นักการตลาดหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับแนวคิดแบบ 4P กันอยู่แล้ว สำหรับการตลาด 7P ก็คือส่วนแนวคิดทางการตลาดที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมมาจากแบบ Marketing Mix 4P นั่นเอง
ด้วยความซับซ้อนและครอบคลุมมากขึ้นจะช่วยให้เสริมการวางกลยุทธ์ธุรกิจของคุณมีประสิทธิภาพขึ้น วันนี้เราจะมาพูดถึง 7P Marketing Mix ว่าคืออะไร สามารถช่วยมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัดได้อย่างไร หากพร้อมแล้วมาเรียนรู้กันเลย
การตลาด 7P คืออะไร สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร?
สำหรับการตลาด 7P หรือ 7Ps Marketing Mix คือ องค์ประกอบทางการตลาดที่สำคัญต่อนักการตลาดและธุรกิจเพราะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้สินค้าหรือบริการของคุณตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและโดดเด่นกว่าคู่แข่งในตลาด จึงเป็นหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ไอเดียเป็นจริงได้
พาทำความรู้จักการตลาด 7P ที่ทุกธุรกิจต้องจับตามองให้ดี
หลังจากเข้าใจแล้วว่า 7P marketing strategy คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร เราจะพามาเจาะลึกแต่ละ Ps ว่ามีอะไรบ้าง ขอบอกเลยว่าเมื่อนำไปปรับใช้จะเกิดประโยชน์เกินคาดทั้งเข้าใจกลุ่มลูกค้า เพิ่มยอดขาย วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้ดีขึ้น แถมประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์อื่น ๆ เพื่อวิเคราะห์ธุรกิจได้อีกด้วย อยากเติบโตแบบก้าวกระโดดต้องไม่พลาดการตลาด 7P ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์ (Product)
สำหรับ P แรก คือ ผลิตภัณฑ์ที่รวมทั้งสินค้า บริการและลักษณะของสินค้าที่แสดงออกถึงตัวตนของ ‘แบรนด์’ โดยนักการตลาดจำเป็นต้องทำ Persona ของกลุ่มเป้าหมายว่าคือใครและมีพฤติกรรมหรือความชอบอย่างไร หรือรีเสิร์ชจากกระแสตอบรับของลูกค้าเก่าเพื่อนำมาปรับปรุงให้ Product ดียิ่งขึ้น สำหรับการตลาดออนไลน์ต้องไม่ลืม ‘Core Identity’ ส่วนประกอบหลักที่ตอบโจทย์ลูกค้าและ ‘Extended Identity’ ส่วนเสริมที่เป็นประโยชน์ด้วย โดย P ตัวนี้ครอบคลุมทั้งคุณภาพ ความเป็นตัวตน การใช้งาน รูปภาพ การบริการลูกค้า และช่วงเวลาในการใช้งาน เป็นต้น
2. ราคา (Price)
หัวข้อต่อมาคือเรื่องราคาสินค้าและบริการอันเป็นส่วนสำคัญในการโน้มน้าวใจกลุ่มลูกค้า โดยราคาและคุณภาพจำเป็นต้องไปด้วยกัน ลูกค้าจึงจะเต็มใจจ่าย ซึ่งกลยุทธ์ในการตั้งราคาตามแนวคิดการตลาด 7P นั้นหลากหลายมาก เช่น การตั้งราคาทางจิตวิทยา การตั้งราคาตามแนวภูมิศาสตร์ การตั้งราคาสินค้าเปิดตัวใหม่ การตั้งราคาโปรโมชัน นโยบายแนวระดับราคา นโยบายให้ส่วนลด เป็นต้น
3. โปรโมชัน (Promotion)
การ ตลาด บริการ 7P หรือสินค้าข้อต่อมา คือ โปรโมชัน ถือเป็นวิธีหนึ่งที่แบรนด์สื่อสารกับลูกค้าตามกลยุทธ์ Segmentation ของลูกค้า ซึ่งนักการตลาดจำเป็นต้องเข้าใจช่องทางทำโปรโมชันเพื่อให้ส่งไปยังลูกค้าได้ ยกตัวอย่างการตลาดออนไลน์ เช่น การยิง Ads , การทำ SEO, การทำ Affiliate Marketing, โปรโมชันสะสมแต้ม, การใช้ # หรือการตลาดออฟไลน์เพื่อส่งเสียงให้ดังขึ้นอย่างการจัด Event การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นต้น
4. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
