เรื่องปัญหาของทำธุรกิจขาดทุน จะเป็นบริษัทขนาดเล็กแบบ SME หรือบริษัทขนาดใหญ่ก็เป็นกันได้หมด สิ่งที่น่ากลัวก็คือพอเราตกอยู่ในสภาวะที่ขาดทุนเยอะๆ ในบางครั้งเราก็อาจจะไม่สามารถมองเห็นทิศทางการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง หรือที่แย่กว่าก็คือต่อให้เราเห็นวิธีการแก้แล้ว การจัดทำให้ปัญหามันคลี่คลายได้จริงๆมันก็ไม่ได้ทำง่าย
ธุรกิจกำลังขาดทุนอยู่ แก้ยังไงได้บ้าง?
หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าเวลาจะแก้ปัญหาเรื่องกำไรขาดทุน ส่วนมากมักจะเริ่มที่บัญชีกับการเงิน แล้วก็จะไปต่อที่ฝ่ายบริหารกับกลยุทธ์ และในตอนจบก็จะไปอยู่ที่ operations หรือ ฝ่ายปฏิบัติงาน ซึ่งในกรณีนี้เราก็จะมาพูดกันทุกมุมมองเลยนะครับ
แล้วอย่างนึงนะครับ จริงๆแล้ววีดีโอนี้เนี่ยธุรกิจไม่ต้องขาดทุนก็สามารถดูได้ เพราะหัวข้อโดยรวมแล้วก็คือวิธีทำให้ธุรกิจกำไรหรือว่าทำให้กำไรมากขึ้น มันไม่ได้มีธุรกิจไหนสมบูรณ์แบบนะครับเพราะฉะนั้นย่อมที่จะมีจุดที่เราสามารถพัฒนาได้เสมอ
#1 การรวบรวมข้อมูลทุกฝ่าย
หัวข้อแรกอาจจะเป็นหัวข้อที่น่าเบื่อสำหรับหลายๆคน แต่หลายครั้งบริษัทที่มาปรึกษาผมเรื่องกำไรขาดทุน คือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองขาดทุนเพราะส่วนไหน โดยภาพรวมอาจจะมองว่าค่าใช้จ่ายตรงนู้นตรงนี้เยอะเต็มไปหมด หรือว่ารายได้มาจากหลายช่องทาง
แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่าส่วนไหนที่เราต้องพัฒนา
เรื่องบัญชีอาจจะน่าเบื่อไปนิดหน่อย เพราะฉะนั้นจะย่อสั้นๆละกัน กำไรในธุรกิจก็คือยอดขายลบกับต้นทุนค่าใช้จ่าย ธุรกิจรายได้ 1 ล้าน แต่ว่าถ้ามีต้นทุน 9 แสน พอจบเดือนก็จะมีกำไรแค่ 1 แสน
ธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทยสดมากถ้าเป็นค้าขายก็จะมีต้นทุนวัตถุดิบหรือว่าสินค้า ถ้าเป็นการให้บริการก็จะมีต้นทุนทางด้านการจ้างคนงาน ตอนแรกสุดทำเป็นรายการออกมาเลยว่ารายได้ในแต่ละช่วงมีจ่ายค่าอะไรบ้าง ถ้าให้ดีกว่านั้นก็คือพยายามจับรายได้แต่ละอย่างมาเป็นหมวดหมู่คล้ายๆกันจะได้ดูได้ง่าย
#2 มองบัญชีและการเงินหลายรูปแบบ
หัวข้อนี้ก็คือการพยายามปรับตัวเลขได้ค่าใช้จ่ายกับต้นทุน แล้วก็ยอดขายต่างๆ ให้เหมาะกับธุรกิจของเรา
ธุรกิจที่มีการค้าขายก็อาจจะมีต้นทุนทางด้านวัตถุดิบหรือว่าการสต๊อกสินค้า แต่ถ้าสมมุติมีการใช้งบการตลาดด้วย เราก็อาจจะต้องมองขึ้นไปอีกหนึ่งระดับว่าเราจ่ายงบการตลาดไปมากเกินกว่าลูกค้าที่จะหาได้หรือเปล่า สำหรับธุรกิจทั่วไปการจ่ายงบการตลาด 10% กว่าของรายได้ก็ถือว่าไม่ได้มาก
แต่ว่าถ้าเราเจอแบบ 30 ถึง 60% ในส่วนนี้ก็อาจจะต้องลองเปรียบเทียบกับธุรกิจคู่แข่งเจ้าอื่นว่าที่เราใช้ทุกวันนี้มันเยอะเกินไปหรือเปล่า
ธุรกิจที่ให้บริการ อาจจะต้องดูตัวเลขเช่นจำนวนลูกค้าที่รับเข้ามาในแต่ละช่วง เราสามารถเรียกสิ่งนี้ว่า occupancy rate หรือว่าอัตราการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่นเครื่องบินจุคนได้ 200 คน แต่ว่าจริงๆแล้วมีลูกค้าใช้บริการตกครั้งละ 100 คน ก็เท่ากับว่ามีคนใช้งานจริงแค่ 50% อีก 50 เปอร์เซ็นต์คือโอกาสที่เราสามารถทำกำไรเพิ่มเติมได้
