7 สัญญาณส่อปัญหา ธุรกิจ อยากรุ่งไม่มีร่วงห้ามพลาด!

7 สัญญาณส่อปัญหา ธุรกิจ อยากรุ่งไม่มีร่วงห้ามพลาด!

วันนี้เราจะพาทุกท่านมาเรียนรู้สัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังมีปัญหา ธุรกิจอยู่ ถึงแม่ว่าในแต่ละวันจะมียอดสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก จนต้องมีพนักงานมาช่วยหลายคนในแต่ละขั้นตอน ส่งตลอดตั้งแต่เช้ายันค่ำ มองดูแล้วอาจจะดูเหมือนธุรกิจกำลังไปได้สวย แต่หารู้ไม่ว่านั่นอาจเป็นเพียงภาพลวงตาก็ได้ บางครั้งอาจจะขายดีจนเจ๊งก็ได้ หรือใครที่กำลังประสบปัญหาเข้าจัง ๆ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจก็ต้องไม่พลาด เพราะเราจะพามาเช็กสัญญาณว่าธุรกิจที่กำลังจะร่วงเป็นอย่างไรบ้าง

ชวนเช็ก 7 สัญญาณส่อปัญหา ธุรกิจ รู้ไว้แก้ไขได้เร็วขึ้น!

ไม่ว่าคุณจะเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างสวยงามหรือเจอปัญหา ธุรกิจล้านแปดก็ไม่ควรมองข้ามเพราะภาพที่เห็นอาจจะไม่ใช่ความจริงก็ได้ ดังนั้นมาเช็กกันเลยว่าสัญญาณส่อปัญหาธุรกิจจะมีอะไรบ้าง รู้ไว้จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที!

1. การบริหารทรัพยากรหมุนเวียน

สัญญาณเตือนปัญหา ธุรกิจข้อแรกจะสามารถพบได้อยู่เสมอ ต้องคอยเช็กความผิดแปลกให้ดี โดยทรัพยากรที่เรากล่าวถึง คือ สินทรัพย์หมุนเวียนนั่นเอง ซึ่งมีปัจจัยหลักสองประการ ดังต่อไปนี้ ข้อแรก คือ การระบายสินค้าคงคลัง โดยเฉพาะผู้ที่ขายเสื้อผ้าหรือแฟชันทั้งหลายที่เทรนด์มาเร็วไปเร็ว อาจใช้หลักการ FIFO หรือ First In First Out มาใช้ สินค้าใดที่เข้ามาก่อนก็ต้องถูกส่งออกให้หมดก่อน เพื่อให้ทันกระแสนิยมและการด้อยราคาสินค้าคงคลังที่เหลือได้ หากผิดพลาดอาจจะขายไม่ออกหรือราคาต่ำลงมาอย่างน่าใจหายนำมาสู่การขาดทุนได้ง่าย

ข้อต่อมาที่หลายคนอาจมองข้ามไป คือ การเรียกเก็บหนี้ลูกหนี้ การบริหารที่ดีจำเป็นต้องจัดเก็บลูกหนี้การค้าได้เสมอ มีระยะเวลาชัดเจนและเหมาะสมไม่ให้เกิดทุนจม อาจใช้เทคนิคเข้าช่วยกระตุ้นการจ่ายเช่นส่วนลดหากคืนไว

จะเห็นได้ว่าการบริการสินทรัพย์ทั้งสองอย่างมีความสำคัญมาก เพราะหากกำไรไม่พอต่อการใช้จ่ายในแต่ละงวด เป็นตัวชี้ชัดเลยว่าธุรกิจมีปัญหา

2. ส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยลง

ข้อต่อมาเป็นสัญญาณปัญหา ธุรกิจที่น่ากลัวมาก ถึงแม่ยอดขายของคุรจะเพิ่มขึ้นแต่ถ้าคู่แข่งโตได้ไวกว่า อย่ามองว่าเป็นเรื่องไกลตัว จำเป็นต้องสังเกตส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีจำนวนลดลงหรือเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่ม SMEs ก็สามารถสำรวจได้ไม่ยาก หากคุณมีสินค้าในตลาดของห้างแห่งหนึ่งแล้วมีสินค้าทดแทนแบรนด์อื่นด้วย ลองสังเกตว่าลูกค้าแวะร้านไหนมากกว่า เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขก่อนจะมีปัญหา ธุรกิจ SME ก้อนโตตามมา

