หลายคนคงไม่คุ้นหูนักกับสายงาน Business Development หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า BD ขอบอกเลยว่าตำแหน่งนี้มีความสำคัญต่อบริษัทอย่างยิ่งเพราะเป็น ‘นักพัฒนาธุรกิจ’ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าจะช่วยส่งเสริมให้กิจการของคุณเติบโตและก้าวหน้า
สำหรับคนที่สงสัยว่าอาชีพ Business Developer นี้คืออะไร ทำงานเกี่ยวกับอะไร แล้วหากอยากเป็น BD บ้างต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบให้ทุกข้อสงสัย หากพร้อมแล้วมาดูกันเลยว่าจะน่าสนใจขนาดไหน
ทำความรู้จัก ‘Business Development’ คืออะไร?
Business Development คือตำแหน่งที่มองหาโอกาสทางธุรกิจ ประสานงานกับพันธมิตร การคิด ‘Use Case’ ทำ ‘Pitch Deck’ และข้อเสนอโปรเจ็กต์ต่าง ๆ พร้อมทั้งอัปเดตเทรนด์ในตลาดในทีมมาร์เก็ตติงนำไปปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
พาส่อง! ขอบเขตการทำงานของ ‘Business Developer’
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าคนที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับ Business Development Job ต้องรับผิดชอบทั้งด้านการพัฒนาบริษัทและการรักษาความสัมพันธ์กับพาร์ตเนอร์ขององค์กร สำหรับหน้าที่ของนักพัฒนาธุรกิจ มีดังต่อไปนี้
- ศึกษาและระบุกลุ่มลูกค้า
- พัฒนาและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า
- ร่วมมือกับฝ่ายขายเพื่อสร้างข้อเสนออันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ
- เจรจาเรื่องสัญญากับลูกค้าและสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
- ดูแลทีมทำงานเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกัน
- เก็บข้อมูลสำคัญจากทั้งคู่แข่งและลูกค้า
- นำเสนองานแก่ผู้มีโอกาสจะเป็นลูกค้าและผู้บริหารภายใน
- ร่างกระบวนการและนโยบายบริษัทเพื่อการทำงานในภาพรวมที่ดี
- พัฒนาและจัดการกลยุทธ์ระหว่างพาร์ตเนอร์เพื่อให้บริษัทเติบโต
- ติดตามและรายงานสถานะของข้อเสนอ
- วิจัยตลาดอย่างไม่หยุดยั้ง
- ทำงานร่วมกับฝ่ายตั้งราคาเพื่อสร้างมาตรฐาน
- ดำเนินกระบวนการขายตั้งแต่ต้นจนจบ
- เตรียมและส่งสัญญาการขาย
6 ทักษะสำคัญที่นักพัฒนาองค์กรต้องมีในปี 2023
หลังจากทราบแล้วว่าฝ่าย Business Development คืออะไรและมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง หลายคนคงอึ้งไปเลยใช่ไหมล่ะ เพราะขอบเขตของการทำงานนั้นค่อนข้างกว้างและสำคัญต่อบริษัทอย่างยิ่ง แล้วสงสัยกันไหมว่าผู้ที่ทำหน้าที่แสนสำคัญเหล่านี้ต้องเรียนอะไรมาบ้างและทักษะที่สำคัญมีอะไรบ้าง พร้อมแล้วมาค้นหาคำตอบไปพร้อมกันเลย
มาเริ่มกันที่คณะที่ชาว Business Developer เรียนกันหลัก ๆ คือ คณะบริหารธุรกิจนั่นเอง อาจจะเป็นสาขาการจัดการธุรกิจ เทคโนโลยีอุตสาหกรรมหรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เรื่องประสบการณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาแม้จะจบสายอื่นก็สามารถทำงานได้หากมีประกาศนียบัตร เช่น การจัดการสัมพันธภาพลูกค้าระดับมืออาชีพ ประกาศนียบัตรผู้จัดการสัมพันธภาพลูกค้าจากสถาบันทางธุรกิจ เป็นต้น มาดูทักษะที่สำคัญในการประกอบอาชีพทาง Business Development กันต่อเลย
1. ความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ (Creativity)
สำหรับนักพัฒนาธุรกิจจำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์สูง เพราะเป็นส่วนช่วยพัฒนา ‘Business Model’ ที่มีอยู่ให้ดีกว่าที่เคย เชื่อว่าทุกคนล้วนมีอยู่ในตัวอยู่แล้วแต่จะงัดออกมาอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. ทักษะการจดและใส่ใจในรายละเอียด (Attention to Detail)
เพราะการจดสรุปที่ดีและการใส่ใจในรายละเอียดจะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายและดีขึ้นมาก ไม่ว่าจะจดการประชุมหรือรายละเอียดจากคู่ค้าก็เป็นทักษะที่ควรมี เพื่อให้ไม่ขาดตกบกพร่องหรือละเมิดสัญญาใดใด
3. ทักษะการสื่อสาร (Verbal and Written Skills)
เพราะนักพัฒนาองค์กรจะต้องสื่อสารและเจรจาต่ออยู่อยู่เสมอ ดังนั้นทักษะทั้งการพูดและเขียนต่างจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันและหาโซลูชันตรงกลางแบบ Win-Win ได้อย่างชัดเจน นอกจากคนภายนอกองค์กรแล้วคุณยังต้องสื่อสารกับผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย ฉะนั้นเรียนรู้ทั้งวิธีพูดสำหรับคนแต่ละระดับไว้จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย นอกจากจะดูเป็นมืออาชีพแล้วผู้รับสารยังเข้าใจง่ายอีกด้วย
4. ทักษะการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
สำหรับทักษะนี้เรียกได้ว่าเป็นทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 เลยก็ได้ เพื่อให้การคิด วิเคราะห์ ตัดสินและการแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีวิจารณญาณ หลายครั้งที่คุณจะต้องคิดและไตร่ตรองรายละเอียดอย่างมีเหตุผลหาข้อดีข้อเสียและเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมออกมาเพื่อแก้ไขให้ได้ทางออกที่ดีที่สุด
5. ทักษะด้านองค์กร
สำหรับทักษะข้อนี้รวมทั้ง Interpersonal Skills, Time Management และ Technological Skills อีกด้วย เพราะในการทำงานคุณต้องเข้าไปดูแลทีมซึ่งต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีงาม พร้อมกับจัดตารางเวลาอย่างแบบระบบ มีความรู้ทางเทคนิคเพื่อให้บรรลุผลตาม Business Development Plan ที่วางไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ
6. ใจรักบริการและ Mindset ที่ดี
มาต่อกันที่ลักษณะสำคัญของสุดท้ายของสายอาชีพ Business Development นั่นก็คือ การมีใจบริการเพราะในแต่ละวันคุณจะต้องคุยกับลูกค้ารักษาความสัมพันธ์อันดีเอาไว้พร้อมกับให้ความช่วยเหลือด้านสินค้าและบริการของบริษัท นอกจากนี้เรื่อง Innovative Mindset ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณมีไอเดียใหม่ ๆ กล้าคิด กล้าทำ เพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่บริษัท
ประสบการณ์ของฝ่าย Business Development ที่หลายบริษัทต้องการ
นอกจากเรื่องการศึกษาและทักษะแล้ว หลาย ๆ บริษัทต่างก็ต้องการนักพัฒนาองค์กรที่มีประสบการณ์จึงจะเชื่อมั่นได้ว่าจะช่วยขับเคลื่อนบริษัทไปในทิศทางที่ดี โดยส่วนใหญ่แล้วต้องมีประสบการณ์การขายแบบ B2B: Business to Business บรรลุเป้ายอดขาย หรือมีประสบการณ์ในการจัดการ อุตสาหกรรมเทคโนโลยี ประสบการณ์ทาง SCM: Supply Chain Management หรือโลจิสติกส์ ยิ่งมีประสบการณ์ตรงในอุตสาหกรรมนั้นยิ่งจะมีประโยชน์ไม่น้อย