ซึ่งวิธีคิดแบบ อัตราการใช้งาน ก็สามารถนำมาใช้ได้กับทั้งร้านอาหาร หรือแม้กระทั่งอย่างคลินิกโรงพยาบาล ร้านอาหารก็อาจจะมี peak time แบบช่วงตอนเย็น หรือคลินิกก็อาจจะต้องมีการเผื่อห้องไว้บ้างไม่สามารถมีประสิทธิภาพได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะว่าต้องเหลือที่ไว้สำหรับคนไข้ฉุกเฉิน
#3 จุดบอดของธุรกิจเรา
จริงๆแล้วแต่ละบริษัทก็มีมุมมองที่ต่างกันว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนมันเกิดประโยชน์หรือว่าไม่เกิดประโยชน์ แต่ในกรณีที่สุดโต่งถ้าเราขาดทุนอยู่ เราก็ไม่ควรซื้ออะไรที่ไม่จำเป็น
ต้นทุนอย่างค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่หรือว่าภาษีเป็นสิ่งที่เราอาจจะตัดได้ยาก แต่ต้นทุนอื่นๆของธุรกิจเช่นของใช้ในออฟฟิศ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ค่าเดินทาง ค่า Entertain หรือแม้แต่พวก Software อุปกรณ์ต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่เราสามารถลดต้นทุนได้ง่าย
เหมือนเดิมนะครับแต่ละบริษัทก็มีโครงสร้างต้นทุนส่วนใหญ่ไม่เท่ากัน ก็ต้องไปลองวิเคราะห์ของบริษัทเราดูอีกทีนึง แต่โดยเฉลี่ยแล้วเนี่ยพวกของอย่างกระดาษหรือว่าอุปกรณ์ออฟฟิศ ก็มักที่จะเป็นประมาณ 70% ของ waste หรือว่าของเสียทั้งหมดในออฟฟิศอยู่แล้ว
หรือว่าในหลายๆกรณีนะครับ สินค้าบางอย่างถ้าไม่จำเป็นเอาไปขายทิ้งไปปล่อยต่อเป็นมือสองก็ได้อยู่นะ กรณีนี้จะเห็นได้บ่อยสำหรับธุรกิจที่แบบซื้ออุปกรณ์ไอทีมาเยอะๆ แล้วใช้ไม่หมด
จริงๆธุรกิจส่วนมากก็คิดได้นะครับว่าอยากจะปล่อยทิ้ง แต่ส่วนมากที่ติดกันก็คือไม่รู้จะไปขายต่อที่ไหนกัน สำหรับตัวผมถ้ามันเป็นแค่ชิ้นสองชิ้น ก็เอาไปปล่อยในร้านไอทีตามห้างดัง หรือถ้ามันส่งง่ายๆก็ไปโพสต์ลง Facebook อะไรพวกนี้ก็ได้ครับ
แล้วก็ขอแถมอีกนิดนึง Stock สินค้าบางอย่างที่อยู่กับธุรกิจเรามานานแล้ วแล้วขายไม่ออก ผมหมายถึงว่าอยู่มา 6 เดือนหรือว่าปีหนึ่ง สินค้าเหล่านี้มีต้นทุนแฝงในการเก็บเยอะนะครับ กินพื้นที่ ต้องมีพนักงานดูแล เก็บไว้นานก็เสียโดนขโมยหรือว่าทรุดโทรม หลายๆธุรกิจเลือกที่จะเอาของมาขายแบบลดล้างสต๊อกก็เพราะเหตุนี้
#4 ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ของบริษัท
ในกรณีที่เราขาดทุนเยอะมากๆ แค่ลดการใช้กระดาษบางทีมันก็ไม่พอ ในหลายๆครั้งก็จะมาถึงเรื่องที่เราทำใจได้ยากอย่างการลดจำนวนคน เพราะจริงๆแล้วค่าจ้างพนักงานส่วนมากก็คือก่อนค่าใช้จ่ายที่ใหญ่มากๆของธุรกิจ
เวลาเราพูดเรื่องพนักงานเนี่ยมันก็จะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเนาะ ถ้าเป็นไปได้พนักงานประจำเราก็อยากจะเก็บไว้ให้นานที่สุด เพราะโดยรวมแล้วกลุ่มคนเหล่านั้นก็คือคนที่ทุ่มเทกับบริษัทเราที่สุดแล้ว ส่วนมากที่จะถูกตัดก่อนก็คือคนที่ถูกว่าจ้างแนว contact ยกตัวอย่างเช่นฟรีแลนซ์
เรื่องการที่จะไปเลือกว่าคนส่วนไหนที่ต้องตัด ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้บริหาร แต่คนที่ตัดสินใจแน่ก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้นะครับว่างานต่อไปของตัวเราเนี่ยมันต้องเยอะขึ้น เพราะไม่มีคนมาทำแล้วงานที่เหลือก็ต้องมาตกอยู่ที่ผู้บริหารนี่แหละที่ต้องทำ
