S Curve คืออะไร? นักลงทุนรุ่นใหม่ต้องจับตามองให้ดี

S Curve คืออะไร? นักลงทุนรุ่นใหม่ต้องจับตามองให้ดี

แน่นอนว่าโลกธุรกิจนั้นหมุนไปไวมาก ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ วันนี้เราจะพามารู้จักกับ S Curve หนึ่งในกุญแจสำคัญทางธุรกิจกุญแจที่ควรเรียนรู้ เพราะหากองค์กรใดไม่มีการปรับตัวหรือก้าวขาช้าไปเพียงจังหวะเดียวก็อาจล้มลงได้ ดังนั้นหลาย ๆ กลุ่มธุรกิจจึงตั้งพันธกิจในการค้นหาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่เข้ามาพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้นอีกระดับ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการบรรลุเป้าหมายและดึงดูดนักลงทุนให้มาเข้าร่วมอีกด้วย

สำหรับ New S Curve ที่จะนำมาให้ทุกท่านรู้จักด้วย คือ การลงทุนในอุตสาหกรรมรมใหม่แห่งอนาคต โดยนักลงทุนทั้งชาวต่างชาติหรือไทยเองก็ดีต่างให้ความสนใจอย่างยิ่ง หากฟังดูแล้วสนใจเรื่องธุรกิจนวัตกรรมกันแล้วมารู้จักกันให้มากขึ้นเลย

เปิดความหมาย S Curve คืออะไร มาไขข้อสงสัยกัน

S Curve คือกราฟการอธิบายผลประกอบการของธุรกิจและผลิตภัณฑ์ โดยจะนิยามว่าธุรกิจนั้นต้องผ่านขั้นตอนการเริ่มต้นและเติบโตแบบช้าในระยะแรก และเข้าสู้กระบวนการปรับขนาดแบบรวดเร็วภายหลังในระยะที่สอง จนถึงขั้นตอนการก้าวหน้าน้อยในระยะสุดท้าย กลายเป็นเส้นเติบโตแนว S

เพราะกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยกลับมีอัตราการขยายตัวลดน้อยลง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องผลักดันและกระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้ก้าวเข้าสู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ดังนั้น ‘เทคโนโลยี’ หรือ ‘นวัตกรรม’ จึงมีความสำคัญไม่น้อย แต่วงจรของทั้งสองอย่างนี้เป็น S Curve (รูปตัวเอส) ที่มีจุดอิ่มตัวเมื่อมีการพัฒนาสูงสุดแล้ว จึงจำเป็นต้องหาเคิร์ฟตัวใหม่มาต่อ

สำหรับคำนิยามของ S Curve หมายถึง ปรากฏการณ์จากแนวคิดคณิตศาสตร์ ซึ่งอธิบายช่วงการเจริญเติบโตโดยใช้ความลาดชัน มีการหยิบมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์และเศรษฐศาสตร์เอง เช่น การบริการการตลาด/โครงการเพื่อเช็กวงจรสินค้าใหม่

ประเภทของ S Curve ในประเทศไทย

ดังที่กล่าวว่าประเทศไทยจำเป็นต้องกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มาดูกันเลยว่ากลุ่ม S Curve จะมีกี่ประเภท

1. First-S-Curve

มาเริ่มกันที่กลุ่มแรก ธุรกิจ S Curve ชนิดนี้มีอยู่แล้วในไทย เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางตลาดสูง ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เทคโนโลยีชีวภาพ ยานยนต์ล้ำสมัย การแปรรูปอาหารและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 

อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรม S Curve คือกลุ่มที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นไปจนถึงกลางเท่านั้น จึงไม่สามารถทำให้ประเทศไทยพัฒนาแบบก้าวกระโดด จึงเกิดการพัฒนา S Curve ใหม่ขึ้นมาในลำดับต่อไป

2. New S-Curve

สำหรับรูปแบบต่อมาน่าจับตามองไม่น้อยเพราะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต เน้นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสำคัญมีแนวโน้มสูงมากที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของไทย โดยการต่อย่อธุรกิจกลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มรายได้ของประชากรบ้านเราได้ตามเป้า 70 เปอร์เซ็นต์ โดยอุสาหกรรมนี้แบ่งเป็น 2 จำพวกเช่นเดียวกัน ดังนี้ เคมี-เชื้อเพลิงชีวภาพ โลจิสติกส์และการบิน หุ่นยนต์และดิจิทัลการแพทย์แบบครบวงจร อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้ยังไม่มีนักลงทุนมากแบบชนิดแรก รัฐบาลต้องสนับสนุนและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้มากกว่าที่เคย

