เปิดพื้นฐานการตลาดสำคัญ มือใหม่ไม่ควรพลาด!

เปิดพื้นฐานการตลาดสำคัญ มือใหม่ไม่ควรพลาด!

ในการทำการตลาดแม้จะมีแนวคิดหรือการแสดงวิสัยทัศน์ที่ดี แต่ถ้าหากขาดพื้นฐานการตลาดไม่มีกลยุทธ์ที่ดี สิ่งที่วางแผนไว้คงจะเกิดขึ้นจริงได้ยาก โดยเบื้องต้นแล้วการตลาดก็คือหัวใจสำคัญของธุรกิจทุกชนิด อาจจะเป็นการทำโฆษณาที่หลายคนรู้จักกันหรือเป็นการวิเคราะห์การตั้งราคาให้ได้กำไรที่สุด นั่นก็เป็นเพราะว่าการตลาดนั้นครอบคลุมของทุกส่วนของธุรกิจ

ในวันนี้จะเป็นการนำข้อมูลพื้นฐานการตลาดเบื้องต้นเหมาะสำหรับมือใหม่ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนที่กำลังสนใจให้มีหลักให้จับเพื่อให้การทำการตลาดประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นถ้าพร้อมแล้วไปดูกัน!

เริ่มต้นทำความรู้จักกับพื้นฐานการตลาดกันก่อน

หลายคนได้ยินเรื่องการทำการตลาดแต่ไม่รู้คืออะไร ซึ่งเรียกว่าเป็นพื้นฐานการตลาดเลยก็ว่าได้ โดยการตลาดคือกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านกระบวนการคิดการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนต่างๆจากผู้ผลิตไปสู่ลูกค้าเพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจในการบริการหรือสินค้า

พื้นฐานการตลาด ต้องทำอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี!

พื้นฐานการตลาดเบื้องต้น ต้องศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ทำความเข้าใจว่าลูกค้าคือใครและลูกค้าซื้อเพราะอะไร โดยเป้าหมายหลักของการตลาดก็คือการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจ ผ่านการตลาดที่ทำในระยะสั้นและระยะยาว ในการทำการตลาดต้องสามารถตอบคำถามดังต่อไปนี้ได้

  • ลูกค้าคือใคร เริ่มจากการสัมภาษณ์ลูกค้าและทำการวิจัยตลาดเพื่อหากลุ่มลูกค้าที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่สุด ซึ่งขั้นตอนนี้คือกระบวนการจุดเริ่มต้นของการตลาดทุกชนิด
  • ลูกค้าซื้อเพราะอะไร เมื่อก่อนนักการตลาดมักบอกว่า การตลาดคือการแก้ปัญหาของลูกค้า แต่ละยุคสมัยนี้ที่วิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้ามีหลากหลาย ทำให้หัวใจของการตลาดกลายเป็นการทำความเข้าใจพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าแทน
  • ทำยังไงให้ลูกค้าซื้อ  นอกจากการทำความเข้าใจในเชิงทฤษฎีแล้ว หลักการปฏิบัติเพื่อโน้มน้าวลูกค้าก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นการทำโปรโมชั่น การทำประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนลูกค้าอีกด้วย

องค์ประกอบพื้นฐานการตลาดที่ต้องรู้มีอะไรบ้าง?

องค์ประกอบพื้นฐานการตลาดเรียกอีกอย่างว่า ส่วนผสมทางการตลาด หรือ 4P (Marketing Mix) คือ แนวคิดปัจจัย 4 อย่างที่ธุรกิจต้องวิเคราะห์เพื่อช่วยในการวางแผนการทำงานการตลาด ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 นั้นจะเข้ามาช่วยให้นักธุรกิจและนักการตลาดทุกคนได้สามารถวิเคราะห์กลยุทธ์ออกมาได้อย่างละเอียดเพื่อการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้มากที่สุด ประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ผลิตภัณฑ์ (Product)

ผลิตภัณฑ์ คือสิ่งที่ธุรกิจของต้องการขายให้กับผู้บริโภคและต้องเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ โดยผลิตภัณฑ์ในที่นี้อาจเป็นสินค้าหรือบริการก็ได้ ซึ่งต้องมีประโยชน์ (Utility) และสร้างคุณค่า (Value) ให้กับผู้บริโภค ตอบสนองต่อการใช้งานและสร้างความพึงพอใจกับผู้บริโภคได้ดี ซึ่งเหตุผลนี้จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์สามารถขายได้

