หลายคงก็คงเคยคิดเรื่องไอเดียธุรกิจที่ตัวเองอยากทำใช่ไหมครับ?
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจว่า ธุรกิจที่ไม่มี Business Model ก็เหมือนกับการทำอะไรโดยไม่มีจุดหมาย หากคุณไม่สามารถอธิบายได้ว่าธุรกิจของคุณสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้ยังไง ธุรกิจของคุณก็คงไม่มีทางไปรอดได้
ธุรกิจจำเป็นต้องมี Business Model เพื่อการเอาตัวรอด
ใครทนรอไม่ไหว กดตรงนี้เพื่อข้ามไปอ่าน 19 ตัวอย่าง Business Model ได้เลยครับ
Business Model คืออะไร
เหมือนจะเป็นศัพท์ที่นักธุรกิจใช้บ่อย แต่หลายคนก็ไม่ได้เข้าใจมันอย่างแท้จริง เปรียบเสมือนกับศิลปะที่เรามองเห็นแต่ก็ไม่สามารถอธิบายมันออกมาได้
Business Model (โมเดลธุรกิจ) คือแบบจำลองของธุรกิจ ที่มีไว้อธิบายว่าบริษัททำงานยังไง และทำเงินสร้างคุณค่ายังไง ทุกบริษัทย่อมมีกระบวนการในการหารายได้เป็นของตัวเอง
เพื่อทำให้เราอธิบายได้ง่ายขึ้น ผมได้รวบรวม 19 ตัวอย่าง Business Model จากทั่วโลกมาอยู่ในบทความนี้ หากใครคิดว่าเหมาะสำหรับธุรกิจของตัวเองก็หยิบนำไปใช้หรือปรับปรุงได้เลยครับ
19 ตัวอย่าง Business Model จากทั่วโลก
Mark W. Johnson เจ้าของหนังสือ Seizing the White Space: Business Model Innovation for Growth and Renewal วิจัยไว้ว่าโมเดลธุรกิจนั้นแบ่งแบบละเอียดได้ 19 แบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีวิธีสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าไม่เหมือนกัน
ทั้งหมดนี้เป็น Business Model ที่ทำได้จริงและเกิดขึ้นจริงทั่วโลก:
พรีออเดอร์
พรีออเดอร์ คือการลดการผลิตสินค้า (Negative Operating Cycle) เป็นการสร้างกำไรด้วยการเก็บสต็อกสินค้าให้น้อยที่สุด โดยให้ลูกค้าชำระเงินล่วงหน้าก่อนผลิตหรือสั่งสินค้า ยกตัวอย่างเช่นร้านรับจองสินค้าแล้วค่อยพรีออเดอร์มาจากต่างประเทศเป็นต้น ต่างกับธุรกิจส่วนมากเราต้องออกเงินก่อนเพื่อซื้อและสต็อกสินค้า ก่อนนำไปขาย
ค่าสิทธิ (Royalty Fees)
การจ่ายค่าสิทธิให้กับองค์กรใหญ่ เพื่อที่จะได้รับสิทธิในการขายสินค้าให้ลูกค้าในองค์กรแต่เพียงผู้เดียว ยกตัวอย่างเช่นบริษัทบัตรเครดิตอย่าง AEON ที่ร่วมสร้างบัตรกับ Big C เพื่อที่จะเจาะกลุ่มลูกค้าของกันและกัน
โบรคเกอร์
โบรคเกอร์คือตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยที่ตัวธุรกิจจะรับรายได้ต่อการทำธุรกรรม ยกตัวอย่างเช่นบริษัทจองโรงแรมที่ได้รายได้เป็นเปอร์เซ็นราคาห้องที่ลูกค้าจ่ายโรงแรม
การรวมสินค้า (Bundling)
การรวมสินค้า เป็นการทำให้กระบวนการซื้อสินค้าของลูกค้าง่ายขึ้นจากการนำสินค้าหลายอย่างมารวมเป็น ‘เพคเกจเดียวกัน’ ยกตัวอย่างเช่นมือถือที่นอกจากจะโทรศัพท์ได้แล้วยังมีเครื่องคิดเลขและสามารถเล่นอินเตอร์เนตและฟังเพลงได้ด้วย
บุฟเฟ่ต์
