กระบวนการ บริหารองค์กรให้เต็มประสิทธิภาพที่ควรรู้ในปี 2023

กระบวนการ บริหารองค์กรให้เต็มประสิทธิภาพที่ควรรู้ในปี 2023

เมื่อพูดถึงกระบวนการ บริหารองค์กรจะมองข้ามไม่ได้เลย เพราะเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญที่จะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน ที่ดินหรือทุนเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่เกิดเฟืองฝืดหรือติดขัด

ฉะนั้นทุกองค์กรจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและนำวิธีการบริหารองค์กรไปใช้งานอย่างเหมาะสม วันนี้เราจะพาทุกท่านมาเรียนรู้กลยุทธ์การบริหารที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตและก้าวไกลได้แบบไม่สะดุดทั้งบริษัทขนาดใหญ่และเล็ก หากพร้อมแล้วมาเริ่มต้นกันเลย

เตรียมจด! สุดยอด 5 กระบวนการ บริหารองค์กรขนาดเล็ก

ใครว่าองค์กรขนาดเล็กสามารถบริหารจัดการได้ง่ายสบายสุด ๆ ในความเป็นจริงไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ต่างก็ต้องเผชิญความท้าทายในกระบวนการ บริหารองค์กร ดังนั้นใครที่มองหาวิธีการบริหารองค์กรขนาดเล็กอยู่ มาเรียนรู้ไปพร้อมกันเลย

1. แบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน

สำหรับปัญหาที่พบบ่อยมากที่สุดในองค์กรขนาดเล็กคือทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่อย่างจำกัด สิ่งที่พนักงานต้องเผชิญอาจเป็นภาระงานกองมหึมาที่ครอบคลุมหลายหน้าที่หลายตำแหน่ง มีความคลุมเครือว่าใครกันแน่เป็นคนรับผิดชอบด้านต่าง ๆ เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าคุณไม่สามารถจ้างคนมาเพิ่มเรื่อย ๆ ในการแก้ปัญหา แต่กระบวนการ บริหารองค์กรที่ดีจะต้องมีความชัดเจนทุกคน และมีความเข้าใจร่วมกันทุกฝ่ายมองเห็นภาพรวม รู้ว่าต้องประสานงานกับใครและมีคนไหนแบกรับภาระเยอะเกินไปหรือไม่

2. มีการพัฒนาบุคลากรอยู่เสมอ

การบริหารองค์กร สมัยใหม่ให้ความใส่ใจกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างมาก เพราะเล็งเห็นอนาคตที่บริษัทจะต้องเติบโตไปเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งจะโตได้พนักงานต้องเก่งด้วย สำหรับใครที่กังวลเรื่องงบประมาณก็ไม่ต้องห่วงเลยเพราะคุณสามารถให้คนในองค์กรที่มีความรู้คอยแนะนำ และมอบหมายชิ้นงานที่เสริมสร้างประสบการณ์ให้

3. มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ

อย่ามองข้ามระบบการทำงานเด็ดขาดถึงแม้องค์กรของคุณจะเล็กและไม่มีความซับซ้อน แต่ในอนาคตเมื่อมีการขยับขยายขนาดองค์กรก็ต้องมีระบบการทำงานที่ดีมาช่วย ซึ่งหลาย ๆ องค์กรอาจจะชะล่าใจพึ่งพาพนักงานแบบเต็มร้อย แต่หากคนที่เก่งมีประสิทธิภาพออกไปเมื่อไหร่ก็อาจจะเสียศูนย์ได้ ดังนั้นทุกตำแหน่งหน้าที่ควรมีเอกสารขั้นตอนการทำงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ด้วย

4. การทำงานสามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด

สำหรับเรื่องภาษีหรือกฎหมายควรมีผู้ตรวจสอบดูแลอย่างครอบคลุมให้มีความโปร่งใสในเรื่องบัญชี โดยบริษัทใหญ่ ๆ จะมีเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญของตัวเอง ในขณะที่บริษัทขนาดเล็กมักมีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบ ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดสรรผู้รับจ้างที่มีความสามารถและน่าเชื่อถือ แม้ราคาอาจจะสูงขึ้นมาหน่อยแต่รับประกันความเสี่ยงให้กับองค์กรได้