ในกรณีที่มีผลิตภัณฑ์มาอยู่ก่อนแล้วก็ต้องเน้นในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ต้องมีความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราคืออะไร อะไรคือสิ่งที่เราควรเพิ่มหรือปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ของเรา ซึ่งต้องพิจารณาจากองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (Product Component) ดังนี้

  • หน้าที่และประโยชน์ใช้สอยพื้นฐาน (Function)
  • รูปร่างลักษณะ (Feature and Design)
  • คุณภาพ (Quality Level)
  • การบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
  • ตราสินค้า (Brand) : ชื่อ (Name) คำ (Term) สัญลักษณ์ (Symbol) การออกแบบ (Design)

2. ราคา (Price)

ราคา คือ คุณค่าหรือมูลค่าของตัวผลิตภัณฑ์ที่แสดงออกมาในรูปของตัวเงิน ซึ่งราคาถือเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์แต่ละแบรนด์เป็นอันดับแรก ดังนั้นในฐานะเจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการก็ควรต้องกำหนดราคาให้เหมาะสมกับสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับก่อนที่จะปล่อยผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดเสมอ โดยการกำหนดราคาสามารถพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้

  • ต้นทุน (Cost)  ค่าวัสดุ ค่ากำลังการผลิต ค่าแพคเกจจิ้ง ค่าสถานที่ เงินเดือนพนักงานหรือลูกจ้าง และค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาทั้งออนไลน์และออฟไลน์ (เช่น ยิงแอด ทำโฆษณาออนไลน์ ฯลฯ)
  • ราคาของคู่แข่ง ควรตั้งราคาให้เหมาะสมหรือใกล้เคียงกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเปรียบเทียบกันจนเกินไป

3. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)

ช่องทางการจัดจำหน่าย คือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้งและรูปแบบสถานที่ให้บริการ โดยต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจ ซึ่งต้องวิเคราะห์จาก 2 องค์ประกอบดังนี้

  • รูปแบบสถานที่ขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ ต้องกำหนดตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ และกลุ่มผู้ใช้หรือผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
  • สถานที่ตั้งของร้านค้า ต้องวิเคราะห์ก่อนลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจคือใครมีคู่แข่งขันหรือร้านค้าที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันในบริเวณนั้นหรือไม่ แล้วจึงค่อยตัดสินใจเลือกสถานที่ตั้งของร้านค้า

4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion)

การส่งเสริมการตลาด คือ การสื่อสารกันระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค เพื่อกระตุ้นการขายผ่านช่องทางและกลยุทธ์ต่าง ๆ เข้ามาช่วยไม่ว่าจะเป็นการใช้กลยุทธ์ด้าน Digital Marketing กลยุทธ์ Social Media Marketing ซึ่งประกอบไปด้วย การยิงแอด สร้างเพจ Facebook การใช้งาน Influencer หรือการคิดโปรโมชันตามช่องทางต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นวิธีการส่งเสริมการตลาดที่น่าสนใจ

ซึ่งในส่วนนี้อาจเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการพิจารณาถึงความเหมาะสมกับลูกค้าหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ธุรกิจตั้งไว้

เปิดแนวทางที่มือใหม่ควรนำพื้นฐานการตลาดไปใช้

ความรู้ทั้งหมดเป็นเพียงพื้นฐานการตลาดเบื้องต้นที่มือใหม่ควรทราบและสามารถใช้เป็นแนวทางในการเริ่มทำธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามควรจำเอาไว้เสมอว่าการตลาดคือการทดลองไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวสำหรับทุกคน ต้องเริ่มลงมือทำและค่อย ๆ ปรับไปจนเจอสูตรที่ใช่สำหรับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เพราะไม่ว่าจะเป็นใครหรือคู่แข่งในตลาดสามารถเข้าถึงความรู้ทางการตลาดได้ทังหมด ดังนั้นการตลาดที่มือใหม่ควรทำต้องศึกษาและเรียนรู้มาไปทดลองปรับใช้จริงคู่กันไปด้วย 

Tiger

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด