สอนวิธีทํา Presentation ให้น่าสนใจ สะดุดตาแบบมือโปรมาเอง!

สอนวิธีทํา Presentation ให้น่าสนใจ สะดุดตาแบบมือโปรมาเอง!

ไม่ว่าจะเรียนหรือทำงานสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องได้ลงมือทำก็คือ ‘งานนำเสนอ’ โดยนอกจากจะอธิบายข้อมูลชวนฟังแล้วต้องมีวิธีทํา presentation ให้น่าสนใจอีกด้วย เพราะจะช่วยดึงดูดสายตาผู้ชมให้เข้าใจสารหรือคล้อยตามง่ายกว่าเดิม

แต่หากคุณพบปัญหางานนำเสนอที่ออกแบบไม่ได้ดั่งใจดังที่ควร ไม่รู้ว่าต้องจัดวางหรือตกแต่งอย่างไรให้ถูกใจคนอ่าน วันนี้เราจะพามาดูเคล็ดลับฉบับเซียนในการออกแบบ presentation หรือ PowerPoint ที่เตะตาและมีประสิทธิภาพ จะเป็นอย่างไรมาดูไปพร้อมกันเลย

ข้อดีของการเรียนรู้วิธีทํา presentation ให้น่าสนใจ

เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยต้องเคยเห็นงานนำเสนอที่มีความสวยงามและลงตัว ชวนมองทุกสไลด์แล้วสงสัยไหมว่าวิธีทํา presentation ให้น่าสนใจมีประโยชน์อย่างไรอีกบ้าง หากพร้อมแล้วมาไขข้อสงสัยไปพร้อมกันเลย

  • เข้าใจง่ายไม่น่าเบื่อ

หากการออกแบบงานนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ชมจะสามารถเข้าใจลำดับประเด็นไปพร้อมกัน แถมยังสร้างความน่าตื่นตาตื่นใจรู้สึกอยากฟังไปจนจบ

  • Pleasure to the eyes

ความสบายตาและความสุนทรีย์บนหน้าจอทำให้ผู้ชมถูกดึงดูด คงไม่มีใครชอบตัวหนังสืออัดแน่นบนสไลด์ แต่การจัดวาง สีสัน ภาพและองค์ประกอบต่าง ๆ จะช่วยให้เกิดความสนใจและการจดจำที่ดี

  • เปลี่ยนเรื่องซับซ้อนเป็นเรื่องง่าย ๆ

สำหรับใครที่ใช้งานนำเสนอได้เต็มประสิทธิภาพจะสามารถย่อยเรื่องยาก ๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายได้ เช่น การใส่แอนิเมชันหรือภาพประกอบแทนคำพูดจำนวนมาก เป็นต้น

5 วิธีทํา Presentation ให้น่าสนใจ ใครเห็นก็ละสายตาไม่ลง

สำหรับวิธีทํา presentation ให้น่าสนใจที่เราหยิบมาฝากในวันนี้ เหมาะสำหรับมือใหม่และมือโปรที่มีประสบการณ์ออกแบบงานนำเสนออยู่แล้ว จะพลิกโฉมอย่างไรให้ดีกว่าที่เคย มาดูไปพร้อมกันเลย

1. ใช้โปรแกรมออกแบบหลากหลาย

เคยเห็นลูกเล่นหรือ Element ใหม่ ๆ แปลกตาที่สร้างความน่าตื่นเต้นให้กับผลงานกันบ้างหรือไม่ บอกได้เลยว่าแค่ใน PowerPoint อาจจะไม่พอเพราะการสร้างสรรค์ผลงานนำเสนอสามารถผสมผสานหลายโปรแกรมได้  ยกตัวอย่างโปรแกรม ทํา presentation ขั้นเทพ เช่น InDesign ใช้สำหรับการใส่เอ็ฟเฟ็กต์ให้ตัวอักษรหรือ Object ให้มีความสวยงาม 

โปรแกรม Illustrator สำหรับสร้าง Element ต่าง ๆ ขึ้นมาตามจินตนาการ และ Photoshop สำหรับปรับแสงสีใส่ลูกเล่นและปรับแต่งรูปภาพให้ทีความน่าสนใจ บอกเลยว่าคอนเซ็ปต์งานธรรมดา ๆ จะกลายเป็นงานที่โดดเด่นเกินใคร

