ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘เงินทุน’ คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต ด้วยสภาพคล่องทางการเงินที่เสริมให้การดำเนินการต่าง ๆ ราบรื่น วันนี้เราจะพามารู้จักกับ ‘Crowd Funding’ รูปแบบหนึ่งของการระดมทุนซึ่งเป็นตัวเลือกที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจไม่น้อย
เพราะไม่จำเป็นต้องกู้สินเชื่อธนาคารอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกิดใหม่ สตาร์ตอัพหรือกลุ่ม SMEs ก็สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายกว่าที่เคย วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังว่าการระดมทุนรูปแบบนี้คืออะไรและมีลักษณะที่น่าสนใจอย่างไร หากพร้อมแล้วมาดูกันเลย
ไขข้อข้องใจ ‘Crowd Funding’ หมายถึงอะไร?
Crowd Funding หมายถึง การระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยหรือคนทั่วไปเพื่อสนับสนุนธุรกิจ ผ่านตัวกลาง ‘Funding Portal’ ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับรูปแบบการระดมทุน โดยวิธีนี้ได้รับความนิยมสูงในต่างประเทศเพราะเข้าถึงเงินทุนสะดวกและรวดเร็วมากที่สุด
4 รูปแบบที่น่าจับตามองของการระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิง
หลังจากที่ทราบแล้วว่า Crowd Funding คืออะไร เราจะพามารู้จักกับ 4 รูปแบบหลักของการระดมทุน จะมีลักษณะอย่างไรและแบบไหนที่ใช่สำหรับธุรกิจของคุณมาเช็กกันเลย
1. การระดมทุนแบบเงินบริจาค (Donation)
รูปแบบแรกของ Crowdfunding มักจะเป็นองค์กรการกุศลหรือมูลนิธิต่าง ๆ ที่ต้องการระดมเงินทุนเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ โดยที่ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนใดกลับมา ยกตัวอย่างเช่น โครงการก้าวคนละก้าวโดยตูน บอดี้สแลม นำเงินไปมอบแก่โรงพยาบาลเพื่อซื้ออุปกรณ์การแพทย์ โดยแพลตฟอร์มของไทยที่เป็น ‘Funding Portal’ ก็มีหลากหลายเจ้า เช่น PeerPower, FS SIAM, Investree Thailand เป็นต้น
2. การระดมทุนแบบแลกรางวัล (Reward)
รูปแบบการระดมทุนต่อมา ผู้ที่ลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่จะได้กลับมาคือสินค้าหรือของที่ระลึก โดยส่วนใหญ่จะเป็นการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการผลิตสินค้าของเจ้าของไอเดียสู่ตลาดจริง การทำเพลง การสร้างภาพยนตร์สั้นหรือหารพัฒนาเกม เป็นต้น
3. การระดมทุนแบบกู้ยืม (Peer to Peer)
สำหรับการกู้ Crowd Funding จะไม่มีธนาคารมาเกี่ยวข้อง แต่จะมี Funding Portal เป็นตัวกลางเช่นเคย เมื่อผู้กู้ระบุความต้องการแล้ว แพลตฟอร์มจะทำการจับคู่กับนักลงทุนหรือคนธรรมดาให้ เมื่อรวบรวมแล้ว ทางผู้กู้ต้องคืนเงินกู้พร้อมกับดอกเบี้ยให้แก่ผู้ลงทุนตามที่ตกลงไว้ เมื่อไม่มีสถาบันการเงินแบบเดิม ๆ มาเกี่ยวข้องแล้ว การเข้าถึงเงินทุนจึงเป็นเรื่องง่ายมาก
4. การระดมทุนแบบหลักทรัพย์ (Investment)
รูปแบบการลงทุนประเภทนี้นักลงทุนจะได้รับหุ้นและผลตอบแทนจากการถือหุ้นนั้น โดยสามารถแยกย่อยได้ 2 แบบ ได้แก่
- การออกหุ้น (Equity Based)
การระดมทุนคราวด์ฟันดิงเช่นนี้ ผู้กู้จะต้องออกหุ้นแก่นักลงทุนผู้มีสิทธิ์เป็นเจ้าของบริษัทตามเปอร์เซ็นต์หุ้นที่ทำการลงทุน สำหรับผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับจะมีเงินปันผล หรือบางเงื่อนไขอาจระบุให้ขายหุ้นต่อได้ขึ้นอยู่กำนโยบายของบริษัท
- การออกหุ้นกู้ (Debt Based)
ลักษณะการระดมทุนนี้ คือ การที่ผู้กู้ต้องออก ‘หุ้นกู้’ ให้แก่ผู้ลงทุน โดยหากเป็นวิธีนี้จะแตกต่างกันที่ ‘เจ้าหนี้กิจการ’ จะเป็นนักลงทุน โดยได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยและเงินต้น
ด้วยความสนใจของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นใน Crowd Funding Thailand พร้อมทั้งเทคโนโลยีที่ก้าวไกลช่วยให้การจับคู่กันของทั้งสองฝ่ายง่ายขึ้น ศึกษาข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น แต่ละแบบจะให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป หากถามว่าหุ้นกู้ของ Crowd Funding กับหุ้นกู้ทั่วไปต่างกันอย่างไร เราขออธิบายง่าย ๆ ว่า ‘หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง’ เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่จำกัดประเภทที่ควบคุม ประเมินความเสี่ยงและออกใบอนุญาติโดย ก.ล.ต. มีราคาขายขั้นต่ำ 10,000 บาท บุคคลธรรมดาจะไม่สามารถซื้อได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี
ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์มากที่สุดจาก ‘Crowd Funding’
หากคุณสงสัยว่าการระดมทุนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อใครมากที่สุด ขอบอกเลยว่าได้ประโยชน์กันทั้งฝ่ายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจต่อวัตถุประสงค์หรือผลตอบแทนในการลงทุน ซึ่งภาพรวมแล้วคราวด์ฟันดิงเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้ที่มีไอเดียแสน innovative ในการเข้าถึงเงินทุน แถมในภาวะวิกฤตเหล่า SMEs ก็สามารถเดินต่อได้ ดังนั้นเศรษฐกิจใจภาพรวมจึงสามารถฟื้นตัวได้ค่อนข้างรวดเร็ว
อยากเป็นผู้ระดมทุนคราวด์ฟันดิงต้องเริ่มต้นอย่างไร?
สำหรับใครที่ต้องการเข้าถึงเงินทุนประเภทนี้ต้องนำเสนอโครงการระดมทุนต่อตัวกลาง (Funding Portal) เพื่อให้แพลตฟอร์มทำการประเมินความสามารถของธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่นแพลตฟอร์มของไทยอย่าง PeerPower จะมีการประเมินความเสี่ยงของกิจการจากนั้นเสนอเงื่อนไขในการระดมทุน เช่น วงเงิน ระยะเวลาการถอน อัตราดอกเบี้ย เมื่อผู้ประกอบการตกลง จะมีการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มซึ่งช่วยให้เข้าถึงเงินทุนได้ง่ายกว่าที่คิดแน่นอน โดยการใช้งานแต่ละแพลตฟอร์มผู้กู้สามารถศึกษารายละเอียดของแต่ละแห่งอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจเลือก
สรุปแล้ว ‘Crowd Funding’ มีดีอย่างไร?
หากเห็นสถิติการเข้าถึงเงินทุนของธุรกิจขนาดเล็กของชาวไทยเราแล้วคุณจะต้องอึ้งแน่นอน เพราะมากกว่า 70% ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ การมีตัวกลางช่วยให้ผู้ประกอบการไม่ถูกกีดกันด้วยข้อจำกัดแบบเดิม ๆ ดังเช่นการกู้สินเชื่อธนาคาร ต่อยอดธุรกิจได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม
ฉะนั้น Crowd Funding จึงเป็นสะพานสร้างความเท่าเทียมทางการเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน สามารถรับเงินทุนหลายก้อนจากหลายนักลงทุนหรือบุคคลทั่วไป ในทางกลับกันนักลงทุนเหล่านี้ก็สามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังแตกต่างจากตลาดหลักทรัพย์ (Private Market) ที่ราคาผันผวน ผู้ลงทุนกับคราวด์ฟันดิงจึงได้รับผลตอบแทนตามสัญญาสม่ำเสมอ ช่วยรักษากระแสเงินสดของนักลงทุนได้อีกด้วย