สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังวางแผนการตลาดคงเคยได้ยิน ‘Ocean Strategies’ กันมาบ้างใช่หรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับน่านน้ำที่มีด้วยกัน 5 สี ทั้ง Blue Ocean Strategy, Red, White, Black, Red และ Green Ocean
โดยประเภทนี้ได้รับความสนใจมากที่สุดในนาทีนี้ต้องยกให้ ‘ Blue & Red Oceans’ วันนี้เราจะพาทุกท่านมาไขข้อสงสัยกันว่ากลยุทธ์น่านน้ำสีฟ้านั้นคืออะไร มีหลักการอย่างไรบ้างและธุรกิจของคุณเหมาะจะลงเรือล่องน่านน้ำนี้หรือไม่ มาค้นหาคำตอบไปพร้อมกันเลย
‘Blue Ocean Strategy’ คืออะไร?
Blue Ocean Strategy (กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน) คือ กลยุทธ์ทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีคู่แข่งน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย แต่มีความต้องการสินค้า/บริการในตลาดอยู่ ใครที่จะก้าวเข้ามาในน่านน้ำนี้จำเป็นต้องต้อนลูกค้าที่มีความต้องการนั้นมาให้ได้มากที่สุด
ความน่าสนใจของกลยุทธ์น่านน้ำสีฟ้าที่น่าจับตามอง
หากพูดถึงความน่าสนใจของกลยุทธ์ประเภท Blue Ocean จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับ Red Ocean หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่าตลาดน่านน้ำสีเลือดก็ว่าได้เพราะเป็นขั้วตรงข้ามที่มีการแข่งขันสูงมากและสินค้าในตลาดแทบจะไม่ต่างกันเลยทำให้เกิดการแข่งขันจัดโปรโมชันการหั่นราคาอยู่เสมอทำให้หลายฝ่ายต้องเจ็บตัวกับศึกที่แสนดุเดือด
ในทางตรงกันข้าม Blue Ocean Strategy กลับเป็นน่านน้ำที่สงบและสโลวไลฟ์ไม่ต้องแข่งกับใครอย่างเอาเป็นเอาตาย สามารถสร้างกำไรได้แบบเต็มที่โดยไม่ต้องมีใครมาแย่งเปอร์เซ็นต์ทางการตลาด ดังนั้นหากคุณสนใจกลยุทธ์ดังกล่าวต้องเป็นผู้พัฒนาอินโนเวชันใหม่ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ
4 ใจความสำคัญของ Blue Ocean Strategy ที่ต้องมองให้ขาด
หลักการสำคัญของกลยุทธ์น่านน้ำสีฟ้าประกอบด้วย ERRC ที่ใครอยากจะไปล่องเรือก็ต้องศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วนว่ามหาสมุทรแห่งนั้นเงียบสงบจริง ๆ หรือมีคลื่นซึนามิซ่อนอยู่ มาเรียนรู้หลักการสำคัญทั้ง 4 ประการไปพร้อมกันเลย
1. การยกเลิก (Eliminate)
มาเริ่มต้นกันที่กลยุทธ์ข้อแรกที่สำคัญนั่นคือ ‘การยกเลิก’ ในทางทฤษฎีของผู้คิดค้น Blue Ocean Strategy กล่าวว่า การยกเลิกสินค้าหรือบริการบางอย่างในตลาดที่ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกและอาจไม่ได้ต้องการจริง ๆ จะช่วยหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์พวกเขาได้เพื่อแทนที่ของเก่าที่พวกเขาต้องใช้ ทั้งนี้มีข้อควรระวังอย่างหนึ่งที่ผูประกอบการต้องเช็กให้ดี นั่นคือ สินค้าหรือบริการของคุณจะสามารถทดแทนได้จริงหรือ มิเช่นนั้นอาจสูญเปล่าและเจ็บตัวเอาได้
2. การลด (Reduction)
