ใครที่กำลังสนใจอาชีพมาแรงในยุคดิจิทัลอย่างพ่อค้าแม่ขายออนไลน์เร่มาทางนี้เลย เพราะวันนี้เราจะพามาส่อง 7 สิ่งที่ต้องเตรียมการก่อนเริ่มขายของออนไลน์
ในขณะที่มองผิวเผินการสร้างร้านค้าออนไลน์อาจดูเป็นเรื่องง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วจะทำให้ประสบความสำเร็จนั้นยากกว่าที่คิดหากไม่มีการเตรียมพร้อมให้ดี ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามหัวข้อที่เราหยิบมาฝากกันวันนี้เด็ดขาด เอาล่ะหากพร้อมแล้วมาดูกันดีกว่าว่าขายของออนไลน์ เริ่มยังไงให้ปังตั้งแต่แรก
เช็กลิสต์ 7 ข้อสำหรับการเริ่มขายของออนไลน์ให้รุ่งตั้งแต่ก้าวแรก
สำหรับเคล็ดลับในการเริ่มขายของออนไลน์ทั้ง 7 ประการที่เรานำมาฝากทุกท่านในวันนี้ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและแม่ค้าพ่อขายมือฉมังที่ประสบความสำเร็จต่างก็ใช้กัน หากพร้อมหยิบกระดาษขึ้นมาจดแล้วล่ะก็ มาเริ่มกันเลย
1. พิจารณาความคุ้มค่าและความเหมาะสมกับตัวตนของคุณ
หากถามว่าขายของออนไลน์ต้องรู้อะไรบ้าง ก่อนจะลงทุนหรือเปิดร้านออนไลน์ เราขอแนะนำให้ทำความรู้จักกับข้อดีและข้อเสียกันก่อนว่ามีความคุ้มค่าแก่การลงทุนและเหมาะกับบุคลิกหรือตรงกับความชื่นชอบของคุณอย่างแท้จริงหรือไม่
สำหรับจุดเด่นของการขายของออนไลน์ก็คือ การประหยัดต้นทุน สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วทุกที่ทุกเวลา แถมไม่จำเป็นต้องมีพนักงานก็สามารถดำเนินการเองได้ หากเปิดบนแพลตฟอร์มชื่อดังจะมีเครื่องมือวิเคราะห์การตลาดให้อีกด้วย ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นและทำกำไรได้เยอะขึ้น นอกจากนี้ร้านค้ายังเปิดแบบ 24/7 ไม่ต้องมีสต็อกสินค้าก็ได้หรือใครมีธุรกิจออฟไลน์ก็สามารถเพิ่มลูกค้าได้อีกด้วย
ส่วนจุดด้อยของการขายของออนไลน์ อย่างแรกคือคู่แข่งเยอะ มีร้านค้าจำนวนมากและอาจถูกตัดราคาได้ ซึ่งตัวผู้ขายหรือผู้บริโภคเองต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี เมื่อเปิดร้านบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหรือเว็บไซต์ต่างก็มีค่าใช้บริการและหัก Gross Profit อีกด้วย เมื่อลงขายก็อาจค้นพบได้ยากเพราะมีร้านจำนวนมาก สินค้าต้องถูกจัดส่งดังนั้นผู้ซื้อต้องจ่ายเพิ่มหรือคุณเองก็ถูกหักจากแพลตฟอร์มอีกด้วย ดังนั้นศึกษาช่องทางที่สนใจให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ
2. เงินทุน
แม้การเริ่มขายของออนไลน์ช่องทางนี้จะประหยัดแต่ก็ต้องการใช้เงินทุนจำนวนหนึ่ง ความรู้ รวมถึงเวลาด้วย การเริ่มต้นในช่วงแรกจำเป็นต้องมีทุนสำรอง หากไม่สามารถสำรองจ่ายก่อนอาจเกิดปัญหาเงินหมุนเวียน ดังนั้นก่อนเริ่มต้นเตรียมให้พร้อมแล้วแยกบัญชีระหว่างส่วนตัวกับของร้านค้า มีการบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างชัดเจน ส่วนใครที่ไม่มีเงินตั้งต้นจริง ๆ อาจเริ่มจากการทำ Affiliate หรือโปรโมตสินค้าเพื่อรับรายได้ก่อนก็น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
3. การเลือกสินค้า
การเลือกสินค้าที่จะนำมาขายก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน เรียนรู้สินค้าขายของออนไลน์ กฎหมายรับรองกันก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซึ่งมาจากการขาดความรู้ โดนสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ในตลาด ได้แก่ สินค้าจับต้องได้ เช่น เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อาหารและสกินแคร์ ต่อมาคือสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ เพลง สินค้าในเกม และสินค้าด้านการบริการ เช่น บัตรกำนัล ตั๋วเครื่องบิน การจองที่พักและร้านสปา เสริมสวย และอาหาร เป็นต้น
4. เลือกช่องทางการขายให้เหมาะสมกับสินค้า
หลังจากเลือกสินค้าแล้วขั้นตอนต่อมาก็ต้องเลือกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่เหมาะสม ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้คุณจัดการหน้าร้านและฟังก์ชันมากมายในการอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะบน Lazada, Shopee, Facebook, Tiktok, Line Shop หรือ Instagram นอกจากนี้ยังมีเว็บที่เฉพาะเจาะจงลงไปเช่น Knock Knock.com แหล่งซื้อ-ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับบ้านครบวงจร
จะเลือกช่องทางไหนก็ต้องศึกษาว่ากลุ่มลูกค้าของคุณอยู่ที่ไหนมากที่สุดและมีตัวช่วยในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบไหนบ้าง ซึ่งไม่จำกัดว่าจะเริ่มขายของออนไลน์ได้ช่องทางเดียว หากคุณพร้อมรับมือกับลูกค้าหลายช่องทางและค่า GP รวมถึงค่าบริการอื่น ๆ ไหวก็สามารถลุยได้เลย
5. การบริหารจัดการร้านค้า
พ่อค้าแม่ขายที่เพิ่งเริ่มขายของออนไลน์ต้องบริหารเวลากันให้ดีเพราะร้านค้าของคุณเปิดตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันก็มีแชตบอตเข้ามาเป็นตัวช่วยเบื้องต้นในการนำเสนอข้อมูล ราคาแก่ลูกค้า โดยผู้ซื้อจะรู้สึกประทับใจมากกว่าหากร้านค้าสามารถตอบได้อย่างรวดเร็วดังใจหวัง ทั้งนี้คุณสามาถแจ้งรายละเอียดร้านค้าได้ว่าให้บริการกี่โมงถึงกี่โมงและส่งของตอนไหนบ้าง
6. วิธีทำการตลาดออนไลน์
ปัจจุบันเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงมาก ผู้ที่เริ่มขายของออนไลน์ Pantip ต่างให้ความสนใจ โดยช่องทางโซเชียลต่าง ๆ สามารถใช้ได้อย่างมีประโยชน์โดยไม่ต้องเสียเงินสักบาทเพื่อยิงแอดเลยก็ได้ ขอเพียงคอนเทนต์ดีเข้ากับกลุ่มลูกค้าก็ช่วยดึงดูดได้ไม่น้อย
7. เรียนรู้เรื่องภาษี
สำหรับข้อสุดท้ายของการเริ่มขายของออนไลน์ ที่พ่อค้าแม่ค้าต้องทราบคือการเสียภาษี ไม่ว่าคุณจะได้รายได้จากช่องทางนี้ช่องทางเดียวหรือหลายช่องทางก็ต้องยื่นภาษี 2 ประเภท ได้แก่ ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 ตามที่กรมสรรพากรระบุ