติหลังบ้าน เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าสามารถรับมือได้อย่างถูกวิธีอีกด้วย เรียกได้ว่าสะดวกสบายแบบเต็มพิกัด
3. ฐานลูกค้ามากกว่า 10,000,000 รายในไทย ใหญ่ที่สุดในอาเซียน
อีกหนึ่งจุดเด่นของ Lazada คือมีฐานลูกค้าจำนวนมหาศาลไมใช่แค่ในไทยแต่ทั้งอาเซียน คุณสามารถเลือกได้ว่าจะขายให้กลุ่มใด Gen X, Y หรือ Z ก็มีครบ ดังนั้นสินค้าของคุณจึงถูกมองเห็นมากขึ้นบนแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่แห่งนี้แน่นอน
4. คอร์สสอนการขายฟรีที่ Lazada University
แหล่งรวมเทคนิคต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซ มือใหม่ก็สามารถเรียนรู้วิธีเปิดร้านค้าไปจนถึงยิงโฆษณา นอกจากนี้ยังมีคลังความรู้อีกเพียบที่นำเสนอโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรง มีการอัปเดตอยู่สม่ำเสมอไม่ให้คุณพลาดเนื้อหาสดใหม่
5. แคมเปญกระตุ้นการขายหลากหลายตลอดทั้งปี
สำหรับพ่อค้าแม่ขายเมื่ออับดับเรตติงสูงขึ้นจะได้รับรางวัลใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยค่าคอมมิชชัน 0%* โดยแคมเปญใหญ่แห่งปีอย่างวันเกิดลาซาด้า หรือประจำเดือนอย่าง 6.6/11.11/ 12.12 ช่วยเพิ่มยอดขายมหาศาล เช่น ใน Mega Campaign ที่ผ่านมามีร้านค้ากว่า 50,000 แห่งละทุเป้ายอดขายอย่างน่าพึงพอใจ
สำหรับใครที่สนใจใช้บริการ Lazada Seller สามารถเข้าไปรับชมโฆษณาที่สรุปสารพัดข้อดีแบบกระชับได้ทาง Lazada x Salmon House : อองเทอเพอเนอ (Director’s Cut) รับรองว่าถูกใจ entrepreneur รุ่นใหม่แน่นอน!
แบไต๋ 4 ข้อเสียของการขายของใน Lazada
หลังจากทราบข้อดีกันแล้วมาเช็กกันต่อเลยว่าข้อเสียของการขายของใน Lazada มีอะไรบ้าง ซึ่งหลัก ๆ แล้วมี 4 ประการ ดังนี้
1. การแข่งขันสูง
แน่นอนว่าเป็นแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่มีร้านค้านับไม่ถ้วน อัตราการแข่งขันจึงสูงหากเป็นสินค้าที่มีขายในตลาดจำนวนมาก โดยภายในมาร์เก็ตเพลสจะมีสินค้าจากประเทศจีนอีกด้วยซึ่งมีราคาถูกแต่ใช้ระยะเวลานานในการจัดส่งนั่นเอง หากผลิตภัณฑ์ของคุณไม่มีตัวอื่นทดแทนได้ก็สบายใจได้เลย
2. การแก้ไขสินค้าค่อนข้างยาก
สำหรับมือใหม่อาจจะใช้เวลาศึกษาข้อมูลจาก Lazada University กันก่อนเพื่อให้จัดการกับร้านค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ต้องคงคลังสินค้าให้เพียงพอตลอดเวลา
เช่นเดียวกันกับแพลตฟอร์มอื่น ผู้ขายจำเป็นต้องสต็อกสินค้าให้เพียงพออยู่เสมอ
4. ค่าธรรมเนียมในการขายสินค้าค่อนข้างสูง
สำหรับข้อนี้ทำเอาพ่อค้าแม่ขายหลายคนถึงกับต้องชั่งใจในการขายของใน Lazada เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายนั้นค่อนข้างสูง เมื่อดำเนินการและขายสินค้าได้จะมีการหักเปอร์เซ็นต์ 3 รูปแบบ ดังนี้
- ค่าคอมมิชชัน
สำหรับค่าบริการแรกจะเสมือนค่าใช้บริการมาร์เก็ตเพลสในการขายของ โดยจะหักเปอร์เซ็นต์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่ขาย ยกตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าอุปโภคบริโภค 3%-5% สินค้าแฟชันและสินค้าทั่วไป 5% ของราคาสินค้า เป็นต้น
- ค่าธรรมเนียมการจัดส่งสินค้า
ทุกครั้งที่ส่งของตามออเดอร์ผู้ขายต้องเสียค่าจัดส่ง คำนวณตามเกณฑ์ที่ระบุ ซึ่งแตกต่างกันไปตามน้ำหนักและระยะทาง รวมถึงผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า เช่น Kerry, Flash, ไปรษณีย์ไทย เป็นต้น
- ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน
อีกหนึ่งค่าธรรมเนียมที่คุณจะต้องเสียทุกครั้งที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าก็คือ ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน ไม่ว่าจะทางบัตรเครดิต เดบิต โอนผ่านธนาคารหรือชำระเงินปลายทางซึ่งครอบคลุมทั้งหมด โดยคิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้าทั้งหมดรวมค่าจัดส่งหลังหักโปรโมชันหรือคูปองต่าง ๆ
ดังนั้นหากต้องตอบคำถามว่าขายของ Lazada ดีไหม พ่อค้าแม่ขายจำเป็นต้องชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียว่าคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด หรือจะเปรียบเทียบกับผู้ให้ริการรายอื่นก่อนก็เป็นความคิดที่ไม่เลวเลย