มาต่อกันที่ Place หรือสถานที่ขายสินค้าและบริการ นอกจากจะมีหน้าร้านแล้วปัจจุบันยังนิยมช่องทางการจำหน่ายบนโลกออนไลน์อีกด้วย เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชันและมาร์เก็ตเพลส โดยมีการยิงแอดบนโซเชียลมีเดียร่วมด้วย ดังนั้นสถานที่จึงเป็นตัวกลางที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณต่อยอดไปได้ ยกตัวอย่างเช่น การเปิดหน้าร้านและเว็บไซต์ออนไลน์ให้ผู้บริโภคเข้าถึงง่ายขึ้นพร้อมกับชำระเงินได้ทันที แต่ต้องคำนึงด้วยว่าโมเดลธุรกิจของคุณเป็นแบบ B2B หรือแบบ B2C เพื่อให้ได้ช่องทางที่เหมาะสมกับแบรนด์ตัวเอง
5. การจัดการบุคลากร (People)
เพราะทรัพยากรบุคคลเป็นผู้เชื่อมต่อกับลูกค้าทั้งก่อนและหลังการขาย เพิ่ม User Experience ให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น แม้ว่าในยุคดิจิทัลจะมีความทันสมัยและสะดวกสบาย เช่น ระบบ Bot Chat ตอบคำถามอัตโนมัติ แต่นั่นไม่ครอบคลุมคำถามและถูกใจผู้ใช้งานบางส่วนอย่างแน่นอน อย่างไร ‘มนุษย์’ ก็ยังสำคัญแม้จะมีเทคโนโลยีทันสมัยเพียงใด โดยสิ่งที่คุณควรโฟกัสในเรื่อง People ก็คือ การคัดเลือกบุคลากร การฝึกอบรมพนักงาน วิธีการรับมือกับจำนวนของลูกค้าหรือ Complaint
6. กระบวนการ (Process)
กระบวนการถือเป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ โดยมีการประยุกต์ใช้ในทางตลาดทั้งการพัฒนา Product การโปรโมตธุรกิจ การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและการบริการลูกค้าด้านต่าง ๆ สำหรับการออกแบบกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ คุณจะเข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้นแถมสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้สินค้าและบริการให้แก่พวกเขา เพราะทราบความต้องการและอุดรอยโหว่ที่ส่งผลต่อประสบการณ์แง่ลบ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ธุรกิจเสื้อผ้าขายแบบอีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องทราบว่าเมื่อลูกค้าเข้ามายังหน้าเว็บแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องการให้พวกเขาเห็นคืออะไร ดังนั้นการออกแบบ UX/UI จึงมีความสำคัญไม่น้อย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเรื่องความเร็วและคุณภาพอีกด้วย ส่วน Customer Service ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิด Experience ที่ดี
7. ข้อพิสูจน์ทางกายภาพ (Physical Evidence)
มากันที่ P สุดท้าย ‘Physical Evidence’ หมายถึง การสร้างประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้สินค้าและบริการแบบจับต้องได้ เพราะสิ่งนี้คือ ‘ภาพลักษณ์’ ของแบรนด์ที่ทำให้ผู้ที่เคยซื้อบริการกลับมาใช้บริการอีกครั้ง หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่เคยซื้อได้รู้สึกว่าสิ่งที่จ่ายไปนั้นมีความคุ้มค่าสูง ส่วนในเชิงการตลาดออนไลน์ P ข้อนี้คือ การใส่ใจกับดีไซน์และฟังก์ชันของเว็บ มีความสวยงามและฟีเจอร์ที่ตรงความต้องการของลูกค้า ซึ่งต้องไม่ลืมส่วนสนับสนุนลูกค้าด้วย
7P กลยุทธ์มัดใจลูกค้าที่นักการตลาดต้องรู้!
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำธุรกิจอย่าง ‘7P’ ที่เรานำมาฝากกันในครั้งนี้ เชื่อว่าหากมีการนำไปประยุกต์ใช้จะช่วยให้สินค้าและบริการของคุณสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ แถมโดดเด่นเกินใครในตลาดอีกด้วย