สำหรับน้อง ๆ นักเรียนที่กำลังเล็งสาขาบัญชีอยู่เร่มาทางนี้ได้เลย วันนี้เรามีคำตอบให้สำหรับใครที่สงสัยว่าเรียนบัญชี เรียนอะไรบ้าง ควรเรียนหรือไม่ในยุคนี้และจบมาตำแหน่งงานจะเหมาะกับตัวเองหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น ปวส.หรือระดับปริญญาตรีมาดูกันก่อนว่าเส้นทางนี้ใช่จริงหรือไม่ หากพร้อมแล้วมาเช็กกันเลย
เรียนบัญชี เรียนอะไรบ้างต่อสายไหน เตรียมตัวอย่างไรดี
ก่อนจะไปเรียนรู้ว่าเรียนบัญชี เรียนอะไรบ้าง เราจะพามาไขข้อข้องใจสำหรับใครที่กำลังสับสนกับสายที่ต้องเรียนและวุฒิระดับต่าง ๆ มาทำความเข้าใจง่าย ๆ เบื้องต้นกันก่อน สำหรับผู้ที่ต้องการต่อสายอาชีพ (อาชีวศึกษา) และต่อมหาวิทยาลัย ทั้งสองสายมีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้
สำหรับการต่อวุฒิ ปวส. จำเป็นจะต้องเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเรียนจบปวช.ในสาขาบัญชี 3 ปีก่อนจึงจะสามารถลงเรียนต่อได้ หากวุฒิ ปวส.ต้องการเรียนต่อระดับปริญญาตรีต้องเรียนให้จบ 2 ปีตามกำหนดก่อนจึงจะสามารถเข้าเรียนต่อได้ หรือใครที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสายใด ๆ ก็สามารถสอบเข้าสาขาบัญชีได้ทั้งหมด
เรียนบัญชี เรียนอะไรบ้างเมื่อเข้าศึกษาในระดับปวส.
สำหรับผู้ที่เลือกเรียนต่อในวุฒิการศึกษาระดับ ปวส. มาดูกันเลยว่าบัญชีเรียนอะไรบ้าง ซึ่งแบ่งออกได้ 5 สาระสำคัญหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1. งบการเงินของสถานประกอบการ
เรื่องแรกการทำงบการเงิน หรือเรียกง่าย ๆ ว่ารายงานด้านการเงินและบัญชีที่มีการแสดงผลประกอบการในระยะเวลาแต่ละรอบบัญชีนั่นเอง ซึ่งประกอบด้วย 3 หัวใจหลัก คือ ทรัพย์สินหมุนเวียน/ไม่หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน/ไม่หมุนเวียนและส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นต้น
2. การตรวจสอบบัญชีภายใน-ภายนอกองค์กร
การตรวจสอบบัญชีในการดำเนินกิจการจะสามารถตรวจเช็กงบประมาณเพื่อยื่นภาษีต่อสรรพากรในลำดับต่อไป มีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ธุรกิจและอุดรอยรั่วเรื่องความผิดพลาดต่าง ๆ
3. การทำบัญชีภาษีบุคคลธรรมดา หรือภาษีอากร
การเสียภาษีบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจำเป็นต้องแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายตามกฎหมาย
4. การวิเคราะห์งบการเงิน
ข้อนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะงบการเงินจะแสดงข้อมูลผลการดำเนินกิจการในอดีต ช่วยให้นำข้อมูลไปใช้ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ เพื่อคาดการณ์ผลการดำเนินงานและมูลค่ากิจการ
5. เรียนรู้วิธีใช้โปรแกรมสำหรับงานบัญชี
แน่นอนว่าปัจจุบันมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้นักเดิมพันมากมาย ช่วยร่นระยะเวลาในการทำงานได้ไม่น้อย
จะเห็นได้ว่าบัญชีเรียนอะไรในช่วงปวส. ซึ่งจุดเด่นคือความรู้เรื่องการใช้สารสนเทศในการดำเนินงาน มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์แปลข้อมูลด้านบัญชีเพื่อให้ทางเลือกแก่ผู้บริหารถูกต้อง
เรียนบัญชี เรียนอะไรบ้างในระดับปริญญาตรี มาไขคำตอบกัน
