บริษัทที่ขาดทุนปีละพันล้าน ทำอะไรอยู่?

บริษัทที่ขาดทุนปีละพันล้าน ทำอะไรอยู่?

ทำธุรกิจขาดทุนมาเป็น 10 ปี ทำไปเพื่ออะไร ในบทความนี้เรามาพูดคุยกันครับ

รู้หรือเปล่าครับว่าบริษัทหลายๆแห่งเรารู้จักกันดีถึงแม้จะมียอดขายเยอะมากหลักพันล้านหมื่นล้าน แต่จริงๆแล้วเขาขาดทุนทุกปีปีละหลายพันล้านเช่นเดียวกัน 

บทความนี้ผมอยากให้ทุกคนมองว่าเป็น ‘กรณีศึกษา’ มากกว่าเป็น กฎตายตัวนะครับ อาจจะมีการหยิบยกบริษัทโน้นนี้มาพูดถึง แล้วก็มีการพูดถึงตัวเลขกำไรขาดทุน แต่ในโลกธุรกิจมันไม่ได้มีอะไรตายตัวนะครับมันไม่ได้แปลว่าคนอื่นเขาทำแบบนี้ แปลว่าเราต้องทำตาม

บริษัทออนไลน์ส่วนมาก ‘ขาดทุน’

ผมเชื่อว่าหลายๆคนถ้าได้ติดตามข่าวสายเทคโนโลยีบ้าง ก็คงเห็นว่าพวกบริษัท Food Delivery หรือบริษัท Ecommerce Platform เจ้าใหญ่ เค้าขาดทุนกันเยอะมาก ภายนอกมีการทำข่าว PR และจัดโปรเรียกลูกค้าเรื่อยๆ แต่ข้างในผู้บริหารเค้าตัดสินใจยังไงอยู่ ถ้าขาดทุนแล้วไม่ปิดบริษัทไปเลยหรอ 

จริงๆเรื่องนี้อธิบายก็คงยาวมาก ผมว่าเรามาเริ่มจากต้นตอของการบริหารงานก่อนละกัน เงินลงทุนที่เขาเอามาใช้เพื่อทำการขาดทุน มันมาจากไหน เพราะว่าวิสัยทัศน์ของคนให้เงินลงทุน จะเรียกว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็ได้ สำคัญมากสำหรับธุรกิจแนวนี้

บริษัทที่ขาดทุนเยอะๆทุกปี ถ้าจะให้เขาสามารถไปต่อได้นะครับ ก็ต้องมีการระดมทุนเรื่อยๆ ธุรกิจทั่วไปอยากได้เงินก็ต้องไปกู้ธนาคาร แต่การกู้ธนาคารมันก็ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ย ผ่อนจ่ายทุกเดือน มันไม่ค่อยตอบโจทย์ธุรกิจแนวนี้เท่าไหร่ ปกติแล้วเขาก็จะวิ่งเข้าหาบริษัทการเงินขนาดใหญ่หรือว่าเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อขอเงินลงทุน

ชื่อทางเทคนิคเขาจะเรียกว่า Venture Capital กับ Angel Investor คำศัพท์เหล่านี้ถ้าเราอยู่ในวงการ startup เราคงได้ยินบ่อย แต่เข้าใจง่ายๆก็คือบุคคลหรือบริษัทแบบนี้ เค้าจะชอบลงทุนในบริษัทที่มีโอกาสในการเติบโตสูง เราลงไป 20 บริษัท ถ้ามันมีบริษัทใดกลายเป็น Facebook กลายเป็น Google ได้ในอนาคต เราก็รวยมหาศาล

แน่นอน 1 บริษัทประสบความสำเร็จก็ดี แต่เราก็ต้องยอมรับให้ได้ถ้าอีก 19 บริษัทมันไม่ประสบความสำเร็จ