สำหรับแนวคิดข้อต่อมาคือการลด ซึ่งลดในที่นี้อาจทำให้หลายคนถึงกับฉงน เพราะเป็นการลดคุณสมบัติหรือคุณค่าบางอย่างที่น้อยกว่าอุตสาหกรรมในปัจจุบัน เพื่อให้ราคาถูกลงและมีความคุ้มค่ามากขึ้น เพราะบางอย่างลูกค้าอาจจะไม่ได้ต้องการ ใช้งานเพียงบางคุณสมบัติเท่านั้น Blue Ocean Strategy examples เช่น ฟีเจอร์บนสมาร์ตโฟนที่มีจำนวนมากเกินไป บางอย่างก็ไม่มีใครใช้ ดังนั้นผู้ประกอบการที่เล็งเห็นช่องว่างจึงพัฒนาสินค้าใหม่ขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้งานโดยที่ตัดคุณค่าบางอย่างออกไป
และแน่นอนว่ามีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียตามมาด้วยเมื่อคุณตัดฟีเจอร์บางอย่างออก ลูกค้าบางกลุ่มอาจเกิดการแอนจี้เพราะคิดว่าสิ่งที่ได้นั้นไม่มีความคุ้มค่าเลย พฤติกรรมผู้บริโภคบางส่วนต้องการความคุ้มเหนือสิ่งอื่นใด มีเผื่อไว้ถ้าไม่ใช้ก็ไม่เป็นไร ฉะนั้นใครจะเข้ามาลดทอนคุณสมบัติบางอย่างในอุตสาหกรรมต้องพิจารณาให้ดีและต้องเจาะจงกลุ่มลูกค้าเป็นพิเศษ นั่นอาจทำให้กลุ่มลูกค้าค่อนข้างแคบและไม่เพียงพอ
3. การเพิ่ม (Raising)
สำหรับ ‘R’ ต่อมาของ Blue Ocean Strategy ก็คือ Raising หรือการเพิ่ม ตรงข้ามกับข้อที่ 2. เพราะผู้ประกอบการจำเป็นต้องเพิ่มคุณสมบัติบางอย่างที่สูงกว่าที่นำเสนอกันในท้องตลาด ให้ลูกค้าแบบเกินคาด (Beyond Expectation) ลองจิตนาการว่าคุณเป็นลูกค้าไปซื้อของหรือบริการอย่างหนึ่งกับได้รับการตอบโจทย์แบบเกินคาด คุณคงจะประทับใจและอยากซื้อซ้ำแน่นอน แบบนี้จะลูกค้าอีกกี่ล้านรายก็สามารถกระจายสินค้าได้เป็นจำนวนมาก
หลังจากทราบข้อดีกันแล้วมาพิจารณาผลเสียกันบ้าง เมื่อไหร่ที่คุณประเมินผิดพลาดและผลิตภัณฑ์ไม่ได้สร้างความประทับใจ เมื่อนั้นก็อาจได้ผลตอบรับในทิศทางตรงกันข้าม กลายเป็นหนังคนละม้วนกับที่คิดไว้
4. การสร้าง (Creation)
สำหรับการสร้างเป็นแนวคิดที่ทำให้เกิดความสำเร็จสูงสุดและเป็นวิธีที่ยากที่สุดเช่นเดียวกัน หลักการก็คือ ผู้ประกอบการสร้างนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อนสู่ตลาด ยกตัวอย่างเช่น สมาร์ตโฟนแบบหน้าจอสัมผัส ที่กลับกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของคนเราในปัจจุบัน แรก ๆ อาจจะได้รับความนิยมเพียงกลุ่มเล็ก ๆ แต่เมื่อผู้คนให้ความนิยมเห็นถึงประโยชน์ก็จะกระจายสู่วงกว้างได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับใครที่อยากเป็นผู้สร้างบ้างอาจมีข้อเสียอย่างหนึ่งคือการใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานและจำเป็นต้องใช้ทุนค่อนข้างมากในฝ่าย Research & Development ยกตัวอย่างแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง ‘Tesla’ ก็นำวิธีการนี้มาใช้ พวกเขาโดดเข้าน่านน้ำที่ไม่มีคู่แข่งและพัฒนารถ ‘EV’ ที่ไม่ต้องพึ่งน้ำมันจากต่างชาติและลดการปล่อยมลพิษ ในขณะที่คนอื่นกำลังแข่งทำแบบ Hybrid กันอยู่ ‘Blue Ocean Strategy Tesla’ ทำให้หุ้นของพวกเขาขึ้นมาถึง 19,000 เท่า และปัจจุบันก็ประสบความสำเร็จอย่างล้มหลาม