3. การผลิตสินค้าไม่ทันสมัย

ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไปไวและไหลมาก หากคุณยังย้ำอยู่กับที่ใช้วิธีเดิม ๆ อาจไม่ได้ผลอีกต่อไป เช่น การสื่อสารกับลูกค้าผ่านการโทรศัพท์อย่างเดียว จะดูสินค้าก็ส่งแคตตาล็อกให้แบบนี้ร่วงได้ง่าย ๆ นี่เป็นเพียงแง่มุมหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องการผลิตสินค้าอีกด้วย วิธีการเดิม ๆ อาจจะใช้เวลานานและได้ผลลัพธ์น้อย ดังนั้นอย่ากลัวที่จะเปลี่ยนแปลงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อจะได้เปลี่ยนคำว่า ‘เจ๊ง’ เป็น ‘เจ๋ง’

4. จำนวนสินค้าในสต็อกเพิ่มสูงขึ้น

การมีสินสินค้าในสต็อกเพิ่มสูงขึ้นไม่ใช่เรื่องดี แต่ส่อปัญหา ธุรกิจได้ เพราะเข้ามาเมื่อไหร่ก็ควรใช้เวลาไม่นานในการกระจายสินค้า ยิ่งนำสินค้าใกล้หมดอายุมาเทขายลดล้างสต็อกยิ่งไม่สมควรอย่างมาก นอกจากจะไม่ได้กำไรแล้วยังสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าชนิดนั้นในแง่ลบอีกด้วย

ฉะนั้นทุกบริษัทควรมีการบริหารจัดการสต็อกสินค้าอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ รู้ว่าช่วงใดควรมีการเพิ่มจำนวน สินค้าตัวใดมีจำนวนมากไปก็ต้องหาวิธีการระบายสินค้าออก ในทางตรงกันข้ามอย่าให้สินค้าหมดไปแบบไม่รู้ตัวเชียวล่ะ จากนั้นสังเกตด้วยว่าการหมุนเวียนสินค้าเป็นอย่างไรบ้าง

5. ทำกำไรได้แต่กระแสเงินสดดำดิ่ง

ข้อต่อมาอาจเกิดได้กับทุกธุรกิจ เมื่อทำกำไรได้แต่กระแสเงินสดติดลบหรือไม่เพิ่มขึ้น โดยอาจมีสาเหตมาจาก การขาดผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการบริการจัดการเงินมาวิเคราะห์และประเมินตัวเลขทางการเงิน ซึ่งผู้ประกอบการอาจไม่พร้อมรับมือกับวิกฤติขาดสภาพคล่องทางการเงินก็ได้

6. ผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจขัดแย้งกัน

ปัญหาภายในที่เป็นรอยรั่วเล็ก ๆ อาจก่อให้เกิดปัญหา ธุรกิจบานปลายได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น

A : ผู้มีอำนาจในการจัดการธุรกิจ บริษัท AA

B : เจ้าของหลักประกัน

เมื่อทั้ง A และ B เกิดความขัดแย้งไม่ลงรอยกันจะนำมาสู่ปัญหาได้ เพราะต่างคนต่างก็คิดว่าไม่ใช่ธุระหรือหลักประกันของตัวเองก็ไม่มีความเดือนร้อนใด ในขณะที่ฝ่าย B ก็แจ้งว่าไม่ได้นำเงินไปใช้ ทำให้ธุรกิจ AA เกิดปัญหาด้านสินเชื่อในที่สุด วิธีการรับมือก็คือให้ผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม

7. ลูกค้าเริ่มออกห่าง

เคยสังเกตกันไหมว่าลูกค้าเก่าที่อุดหนุนบ่อยหายหน้าหายตาไป คุณอาจไม่มีคำตอบแน่นอนหากไร้การจัดเก็บฐานข้อมูลของลูกค้า หรือไม่ได้สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า มี CRM หรือเปล่า ซึ่งส่วนมากธุรกิจขนาดเล็กอาจจะได้ยินหรือเข้าใจอยู่แล้วแต่ไม่ได้ปฏิบัติ แล้วถ้าหากวันหนึ่งลูกค้าเก่าก็หดหาย ลูกค้าใหม่ก็ไม่เข้ามาเลยจะรับมืออย่างไร

บทความล่าสุด