แต่ในโลกธุรกิจจริงๆ เงินลงทุนรวมกันก็หลายพันล้าน แน่นอนมันก็มีความกดดันสูง แถมธุรกิจก็ต้องมีคู่แข่งซึ่งคู่แข่งก็มีเงินลงทุนมากไม่แพ้กัน ทีนี้ธุรกิจ startup ต้องโตเร็ว แต่จะโตเร็วยังไงถ้ามีคู่แข่งที้ขนาดใกล้กัน 

คำตอบง่ายๆครับก็คืออัดงบการตลาดเพื่อเรียกลูกค้า 

ทำการตลาดจนขาดทุน…ดีจริงมั้ย

คำว่างบการตลาดจะพูดแนวกว้างนะครับ เพราะว่ารวมถึงการทำโฆษณา จ้างพรีเซ็นเตอร์ หรือในหลายๆกรณีก็คือแจกคูปองลดราคา และคุมราคาให้ไม่สูงเกินคู่แข่งเพื่อที่จะดึงดูดลูกค้า 

จริงๆแล้วหัวใจหลักอยู่ที่โครงสร้างต้นทุน ซึ่งตัวผมน่ะก็ได้เคยทำแนว tech แนว startup มาบ้าง อันนี้ถ้าใครเห็นต่างคอมเม้นต์บอกได้ แต่จากประสบการณ์ผม ธุรกิจแนวนี้จะมีอยู่ประมาณ 3 เฟสด้วยกัน 

เฟสแรกนะครับก็คือธุรกิจเปิดใหม่จริงๆแบบอายุ 1-2 ปี เฟสนี้ในหลายๆครั้งเราจะเห็นได้วัดธุรกิจยอมขายขาดทุนตั้งแต่เบื้องต้นเลย ขายของได้เงิน 100 บาท ต้นทุนในการขายใช้ไปแล้ว 110 บาท ยังไม่ทันหักค่าจ้างพนักงาน ค่าการตลาดก็ขาดทุนแล้ว 

เป้าหมายของการทำแบบนี้คือเนื่องจากว่าเป็นธุรกิจใหม่ เราต้องพัฒนาโครงสร้างต้นทุนด้วยซึ่งพอระบบหลังบ้านเราเป็นไอทีหรือว่าซอฟต์แวร์ส่วนมากมันก็ยังทำได้อยู่ แต่การทำธุรกิจแบบนี้คนทำธุรกิจทั่วไปที่ไม่ใช่แนว startup คือจะรับไม่ได้เลย ส่วนตัวผมคิดว่าขึ้นอยู่กับคนบริหารแล้วก็ผู้ถือหุ้นมากกว่าว่ายอมรับได้หรือเปล่า 

พอผ่านช่วงธุรกิจใหม่มาแล้ว ที่นี้เราอาจจะทำกำไรเบื้องต้นได้บ้างแล้ว ขายของราคา 100 ต้นทุนเราจะอยู่ 90 บาท แต่ว่าโมเดลธุรกิจเราถูกพิสูจน์แล้วว่ามันทำได้จริง นักลงทุนก็จะเริ่มกดดันแล้วว่าต้องรีบให้เร็วที่สุด หนึ่งเพราะว่าบริษัทที่โตเร็วมันจะมีมูลค่ามากขึ้น เค้าเรียก business valuation ทำให้หุ้นที่นักลงทุนถืออยู่มันมีมูลค่ามากขึ้น 

แต่อีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือคู่แข่ง เพราะว่าถ้าเราขายดีอยู่คนเดียวยังไงก็ต้องมีคู่แข่ง ถ้าเรารู้ว่าจะมีคู่แข่งเราก็ควรจะรีบขยายให้มันใหญ่ที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองในอนาคต

เพราะฉะนั้นในช่วงนี้ ธุรกิจก็จะทำการหักเงินเพื่อทำการตลาดและการขยายกิจการ โชคดีหน่อยก็คือทำเพื่อป้องกันคู่แข่ง โชคร้ายหน่อยก็คือคู่แข่งเข้ามาแล้ว ต้องทำการตลาดเพื่อแย่งชิงลูกค้าซึ่งเขาเปลี่ยนแอฟกันง่ายมากเลยนะ ขอแค่เจ้าไหนถูกกว่าแค่นั้นแหละ

