ของที่เราเห็นบ่อยๆในช่วงนี้นะครับก็คือเรื่องของค่าเงินเฟ้อและของราคาแพง ยกตัวอย่างง่ายๆก็คืออย่าง ก๋วยเตี๋ยวหรือข้าวราดแกง ที่เมื่อก่อนผมเคยซื้อได้ในราคา 30 บาท 40 บาท สมัยนี้ขายกัน 60-70 บาท คือ 10กว่าปี ของแพงขึ้น 50% มันเกิดอะไรขึ้นในบทความนี้อยากจะมาลองวิเคราะห์ให้ทุกคนดูนะครับ
หนึ่งในสิ่งที่คนในแวดวงวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ชอบพูดถึงการก็คือการที่เรานำเทคโนโลยีมาทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง เราใช้พนักงานน้อยลง มีข้อผิดพลาดน้อยลง บริษัทก็ควรจะสามารถผลิตสินค้าได้ในต้นทุนที่น้อยลง
แต่ราคาของในยุคนี้ก็ไม่ได้ถูกลงตามที่เทคโนโลยีสัญญาไว้เลย สุดท้ายก็เลยกลับมาที่ว่าว่าทฤษฎีสมคบคิดที่บอกว่านักธุรกิจและคนรวยต่างๆจงใจตั้งราคาของให้แพงเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้นมันจริงหรือเปล่า หรือมันมีอะไรที่มากกว่านั้นที่ทำให้ของราคาแพงขึ้นๆ ทั้งๆที่เทคโนโลยีต่างๆนั้นควรจะทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น
ทำไมเทคโนโลยีไม่ได้ทำให้ของถูกลงเลย
ประมาณ 100 กว่าปีที่แล้ว บริษัท Ford ผลิตรถยนต์ที่เรียกว่า Ford Model T ออกมา ในโรงเรียนวิศวะสาขาอุตสาหกรรมจะชอบยกรถยนต์คันนี้ออกมาเป็นตัวอย่าง เพราะเป็นหนึ่งในตัวอย่างแรกของผลิตภัณฑ์รถยนต์ที่สามารถผลิตแบบในจำนวนมากๆได้หรือว่า Mass Production ด้วยระบบโรงงาน
ราคาสินค้าตัวนี้อยู่ที่ 850 USD หรือ 26,000 บาทถ้าจะให้ประเมินราคาเงินเฟ้อในยุคปัจจุบันผ่านมา 100 ปี ก็น่าจะอยู่ประมาณ 6-7 แสนบาทประเทศไทย เขาบอกว่าคนงานทั่วไปในยุคนั้น สามารถซื้อรถยนต์คันนี้ได้ด้วยเงินเดือนประมาณทำงานเต็มๆ 4-5 เดือน
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบการทำธุรกิจก็คือ… จะผลิตรถยนต์ จะเลี้ยงหมู หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ทำไมยิ่งเราพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น แทนที่เราจะผลิตของได้ในต้นทุนที่ถูกลงเพื่อให้ราคามันถูกลง มันกลับกลายเป็นว่าจะรถยนต์หรือว่าจะ iPhone รุ่นต่อมาก็ยิ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ
หรือว่าคนรวยเอาเปรียบคนจน?