ทั้งนี้อุตสาหกรรมทั้ง 10 ประเภทเป็นที่ต้องตาต้องใจของนักลงทุนทั่วโลกเนื่องจากมีศักยภาพ ในปัจจุบันคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีการพัฒนามาตรการส่งเสริมกลุ่มอุสาหกรรม ดังนี้ การสนับสุนนในภาพรวม การสนับสนุนคลัสเตอร์ Next Generation Automotive, Biotechnology, Robotics และ Aviation and log

การใช้ประโยชน์ S Curve ในการบริหารจัดการ

1. ใช้เป็นเครื่องมือมอนิเตอร์/ประเมินโครงการ

อย่างแรกเส้นโค้งรูปตัวเอสนี้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการมอนิเตอร์ (Monitoring) /ประเมินโครงการ (Project Appraisal) เพื่อการพัฒนาปรับปรุงข้อด้อยให้ทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยพฤติกรรมของโครงการสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังต่อไปนี้

  • ระยะเริ่มแรก

ระยะแรกจะประกอบด้วยการเตรียมงานและการเปิดหน้างาน เมื่อเขียนกราฟเอสเคิร์ฟจะมีความลาดเอียงและโค้งขึ้นเล็กน้อยตรงปลายของตัว S

  • ระยะกลาง

ช่วงนี้มีการทำงานร่วมกันหลายกลุ่ม  งานมีความคืบหน้ามากขึ้น โดยเมื่อนำไปเขียนกราฟจะได้ เส้นโค้งเพิ่มขึ้นตรงช่วงลำตัว S ตามประสิทธิภาพการทำงาน

  • ระยะปลาย

ในช่วงนี้งานจะเสร็จไปแล้วเกือบทั้งหมด เหลือเพียงส่วนที่ต้องแก้ไข เก็บจุดบกพร้องทั้งหลาย ดังนั้นภาพรวมจะมีการก้าวหน้าน้อย ได้เส้นโค้งขึ้นหน่อยตามประสิทธิภาพการทำงาน เป็นเหมือนปลายเส้น S นั่นเอง

2. ใช้เป็นเครื่องมืออธิบายทิศทางของสินค้า/เทคโนโลยีใหม่-เดิม

ผู้บริการสามารถนำ S Curve มาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านนี้ได้เป็นอย่างดี แต่ต้องตระหนักก่อนว่าเส้นทางการพัฒนาสินค้าตามกราฟ S แล้วไม่ใช่ทุกนวัตกรรมที่จะประสบความสำเร็จหรือเอาชนะเทคโนโลยีเดิมได้

โดยมีวิธีการใช้งานดังนี้ ‘S-Curve’ สร้างจากกราฟในแกนแนวตั้งและแนวนอน โดยแกนตั้งอธิบายประสิทธิภาพของเทคโนโลยีตามทุนและระยะเวลาที่ใช้ไป ในขณะที่แกนนอนจะแสดงถึงประสิทธิภาพของสินค้าหรือการประหยัดงบประมาณ 

ตัวอย่าง วิธี วิเคราะห์ S Curve สองเส้นของสินค้าที่เกิดการ Disrupt กัน เช่น การพัฒนาคอมพิวเตอร์ของบริษัททั้งหลายให้เกิดความรวดเร็วยิ่งขึ้น ในขณะที่ผู้บริการท่านหนึ่งตระหนักว่าคนทั่วไปต้องการความสะดวกสบายเรียบง่ายจึงคิดค้นแล็บท็อปขนาดเล็กขึ้นได้รับความนิยมไปทั่วโลก ด้วยเทคโนโลยีเดิมที่สามารถปรับปรุงได้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะถึงจุดอิ่มตัว ในขณะที่นวัตกรรมใหม่ มีการแก้ปัญหาทางเทคนิคแถมพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

3. เครื่องมือการตลาด

ข้อสุดท้าย S-Curve สามารถใช้เพื่อดูวงจรของสินค้าได้ หรือดูวงจรของธุรกิจก็ได้ โดยในระยะแรกที่เริ่มต้นยอดขายอาจจะค่อย ๆ เติบโตจนมาถึงจุดที่ผู้บริโภค/ตลาดรับรู้ เกิดความสนใจ ดังนั้นอาจมรีการส่งเสริมการขายเพื่อให้เพิ่มยอดอย่างรวดเร็ว

บทความล่าสุด