สรุปก็คือลดคนเนี่ย มันทำใจได้ยาก แต่ถ้าต้องทำจริงๆแล้วก็ต้องมานั่งคิดด้วยว่าจะทำยังไงไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหรือว่าประสิทธิภาพการทำงานของบริษัท
#5 2 ตัวเลือกในธุรกิจ ในการทำกำไร
ตอนแรกผมกะจะแบ่งเป็น 2 หัวข้อใหญ่ แต่คิดไปคิดมาเอามารวมกันในทีเดียวเลย
ในหลายๆกรณีนะครับโดยเฉพาะยิ่งธุรกิจขนาดเล็ก ปัญหามาจากการที่เราตั้งราคาถูกเกินไป ส่วนนี้จะเห็นได้บ่อยนะครับในธุรกิจที่มีสินค้าหลายชิ้นมาก จนเจ้าของไม่มีเวลามานั่งวิเคราะห์ชิ้นต่อชิ้นว่าอันไหนขาดทุนอันไหนกำไร
ถึงแม้ว่าลูกค้าจะบอกว่าต้องการของถูก แต่จริงๆแล้วส่วนมากลูกค้าต้องการของที่คุณภาพคู่ควรกับราคาสินค้า
สำหรับหัวข้อนี้ผมมีสอนเรื่องการตั้งราคาไว้หลายวีดีโอแล้วเหมือนกัน ไปลองศึกษาด้านนี้ก่อนก็ได้นะครับ แต่ที่อยากให้ ลองก็คือศึกษาคู่แข่งหรือว่าคนอื่นเขาขายประมาณเท่าไหร่ และ 2 ก็คือถ้าเรารอปรับราคาขึ้นมานิดนึงลูกค้าจะตอบรับยังไงบ้าง
อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจเวลาธุรกิจขาดทุนก็คือการทำให้ทุกอย่างมันเรียบง่ายมากขึ้น โดยรวมแล้วมันหมายถึงว่าเราต้องลดบริการบางอย่างออกไป
หัวข้อเนี้ยธุรกิจซื้อมาขายไปจะพูดได้ง่ายกว่าเพราะว่าเราจะดูได้ชัดเจนว่าของไหนมันค้างสต๊อกขายไม่ออกมานาน แต่ธุรกิจที่ให้บริการ บางทีเราพูดยากว่ะบริการนี้ลูกค้าชอบหรือไม่ชอบ หลายครั้งต้องอาศัยการสังเกตลูกค้าเอา
การลดจำนวนสินค้าที่ขายหรือบริการที่เราให้ ไม่ได้เป็นวิธีระยะสั้นที่ไปทำให้เรากำไรวันต่อมาเลยนะครับ ส่วนมากแล้วมันคือการปรับอย่างต่อเนื่อง อันที่ดีก็ทำต่อ อันที่ไม่ดีก็ควรเลือกทำไปเรื่อย ระยะยาวกำไรเราจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ
#6 พยายามอย่ากู้เงินเยอะเกินไป
หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่อธิบายได้ยากมาก ตามหลักการลงทุนก็คือธุรกิจที่ขาดทุนแล้วก็คือธุรกิจที่มีความเสี่ยง การที่เราเอาเงินมาลงเพิ่มก็เท่ากับว่าเรากำลังเสี่ยงกับสิ่งเหล่านี้มากเป็นพิเศษ มากกว่าการทำธุรกิจใหม่ด้วยซ้ำ
หลายๆครั้งการเอาเงินมาโปะเพิ่มมันเป็นแค่การทำให้ปัญหามันยืดไปในระยะยาว ถ้าเราไม่ได้เข้าใจว่าปัญหามาจากอะไรแล้วเราไม่มี Action Plan ในการแก้ไข การลงเงินเพิ่มจะทำให้เราเกิดหนี้มากขึ้น สุดท้ายก็จะทำให้ภาระของบริษัทมีมากขึ้น ตัวที่ปัญหาเดิมก็ไม่ได้รับการแก้ไข
ผมคิดว่าการที่เจ้าของน่ะรู้สึกผูกพันกับธุรกิจ มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็คือเราจะมีแรงในการสู้แก้ไขปัญหาเยอะกว่าคนอื่น แต่ว่าในมุมมองตรงกันข้ามมันก็อาจจะทำให้เรามองข้ามปัญหาเล็กๆน้อยๆ เพราะเราเอาธุรกิจมาผูกกับ ego เรามากเกินไป
ในหัวข้อนี้น่าจะว่าช่องของผมไม่ได้เป็นช่องเรื่องการลงทุนนะครับ ผมจะไม่ขอพูดเยอะ แต่ว่าถ้าธุรกิจเรากำลังขาดทุนอยู่ ผมอยากจะให้ทุกคนคิดให้เยอะมากๆว่าเงินที่เราจะได้มาใหม่เนี่ยเราจะเอาไปลงทุนเพื่อแก้ปัญหาส่วนไหน และเรามั่นใจแค่ไหนว่าปัญหานี้มันจะแก้ได้จริง