2. Less is More

กฎน้อยแต่มีพลังมากในงานออกแบบ presentation คือ 6 x 6 นั่นเอง หลายครั้งที่เราต้องทนรับชมพาวเวอร์พอยต์ที่มีการยัดข้อมูลรก ๆ จนไม่รู้จะจับต้นชนปลายหรือโฟกัสตรงไหน ดังนั้นหากอยากหลีกเลี่ยงการเพิ่มพื้นที่ว่าง (space) ก็เป็นความคิดที่ดีไม่น้อย เพื่อให้ผู้อ่านสามารถจับประเด็นได้ตรงจุดนำ Rule of 6 x 6 มาใช้กันเถอะ โดยจะต้องไม่มีคำเกิน 6 คำต่อ Bullet และจำนวน Bullet ในหนึ่งหน้าก็ไม่ควรเกิน 6 และอย่าลืมจัดระเบียบไม่ให้คำกระจัดกระจายอ่านยากหรือตกบรรทัด

3. คุมโทนสีและฟอนต์

แน่นอนว่าเรื่องสีก็เป็นหัวข้อที่สำคัญอย่างมากในงานออกแบบ วิธีทํา presentation ให้น่าสนใจของเราคือการเลือกสีที่มีความเกี่ยวข้องกันไม่ว่าจะเป็นสีใกล้เคียงหรือสีคู่ตรงข้าม ซึ่งจำนวนต้องไม่เกิน 3 – 4 สีหลัก ทั้งนี้สียังมีความหมายในตัวอีกด้วย ขึ้นอยู่กับเรื่องที่คุณกำลังเสนอว่าอยากให้ออกมาใน Mood & Tone แบบไหน หรือเป็นงานนำเสนอของแบรนด์ก็ควรหยิบสีหลักมาใช้ให้เกี่ยวเนื่องกับเอกลักษณ์ของธุรกิจ

นอกจากสีแล้วฟอนต์ (Font) ก็ต้องใส่ใจไม่แพ้กันก่อนจะลงมือควรศึกษาดูก่อนว่าเรื่องราวของคุณนั้นมีความเป็นทางการขนาดไหนและบริษัทมีการกำหนดฟอนต์ไว้อยู่แล้วหรือไม่ ซึ่งหากเป็นภาษาไทยจะมี 2 รูปแบบคือ แบบอักษรมีหัวและไม่มีหัว โดยแบบแรกจะสามารถอ่านได้ง่ายกว่าและมีความเป็นทางการ ส่วนแบบต่อมามีความโมเดิร์นในตัวและให้ความรู้สึกเป็นกันเองกับผู้ชม แสดงถึงเอกลักษณ์ของงานหรือ Signature ได้อีกด้วย

4. ใช้ Animation ทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องง่าย

สำหรับงานนำเสนอที่มีความซับซ้อนเหมาะสำหรับการทำแอนิเมชันอย่างยิ่งเพราะผู้ฟังจะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและ presentation ก็มีความสวยงามสะดุดตา หรืองานนำเสนอของใครเป็นเรื่องเรียบง่ายก็สามารถสร้างกิมมิคได้เช่นกัน ทั้งนี้ทุกอย่างต้องตั้งอยู่บนความพอดีไม่มากจนรกสายตาเกินไป 

อย่างเช่น การนำเสนอวิธีออกท่าออกทางของแม่ไม้มวยไทย การล้างมือให้ถูกสุขลักษณะหรืองานด้านการแพทย์ การทำโมชันกราฟิกจะช่วยให้เข้าใจได้ทันทีแถมดึงดูดความสนใจได้ดี สำหรับเทคนิคที่นิยมใช้กันก็คือ Slide Transition Chart Animation และ Animation Effect

5. ใช้กราฟิกให้เป็นไม่ Overstyling

มากันที่เทคนิคการทํา presentation สวยๆ ข้อสุดท้าย นอกจากคุณจะให้ความสำคัญเรื่องฟอนต์ สีสันและวิธีจัดวางตัวหนังสือแล้ว ยังต้องเช็กเรื่องกราฟิกอีกด้วย เช่น ภาพที่เป็นพระเอกอย่างสินค้าจะมีความชัดเจนและโดดเด่นมากที่สุด ส่วนสิ่งที่ไม่ใช่จุดโฟกัสจะมีขนาดไม่ใหญ่เท่าและค่า Opacity จะปรับลดลงเพื่อให้สิ่งอื่นเด่นกว่า นอกจากนี้หากมีกราฟิกอย่างกราฟ ตารางหรือสถิติ ควรมีการเลือกใช้รูปแบบให้เหมาะสม

บทความล่าสุด