S&OP คืออะไรมาไขคำตอบไว้ ได้ใช้ประโยชน์แน่นอน!

S&OP คืออะไรมาไขคำตอบไว้ ได้ใช้ประโยชน์แน่นอน!

ด้วยสภาพตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและแข่งขันสูง S&OP จึงได้รับความนิยมและถูกหยิบนำมาใช้ในองค์กรอย่างแพร่หลาย โดยเป็นการวางแผนจากภาพรวม หยิบข้อมูลจากหลาย ๆ แผนกมาประกอบการตัดสินใจ

เนื่องจาก Pain Point ขององค์กรที่พบปัญหาการไม่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างเต็มที่ทำให้การไหลของข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้แผนการขายไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้นวันนี้เราจะพามารู้จักกับ S&OP กันให้มากขึ้นเพื่อวางแผนการขายและปฏิบัติการให้ขจัดปัญหาดังกล่าว

ไขข้อสงสัย S&OP คืออะไร

S&OP (Sales and Operations Planning) คือ แผนบูรณาการการขายในระดับกลยุทธ์และปฏิบัติการ ช่วยคาดการณ์แนวโน้มอุปสงค์ อุปทานนับตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันรวมถึงอนาคต ซึ่งทำเอาการทำงานทั้งหมดมารวมเป็นแผนหนึ่งฉบับ

มาทำความรู้จัก S&OP กับกระบวนการวางแผนกันให้มากขึ้น

โดยทั่วไปแล้วการวางแผนปฏิบัติงานภายในองค์กรจะเกิดในหลายระดับซึ่งจะคาบเกี่ยวช่วงเวลาแตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ประเภทหลัก ได้แก่ แผนยุทธการ (Operation Planning/ Detail Planning and Control)  แผนยุทธวิธี (Tactical Planning) และแผนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Planning) ซึ่งมีความสำคัญสูงสุด

โดยแผนที่สำคัญนี้จะเป็นกุญแจระบุความต้องการสินค้าในอนาคตซึ่งครอบคลุมนานหลายปี อย่างไรก็ตามระยะเวลาไม่ได้ตัดสินว่าเป็นแผนแบบยุทธวิธีหรือยุทธศาสตร์ ซึ่งองค์กรอาจใช้ยุทธศาสตร์หลายปีเพื่อทดสอบว่าบริษัทเองอยู่รอดและใช้เวลาในการสร้างผลตอบแทน นอกจากนี้แผนประเภท Strategic อาจเกิดผลสำเร็จในระดับเล็กซึ่งไม่ใช่ภาพรวมทั้งหมด

สำหรับปัจจัยที่ใช้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ คือ ผลลัพธ์หรือประสิทธิผลที่คาดหวัง ซึ่งแผนนี้จะเป็นตัวกำหนดแผนระยะกลาง (4 เดือน – 1 ปี) อย่าง Tactical Planning และแผนระยะสั้นแบบ Operation Planning ที่ครอบคลุมทั้งรายละเอียดของกระบวนการ ทรัพยากร และการควบคุมระดับชั่วโมงหรือสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต แผนทั้งหมดนี้จะช่วยให้สินค้าและบริการมีคุณภาพแถมส่งมอบอย่างตรงเวลา เมื่อต้องการปรับแก้ก็สามารถทำได้โดยการปรับจากทรัพยากรที่มี

ดังนั้น S&OP จึงมีส่วนสำคัญในการวางแผนระยะกลางได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยบ่งชี้ว่าองค์กรจะสามารถบรรลุความคาดหวังจากกำลังผลิตจากทรัพยากรที่มีอย่างไร S&OP ตัวอย่างเช่น ขนาดของทรัพยากรมนุษย์และสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากสร้างความเป็นไปได้ให้บรรลุผลจริงแล้วยังช่วยสร้างบาลานซ์ระหว่างต้นทุน คุณภาพสินค้าและความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี

เท่านั้นยังไม่พอยังเกิดการประสานงานที่น่าพึงพอใจขึ้นอีกด้วย เพราะแผนงานชนิดนี้สามารถเข้าใจได้ทุกคน เช่น ฝ่ายการตลาดจะโฟกัสเรื่องยอดขายและส่วนแบ่ง ในขณะที่ฝ่ายการเงินจะคำนึงเรื่องการไหลเวียนของกระแสเงินและอัตราส่วนทางการเงิน ส่วนผู้จักการฝ่าย operate จะให้ความสำคัญแก่การผลิตและบริการ ดังนั้นการวางแผนนี้จึงง่ายต่อทุกคนและเข้ากับรายละเอียดการวางแผนของแต่ละแผนกได้ดีไม่น้อย

ตัวช่วยวางแผนแบบนักจัดการโซ่อุปทานตัวจริง

จะเห็นได้ว่าความหมายของ Sales and Operations Planning อาจจะดูผิวเผินในแง่ธุรกิจ แต่ความเป็นจริงแล้วกระบวนการทำงานนั้นมีความน่าสนใจอย่างมากทั้งซับซ้อนและสามารถจัดการโซ่อุปทานได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือเกิดการร่วมมือกับทุกคนในองค์ รวมถึงนอกองค์กร

โดยเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินยุทธศาสตร์อีกด้วย ซึ่งสอดประสานตั้งแต่ Strategic Planning มาจนถึง Operation Planning เรียกว่าเป็นแผนรวมของโซ่อุปทาน (Aggregate Planning)

เหตุผลที่ไม่ควรมองข้ามกระบวนการ S&OP

มาดูกันดีกว่าว่าเหตุใดองค์กรที่ประสบความสำเร็จต่างก็ให้ความสำคัญแก่ S&OP process ด้วยประโยชน์และประสิทธิภาพในการทำงาน ดังต่อไปนี้

1. ช่วยตัดสินใจเรื่องโซ่อุปทาน

สำหรับผู้บริการที่มองเห็นภาพรวมองค์กรเพราะมีข้อมูลของแต่ละส่วนครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการผลิต ข้อมูลสินค้าคงคลัง แผนการตลาด การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ แผนปฏิบัติการและแผนการขนส่ง S&OP คือ ตัวช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่าง Demand Plan และ Operation Plan ส่งผลให้บริษัทสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพิ่มศักยภาพในการทำงานร่วมกัน

แน่นอนว่าเมื่อแผนปฏิบัติการมีความครอบคลุมและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะช่วยให้ผู้ร่วมงานมองเห็นภาพชัดเจนและทราบบทบาทหน้าที่เป็นอย่างดี

3. เพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนและเพิ่มผลประกอบการ

แผนแบบบูรณาการนี้จะช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพและเพิ่มพูนผลกำไรได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

4. เพิ่มความแม่นยำในการพยากรณ์แนวโน้มอุปสงค์

แน่นอนว่าการพยากรณ์แนวโน้มความต้องการสินค้าไม่สามารถคิดขึ้นมาเองได้ จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตามลำดับหรือ S&OP ทุกองค์กรจำเป็นต้องระบุได้ว่าแนวโน้มใดมีอิทธิพลต่อธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์กรมองเห็นภาพอนาคตที่นำมาสร้างกราฟได้

5. สร้างความยืดหยุ่นในการจัดการแผนความต้องการ

ดังที่กล่าวไปในข้อแรก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตลาด องค์กรจะสามารถปรับยืดหยุ่นได้ไม่ตายตัวและดำเนินต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เปิดความหมายและกระบวนการ S&OP ที่สำคัญต่อองค์กรอย่างยิ่ง

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับรายละเอียดของ ‘Sales and Operations Planning’ ที่เราหยิบมาฝากกันในครั้งนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็น ผู้บริการ ฝ่ายขาย/การตลาด ผู้จัดการ ฝ่ายผลิต ฝ่ายคลังสินค้าหรือฝ่ายขนส่งก็มีประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคุณอย่างแน่นอน คราวนี้ก็เข้าใจความหมาย กระบวนการวางแผน รวมถึงประโยชน์อย่าง เรื่องโซ่อุปทานที่สำคัญ การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มผลประกอบการและการเพิ่มความยืดหยุ่นในการวางแผน รับรองว่านำไปใช้แล้วไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

บทความล่าสุด