คำถามแรกที่เราถามกัน คือ เจ้าสัวและคนรวยรวมกันเอาเปรียบเราหรือเปล่า คือในมุมมองเศรษฐศาสตร์ หรือ economics นะครับ ถ้ามันเป็นตลาดที่เป็นการแข่งขันที่สมบูรณ์ เขาเรียกกันว่า Perfect competition ร้านค้าต่างๆก็จะตัดราคากันเอง จนสุดท้ายราคาทุกอย่างก็จะเท่าทุน
ยกตัวอย่างเช่นร้านที่ไปขายของใน shopee lazada เค้าขายของหน้าตาเหมือนกันทำทุกอย่างเหมือนกันหมดเลย ทุกอย่างก็เลยต้องตัดสินกันด้วยราคา
แต่สำหรับธุรกิจสเกลใหญ่ ที่มีผู้เล่นแบบนับมือได้ครับ 5 คน 10 คน ถ้าธุรกิจแต่ละเจ้าเนี่ยมีจุดยืนของตัวเอง เขาก็ไม่ต้องตัดราคากันขนาดนั้น คืออาจจะมีการคำนึงราคาในการขายของบ้าง แต่ก็ไม่เคยอยู่ในจุดที่ว่าต้องขายของราคาเท่าทุน ไปดูงบการเงินกำไรขาดทุนบริษัทพวกนี้ก็ได้ครับ บางเจ้าก็กำไร 5% หรือคนที่เก่งหน่อยก็กำไร 20-30%
มันก็เลยกลับกลายเป็นคำถามว่า บริษัทพวกนี้จงใจขายหมูในราคาแพง ขายรถในราคาแพง ขายมือถือในราคาแพง เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้นหรือเปล่า ซึ่งคำตอบก็คือ ใช่ในกรณีส่วนมาก แต่ไม่ใช่อย่างที่พวกเราทุกคนคิด
การแข่งขันระหว่างเจ้าสัว
ลองคิดดูนะครับถ้าเราเป็นผู้บริหารบริษัทใหญ่ ถึงแม้ว่าเราจะมั่นใจว่าเราแบบมีรายได้แบบพันล้านหมื่นล้าน แต่มันก็มีคู่แข่งเจ้าอื่นอยู่ดี และคู่แข่งคู่นั้นน่ะเขาก็ไม่ได้ใจดีกับเรา นอกจากนั้นแล้ว ตัวอย่างในโลกธุรกิจก็มีเต็มไปหมดใช่ไหมครับว่าบริษัทที่ประสบความสำเร็จเนี่ย ถ้าไม่ตั้งใจทำงานจริง ก็มีโอกาสในการขาดทุนจากการผลิตสินค้าใหม่หรือว่าสินค้าบางตัวที่ขายไม่ได้
ยกตัวอย่างเช่นบริษัทดิสนีย์ ถือว่าเป็นเจ้าตลาดในอุตสาหกรรมการผลิตหนัง ทุกปีน่ะต้องมีหนังที่ทำเงินติดท็อปชาร์ต 1,000 ล้าน US Dollar แต่ถ้าถามว่าดิสนี่มีทำหนังแย่ๆ ทีขาดทึนออแมาไหม ผมคิดว่ามีทุกปี บางเรื่องขาดทุนหนักจนเราไม่รูํจักหรือไม่เคยได้ยินเลยด้วยซ้ำ เพราะไม่สามารถตีตลาดได้
ในมุมมองบริษัทยักษ์ใหญ่ เพื่อไม่ให้ตัวเองขาดทุนหรือเสียลูกค้าไปให้กับคู่แข่ง ใช่ครับการขายของได้กำไรเยอะๆเป็นเรื่องที่ดี แต่พื้นฐานแล้วก็ต้องมานั่งตั้งคำถามว่าถ้าทำออกมา ลูกค้าจะซื้อหรือเปล่า น่าจะเป็นคำถามหลักของเขา
ระบบการตัดราคากันเอง
อันนี้แค่มองเรื่องการพัฒนาสินค้าจากรุ่นแรกไปยังรุ่นต่อมาให้ดีขึ้นนะครับ แบบรถยนต์ปี 2020 ไป 2022 หรือ iphone 10 ไป iphone 14-15 อะไรแบบนี้ ไม่ได้รวมถึงการพัฒนาแบบก้าวกระโดด เช่นจากมือถือสมัยเก่าไปเป็น Smartphone หรือจากขี่ม้าไปเป็นสร้างรถยนต์นะ
ซึ่งเวลาธุรกิจเขาชนกัน basic สุดก็คือถูกกว่าเร็วกว่าดีกว่าใช่ไหมครับ แต่ถ้าทำแบบนี้ก็เท่ากับว่าเราไปท้าชนกับคู่แข่งโดยตรง แล้วก็มีโอกาสที่จะโดนตัดราคากำไรน้อย เจ้าใหญ่ส่วนมาก ถ้ามันไม่ใช่ตลาดหลักของเขาจริงๆหรือว่าตลาดใหญ่จริงๆ ผมคิดว่าบริษัทส่วนมากก็อยากจะเลี่ยงการสู้ตรงๆ
การต่อสู้ที่ดีกว่า ที่เราเห็นกันก็คือการทำให้มีจุดยืนหรือว่ามีตลาดที่ชัดเจนเป็นของตัวเอง จะเรียกว่าการทำให้ดูแตกต่างก็ได้ในฐานะคนทั่วไป แต่มันก็จะละเอียดอ่อนมากกว่านั้นใช่ไหมครับเพราะว่ามันต้องแตกต่างและมีคนอยากได้ด้วย แล้วก็ต้องขายให้ได้เป็นยอดขายหลักร้อยล้านพันล้านด้วย
ซึ่งในความแตกต่างนั่นแหละครับ มันคือจุดเริ่มต้นและจุดจบของทุกอย่าง เพราะถ้าประชากรทุกคนในประเทศไม่ได้ต้องการให้แตกต่างตั้งแต่ตอนแรก คนก็จะกินแค่น้ำเปล่าขวดละ 10 บาท สุดท้ายความต้องการของน้ำเปล่าก็จะเยอะมากจนทำให้เกิดการตัดราคา แต่พอคนต้องการที่จะกินน้ำชาเขียว น้ำอัดลม หรือชานมไข่มุก
ผู้บริโภคต้องการของที่ดีขึ้น (และแพงขึ้น)
ความต้องการของคนแตกต่าง จนทำให้เกิดโอกาสในการขายของที่มากขึ้น ซึ่งก็เลยทำให้สินค้าหลายๆอย่างดูเหมือนราคาแพงขึ้น
อย่างในมุมมองรถยนต์ ก็เลยกลายเป็น ถึงแม้เราจะผลิต Ford Model T ในเมื่อก่อนขายกันสองหมื่นบาท ได้ในราคาหมื่นบาทในยุคนี้ แต่ถ้าทำออกมาแล้วมันขายไม่ได้ เพราะรถรุ่นนี้มันไม่เร็ว ไม่แรง ไม่ประหยัดพลังงาน ไม่มีระบบลำโพงฟังเพลงบลูทูธ คนก็ไม่ซิ้ออยู่ดี
มันก็เลยกลายเป็นว่า มันมีเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุน ให้ผลิตรถได้จำนวนมากขึ้นในต้นทุนที่ถูกลง อยู่ 1 ขา แต่ว่ามันก็มีเทคโนโลยีอยู่อีก 1 ขา ที่คอยพัฒนาของให้มันมีประสิทธิภาพมากขึ้น กล้องถ่ายรูปแล้วชัดขึ้น รถยนต์ดีขึ้น ซึ่งไอ้ตัวนี้แหละครับที่ทำให้ของมันราคาแพงขึ้น แต่มันก็เป็นเพราะว่าผู้บริโภค อยากจะซื้อของราคาแพงขึ้นด้วย เพราะถ้าเราผลิตแต่ของตัวเดิมโดยไม่มีลูกเล่นอะไรใหม่ๆเลยมันขายยาก
ซึ่งแน่นอนว่ามันก็มีตัวแปรอยู่หลายอย่างที่คอยกระทบเรื่องพวกนี้ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทบางอย่าง บิ้วราคาสินค้ามาแพง ซื้อจริงๆแล้วสินค้ามันก็ไม่ได้ดีขนาดนั้น ซึ่งมันก็จะถูกถกเถียงด้วยว่า มันเป็นตลาดเสรีเราตั้งราคาเท่าไหร่ก็ได้ สุดท้ายแล้วผู้บริโภคก็ควรจะเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจและใช้วิจารณญาณในการซื้อ
และ ในมุมมองหลายๆคนก็เลยกลายเป็นว่าถ้าเราจะทำอย่างนี้ได้เนี่ย กฎหมายและภาครัฐก็ต้องมีนโยบายเพื่อป้องกันผู้บริโภคในกรณีที่สุดโต่ง เช่นแบบโกหกขายของเกินจริง หรือ มีวิธีช่วยเหลือประชาชนบางกลุ่มที่ไม่สามารถซื้อของหรือใช้ชีวิตกับเทคโนโลยีที่มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆได้ ด้วยการบังคับให้หลายๆบริษัทขายของที่จำเป็นต้องการดำเนินชีวิต ในราคาที่ต่ำ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นะเขาจะเรียกสิ่งนี้ว่า นโยบายกำหนดราคาขั้นต่ำกับราคาขั้นสูง