สำหรับนักเรียนหรือผู้ที่สำเร็จหลักสูตรปวส.ในสาขาบัญชีและต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีจะมีเนื้อหาเพิ่มเติมอีกค่อนข้างกว้างและครอบคลุมเรื่องเศรษฐศาสตร์ สามารถแบ่งออกเป็น 7 หัวข้อหลัก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. เศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค
สำหรับเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ แขนงหนึ่งที่มีการเรียนรู้โครงสร้าง พฤติกรรมและเศรษฐกิจในระดับโลก ภูมิภาคและประเทศ เช่น GDP, รายได้ประชาชาติ, อัตราการว่างงาน, เงินเฟ้อ, การค้าระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนในระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น
2. เศรษฐศาสตร์ระดับจุลภาค
ระดับจุลภาคจะเป็นระดับที่เล็กลงมา ซึ่งหากถามบัญชีเรียนอะไรบ้าง Pantip จะต้องมีข้อ 1. และ 2. อย่างแน่นอน โดยระดับนี้จะศึกษาการตัดสินใจในระดับองค์กรหรือบุคคล และกลไกในการทำงานของตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา มักมีการคำนวณหาค่าเหมาะที่สุดทางคณิตศาสตร์อีกด้วย
3. การเงินการบัญชี
หัวข้อต่อมาเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและจำแนกข้อมูลทางการเงินในอดีต เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจว่าแผน ควบคุมการดำเนินกิจการ
4. วิจัยทางสถิติ
แค่เห็นชื่อหลายคนก็คงขนลุกกันแล้วกับวิจัย แต่เมื่อได้ลงมือปฏิบัติจะสามารถใช้ประโยชน์ในอนาคตได้อย่างแน่นอน เพราะข้อมูลสถิติเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งชี้ได้หลายอย่าง
5. ร่วมลงทุน
เรียนรู้การร่วมลงทุนหรือการระดมเงินจากนักลงทุนหลายคนมาใช้เป็นเงินทุนก้อนใหญ่ ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้จดทะเบียนและนำเงินเหล่านี้ไปใช้ตามนโยบายที่ตกลงกัน
6. ข้อกำหนดทางกฎหมาย
อีกหนึ่งหัวข้อที่สำคัญมากสำหรับนักบัญชีคือเรื่องกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินงานหรือกิจการเป็นไปอย่างถูกต้องและไม่ทำผิดระเบียบที่อาจส่งผลให้ถูกค่าปรับมหาศาล
7. พฤติกรรมทางเศรษศาสตร์และการเงิน
วิชานี้ก็น่าสนใจไม่น้อยเพราะนักศึกษาจะได้เรียนรู้ผลของปัจจัยทางสังคม จิตวิทยา ประชาชน รวมถึงอารมณ์ในการตัดสินใจสำหรับบุคคลและองค์กร
เรียนบัญชี อาชีพใดบ้างที่รองรับในปัจจุบัน?
มาดูกันดีกว่าว่าปลายทางของสาขาบัญชีจะเหมาะกับคุณจริง ๆ หรือไม่ เราขอยกตัวอย่างอาชีพยอดนิยมดังต่อไปนี้
- นักบัญชี (Accountant)
- ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี (Tax Specialist)
- ที่ปรึกษาทางด้านบัญชี / นักตรวจสอบบัญชี
- นักการตลาด / นักลงทุน
- ผู้เขียนโปรแกรมหรือวางระบบทางบัญชี
- ครู / วิทยากร
- ข้าราชการ : นักบัญชี, ผู้อำนวยการบัญชี ฯลฯ
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับการคลายข้อสงสัยว่าเรียนบัญชี เรียนอะไรบ้าง, เรียนบัญชี ต้องเก่งอะไรและอาชีพที่รองรับในปัจจุบันมีอะไรบ้าง คราวนี้ทุกคนคงได้เห็นภาพชัดเจนแล้วว่าตัวเองชื่นชอบหรือเหมาะสมกับสายบัญชีหรือไม่ หากถูกสเป็กก็เดินหน้าลุยต่อกันได้เลย