และต่อมาก็คือเฟสที่ 3  ซึ่งเราจะเห็นได้เยอะมากในธุรกิจยอดพันล้านหมื่นล้านทุกวันนี้ที่ยังขาดทุนอยู่ คือพวก App Food Delivery หรือขายของออนไลน์นั่นเหล่ะครับ

สงคราวการตลาด ตัดราคา

ส่วนนี้ผมไม่ได้เป็นผู้บริหารของบริษัทไหนนะ แต่ผมคิดว่าทุกวันนี้กำไรต่อการขาย 1 ครั้งของเขา…ที่ผมบอกว่าขายของ 100 บาทต้นทุนสินค้า 90 บาท ส่วนกำไรน่าจะโอเคแล้ว (พอไปไหว) เพียงแต่ว่าคู่แข่งของเขาแต่ละคนใหญ่มาก จนเขาไม่สามารถลดงบการตลาด และ ไม่สามารถเลือกที่จะอยู่เฉยๆแล้วไม่ลงทุนต่อไปได้ เพราะอยู่เฉยๆเท่ากับรออีกฝ่ายหนึ่งแซง

ก็เลยกลายเป็นว่าธุรกิจก็ยังจำเป็นที่จะต้องอัดงบต่อไปเรื่อยๆ เบื้องต้นคืนทำการตลาด และในภาพรวมก็ยังมีเรื่องของการขยายธุรกิจ เจ้านู้นเดี๋ยวก็ทำระบบขนส่งของตัวเอง เจ้านี้ก็มีระบบชำระเงิน เจ้านั้นก็ทำบริการท่องเที่ยว 

เป้าหมายก็มีอยู่ 2-3 อย่าง 1 คือรอให้อีกฝ่ายเงินหมดก่อน อีกฝ่ายต้องปิดตัวลงไปเราก็ค่อยปรับราคาขึ้นมาให้เราทำกำไรได้ 

อย่างที่สองคือรอนักลงทุนเจ้าใหญ่ เทเงินตู้มเดียวซื้อบริษัทคู่แข่ง แต่เรื่องการซื้อหรือว่าการรวมบริษัทมันเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อน มีเงินอย่างเดียวทำไม่ได้ ต้องเจรจาต่อรองเก่งด้วย

และอย่างสุดท้ายก็คือ การสร้างอะไรที่มันอาจจะทำกำไรให้กับเรามากกว่าสิ่งที่เรามีอยู่ปัจจุบัน สุดท้ายแล้วธุรกิจที่แข่งขันสูงกำไรต่อการขายมันก็น้อยอยู่แล้วครับ แต่ว่าถ้าเรามีธุรกิจอื่นประกอบควบคู่ไปด้วย การที่จะทำกำไรมันก็ทำได้ง่ายกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือธุรกิจของพวกเจ้าสัวใหญ่ๆในประเทศไทยใช่ไหมครับ ธุรกิจเดียวบางอันจะขาดทุน บางอันจะกำไร 3-5%  แต่มันก็มี synergy หรือการทำงานร่วมกับบริษัทอื่นๆได้ด้วย

จริงๆ ตัวผมเนี่ยมาจากสายวิศวะ ซึ่งในสายนี้เราจะเห็นธุรกิจสเกลใหญ่ๆเยอะมาก ไม่ได้ต้องเป็นฝ่ายไอทีอย่างเดียวนะครับ แต่พวกแบบขุดเหมือง ขุดน้ำมัน หรือแม้แต่โรงงานการผลิตขนาดใหญ่ มุมมองธุรกิจต้องลงทุนระยะยาวมากๆ ผมคิดว่ามันเข้าใจยากมากๆเลยนะ มองแบบนักลงทุนก็ไม่ได้ มองแบบธุรกิจ sme ก็ไม่ได้

จริงๆทุกวันนี้ตัวผมเองก็ยังไม่ได้เข้าใจ 100%

Tiger

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด