สร้างแรงจูงใจในการทํางาน บริษัทก้าวไกล บริหารได้ดียิ่งขึ้น

สร้างแรงจูงใจในการทํางาน บริษัทก้าวไกล บริหารได้ดียิ่งขึ้น

ผู้บริหารหลายคนให้ความสำคัญกับเรื่องแรงจูงใจในการทํางาน บริษัทของพนักงาน เพื่อให้ทุกฟันเฟืองหมุนไปอย่างมีประสิทธิภาพและเต็มกำลัง ในขณะที่บางคนไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทํางานเลย 

แต่ไม่ต้องห่วงเพราะวันที่เราจะพาทุกท่านมาเรียนรู้วิธีเหล่านี้เองก่อนที่จะสายเกินไป แน่นอนว่าการ Motivate จะช่วยลดอัตราการลาออกได้ แถมยังเพิ่มผลลัพธ์การทำงานให้ดีกว่าเดิมอีกด้วย สำหรับบริษัทที่กำลังทองหาวิธีการอยู่ ลองนำขั้นตอนที่เราหยิบมาฝากไปปรับใช้กันดูได้เลย

แรงจูงใจในการทํางาน บริษัทสำคัญฉไน ทำไมหัวหน้าควรสร้าง?

แรงจูงใจในการทํางาน บริษัทให้พนักงานลุกขึ้นมาก้าวเดินตามแผนงานที่บริษัทต้องการอย่างมุ่งมานะ ไม่หมดไฟไปเสียก่อน แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ แรงจูงใจภายนอกและภายใน การสร้างแรงจูงใจง่าย ๆ ภายนอก เช่น การชมเชยผลงาน การให้โบนัส ส่วนภายในพนักงานต้องการความก้าวหน้าและพัฒนาตัวเอง

 7 ไอเดียสร้างแรงจูงใจในการทํางาน บริษัทเติมไฟพนักงานให้ลุกโชน

หลังจากเข้าใจแล้วว่าสร้างแรงจูงใจในการทํางานนั้นมีความสำคัญเพียงใดและแบ่งออกเป็นกี่ประเภท เราจะพาคุณมาเรียนรู้วิธีการเติมเชื้อเพลิงให้ไฟในตัวพนักงานลุกโชนขึ้น จะน่าสนใจอย่างไนไปดูพร้อมกันเลย

1. สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ

สวัสดิการในการทำงานร่วมกับบริษัทถือเป็นหนึ่งในแรงจูงใจในการทํางาน บริษัทได้ ในปริมาณที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น สวัสดิการในการพักผ่อนท่องเที่ยวประจำปี จะออกทริปหรือออกค่าตั๋วก็ถือเป็นรางวัลที่ช่วยให้พนักงานมีแรงฮึด หรือจะเป็นคอร์สออกกำลังกาย โยคะ ฟิตเนส คอร์สภาษาพัฒนาสกิลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทด้วย 

2. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน

แน่นอนว่าสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้พนักงานรู้สึกแอ็กทีฟไม่เบื่อกับสภาพแวดล้อมแบบเดิม ๆ สำหรับวิธีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนโฉมออฟฟิศตั้งแต่จุดเล็ก ๆ อย่างการจัดวางโต๊ะทำงาน เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้หรือสไตล์ห้องทำงานใหม่ และออฟฟิศรุ่นใหม่มักจะมีโซนพักผ่อนสำหรับพนักงาน สามารถเล่นเกม ฟังเพลง นั่งเล่นได้ 

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่แสดงถึงความใส่ใจ เช่น เก้าอี้ Ergonomic, หลอดไฟที่ให้แสงสว่างเหมาะสม รวมถึงแว่นหรือจอที่ถนอมสายตาได้ หรือใครมีไอเดียประชุมนอกออฟฟิศก็ดีไม่น้อยเพื่อให้บรรยากาศสดใหม่ทำงานเป็นทีมอย่างมีความสุข

3. เฉลิมฉลองในโอกาสสำคัญ

ผู้จัดการหรือหัวหน้าหลายคนอาจมองข้ามสิ่งนี้ไปเพราะคิดว่ากระตุ้นไฟพนักงานแค่ในเวลาก็เพียงพอแล้ว แต่การฉลองทุกครั้งที่มีความสำเร็จใหญ่ ๆ จะทำให้พวกเขารู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ และไม่มองว่าความสำเร็จนั้นไร้ค่าเพราะไม่มีคนมองเห็น ตัวอย่างปาร์ตี้เช่น มื้อเย็น งานครบรอบบริษัท งานฉลองยอดขายทะลุเป้า เป็นต้น

4. มีความยุติธรรมต่อทุกคน

ข้อนี้จะพบได้บ่อยมากในการทำงานบริษัท ใครที่เป็นหัวหน้าต้องเที่ยงตรงไม่ลำเอียง เลือกฝักเลือกฝ่าย สนใจคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษแต่กับคนอื่น ๆ กลับไม่เหลียวแลเพราะยังไม่ถูกใจการทำงานมาก พฤติกรรมเช่นนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งภายในทีม แถมตัวหัวหน้าเองยังดูไม่น่าเชื่อถือ ในทางกลับกันหากคุณใส่ใจและเอ่ยชมทุกคนอย่างสมเหตุสมผลและเท่าเทียมจะสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาได้มากกว่า

5. สร้างบรรยากาศการทำงานให้สนุก ท้าทายตื่นเต้น

การจัดกิจกรรมภายในองค์กรก็น่าสนใจไม่น้อย เพื่อให้พนักงานรู้สึกตื่นตัวและตื่นเต้นไปกับการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น อีเวนต์เสนอไอเดียสุดครีเอทีฟ บางครั้งคุณอาจจะได้ไอเดียดี ๆ จากการแข่งขันครั้งนี้ก็ได้ ส่วนใครที่ทำดีมีผลงานเด่นก็อย่าลืมตบรางวัลให้ด้วย โดยการจัดกลุ่มกิจกรรมอาจจะให้พนักงานใหม่กับผู้มากประสบการณ์อยู่ร่วมกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกัน ฉะนั้นจึงเป็นหนึ่งวิธีในการสร้างแรงจูงใจในการทํางาน บริษัทที่เราแนะนำอย่างยิ่ง

6. การติดต่อประสานงานในเชิงบวก

คำพูดนั้นสำคัญยิ่ง หากขาดการไตร่ตรองให้ดีจะกลายเป็นอาวุธทำร้ายหรือบั่นทอนความรู้สึกของผู้ฟังได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงคำพูดเชิงลบที่ไม่ทำให้เกิดผล จะติเพื่อก่อก็ต้องสร้างสรรค์ไม่เหน็บแนม ประชดประชัน หรือนินทาลับหลัง นอกจากนี้คำพูดเชิงคำสั่งที่ดูวางอำนาจใหญ่ เช่น สั่งด้วยเสียงดังและแข็งกร้าว การเสียงดังโดยไม่จำเป็นก็ไม่มีใครถูกใจแน่นอน หันมาพูดสิ่งดี ๆ ที่ทำให้คุณเองก็รู้สึกดีอย่าง คำชม คำปลอบใจ หรือการให้คำปรึกษาอย่างจริงใจจะดีกว่า

7. ให้อิสระและรับฟังความคิดเห็น

ในการทำงานคุณไม่จำเป็นต้องตามเช็กทุกย่างก้าว ปล่อยให้พนักงานมีอิสระในการทำงาน คิดงานอย่างสร้างสรรค์จะดีกว่า พสกเขาจะรู้สึกได้ถึงความเชื่อใจและเชื่อมั่นในการทำงาน กล้าแสดงศักยภาพและแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

การสร้างแรงจูงใจให้คนทำงาน สำคัญเกินกว่าจะมองข้าม

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับวิธีการแรงจูงใจในการทํางาน บริษัทที่เรานำมาฝากกันในครั้งนี้ทั้ง 7 ประการ บอกเลยว่าเป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด ลองจินตนาการหากพนักงานไร้แรงจูงใจหรือ ‘หมดไฟ’ ในการทำงานจะเป็นอย่างไร แม้ตอนแรกต่างก็กระฉับกระเฉง มีความตื่นเต้นและสนุกกับงานที่ได้รับมอบหมายแต่เมื่อเวลาผ่านไปไฟที่เคยลุกก็อาจจะค่อย ๆ ดับลงเพราะความจำเจ ทำผลงานออกมาได้ไม่ดีเท่าที่คาดหวัง หรือเห็นคุณค่าในการทำตำแหน่งเหล่านั้นน้อยลง ไม่เห็นโอกาสเติบโต ดังนั้นอย่าลืมนำไปปรับใช้ในองค์กรของคุณเด็ดขาด

บทความล่าสุด