5. ผู้มีความสามารถนำความสำเร็จต้องได้รับรางวัล

แน่นอนว่าในเชิงจิตวิทยาการให้รางวัลเมื่อมีความสำเร็จเกิดขึ้นถือเป็นเรื่องที่ดี ช่วยให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไป แต่สำหรับองค์กรที่เป็นของครอบครัว เครือญาติหรือเพื่อน กระบวนการ บริหารองค์กรอาจจะเป็นไปอย่างประนีประนอมถ้อยอาศัยกัน ซึ่งไม่ควรให้โอกาสหรือการตอบแทนคนสนิทโดนใช่เหตุเพราะจะทำให้พนักงานไม่ได้อยากพัฒนาตัวเองมากนักในเมื่อการประเมินไม่ได้อยู่ที่ศักยภาพ

เผยเทคนิคลับกระบวนการ บริหารองค์กรขนาดใหญ่ให้ประสบความสำเร็จ

แน่นอนว่าการบริหารองค์กรขนาดใหญ่นอกจากคุณจะต้องมีทุกอย่างเช่นเดียวกันกับองค์กรขนาดเล็กแล้ว ยังมีอีกหลายด้านที่คุณต้องให้ความใส่ใจเพิ่มเติม จะเป็นอย่างไรมาดูพร้อมกันเลย

1. การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบันไดที่จะพาองค์กรขึ้นไปอยู่จุดสูงสุดได้จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่งานง่ายสำหรับผู้นำที่จะคอยตรวจเช็กและติดตามคนทุกคนและไม่ใช่พนักงานทุกคนที่มีปัญหาจะกล้าขอความช่วยเหลือหรืออัปเดตเรื่องราวการทำงานที่ราบรื่นไม่มีสะดุด ฉะนั้นจำเป็นต้องเข้าหาพนักงานก่อน หากเริ่มต้นคอยอัปเดตระหว่างกันจะทำให้เกิดความเข้าใจข้อมูลทั้งหมดในทีม ลดความผิดพลาดลงและบางคนไม่รู้สึกอึดอัดว่าถูกจู้จี้

2. ใช้ทรัพยากรเต็มประสิทธิภาพ

สำหรับกระบวนการ บริหารองค์กรจะขาดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดไปไม่ได้เลย และต้องไม่ลืมว่าการสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาทักษะด้านหนึ่งให้เชี่ยวชาญและการหมุนเวียนความรับผิดชอบเพื่อสร้างประสบการณ์ การทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนึ่งคนเดียวอาจเกิดปัญหาเมื่อพนักงานลาหรือออกจากองค์กร ดังนั้นให้เกิดการเรียนรู้หลากหลายจะช่วยให้องค์กรเสี่ยงน้อยลง

3. มีผู้ชี้แนะแนวทาง

สำหรับผู้ชี้แนะ (Mentor) จะช่วยให้พนักงานใหม่สามารถเข้าใจง่ายได้อย่างรวดเร็ว โดยคนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพี่เลี้ยงนี้อาจจะรู้สึกว่าภาระงานเยอะและเสียเวลา ดังนั้นคุณจึงต้องสร้างประโยชน์จากสิ่งนี้ให้แก่พวกเขาด้วย เช่น ลดเวลางานของ Mentor ลงและมีการเปิดโอกาสให้ฝึกฝนเป็นผู้นำทีม

4. ให้แต่ละทีมเป็นผู้ตัดสินใจ

เพราะการบริหารที่ดีไม่ใช่การตัดสินใจให้ทุกคนทุกอย่าง แต่คือการส่งเสริมให้แต่ละฝ่ายมีความกล้าในการตัดสินใจเอง โดยผู้ที่ทำงานและรับผิดชอบโดยตรงจะรู้จักกับชิ้นงานนั้นมากกว่า รู้ว่าแบบไหนดี เมื่อคุณเสริมเป้าหมายภาพรวมขององค์กรไปจะเกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นเริ่มถามแต่ละวันเลยก็ได้ว่า ทิศทางของฝ่ายจะไปอย่างไรต่อ แต่ทั้งนี้คุณยังต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญเองในฐานะผู้บริหารแต่อย่าลืมให้พนักงานออกความคิดเห็นบ้าง

บทความล่าสุด