บุฟเฟ่ต์ คือการให้บริการและคิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณที่ลูกค้าใช้แต่คิดเป็น “ช่วงกว้างๆ” ยกตัวอย่างเช่นค่ามือถือที่คิดตามเวลาที่โทรศัพท์หรืออินเตอร์ที่ใช้ต่อเดือนแต่คิดเป็นเลขกว้างๆเช่น ‘โปร 300นาที’ ‘โปรโทรไม่อั้น’ ‘โปรเนตฟรีเจ็ดวัน’
ตัดผ่านตัวกลาง
ตัดตัวกลางการขายของ ให้ลูกค้าซื้อโดยข้ามผ่านตัวกลางไป ยกตัวอย่างเช่นโรงงานในจีนที่เริ่มขายปลีกส่งให้คนไทยได้ผ่านระบบออนไลน์
เจ้าของร่วม
การอนุญาตให้ผู้ใช้เป็นเจ้าของ ‘บางส่วน’ ของสินค้าได้ โดยผู้ใช้สามารถใช้สิทธิของการเป็นเจ้าของเต็มตัวได้ด้วยราคาที่ย่อมเยา ยกตัวอย่างเช่นคอนโดที่มีส่วนกลางให้สำหรับผู้ซื้อ
ฟรีเมี่ยม (Freemium)
ฟรีเมี่ยมคือบริการเซอร์วิสแบบฟรี แต่ลูกค้าสามารถจ่ายเงินเพิ่มเพื่อใช้บริการที่มากกว่าเดิมได้ (premium) ยกตัวอย่างเช่นเกมมือถือต่างๆที่เล่นฟรีได้แต่ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อเนื้อหาเพิ่มเติม
ปล่อยเช่า
ปล่อยเช่าคือโมเดลที่เห็นได้บ่อยในอสังหาทรัพย์ หมายถึงการลงต้นทุนไปก่อนแล้วให้ผู้ใช้งานค่อยๆทยอยจ่ายอีกที ส่วนมากจะลดความเสี่ยงด้วยการทำสัญญาระยะยาว
ลดราคา-ลดคุณภาพ
คือการขายสินค้าหรือให้บริการ ‘ราคาถูกแต่คุณภาพแย่ลง’ ในตลาดที่มีแต่สินค้าหรือบริการราคาแพง ยกตัวอย่างเช่นสายการบินโลว์คอสต์ต่างๆ Business Model นี้มีสิ่งตรงข้ามที่เรียกว่า เพิ่มราคา-เพิ่มคุณภาพ ยกตัวอย่างเช่นพวกสปาสำหรับไฮโซเป็นต้น
จ่ายตามการใช้งาน
จ่ายเงินตามการใช้งาน หรือ Pay-as-you-go คือการให้บริการและคิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณที่ลูกค้าใช้จริงๆ ยกตัวอย่างเช่นรถแท็กซี่ที่คิดค่าใช้จ่ายตามระยะทางที่เราเดินทาง
มีดโกนหนวด
เป็นการขายสินค้าที่ควรจะกำไรเยอะในราคาต่ำแทน และเลือกที่จะทำกำไรด้วยสินค้าที่ ‘ขายได้ปริมาณเยอะมากแต่กำไรน้อยต่อชิ้น’ ภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น มีดโกนหนวดที่ด้ามมีดค่าผลิตแพงแต่กลับขายในราคาถูก แต่ถ้าเราซื้อด้ามแล้วเราก็ต้องซื้อมีดต่ออีกในปริมาณที่มาก
มีดโกนหนวดย้อนกลับ
คือการขายสินค้ากำไรน้อยเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าซื้อสินค้าที่มีกำไรเยอะภายหลังยกตัวอย่างเช่น Kindle อุปกรณ์อ่านหนังสือดิจิตอลที่ขายไม่เอากำไรแต่เจ้าของได้เงินจากการที่ลูกค้าซื้อหนังสือมาอ่านเพิ่ม
คราวด์ซอสซิ่ง (Crowdsourcing)
ให้คนนอกมาสร้างคอนเทนท์หรือสินค้าให้เราฟรีโดยการแลกกับการให้คนพวกนั้นดูคอนเทนท์หรือสินค้าของผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่นเวปไซท์ดูวีดิโออย่าง ยูทูป (YouTube)
ประมูลกดราคา
ประมูลกดราคา คือการตั้งเพดานราคาขึ้นมาแล้วให้ลูกค้า ‘ประมูล’ ราคาให้น้อยลง ยกตัวอย่างเช่นโปรเจคก่อสร้างขอรัฐบาลที่บริษัทเอกชนต่างๆต้องประมูลราคาแข่งขันกัน
สินค้าบวกบริการ
คือการที่บริษัทนอกจากจะขายสินค้าแล้วยังเสริมบริการเพิ่มเติมให้กับลูกค้าด้วย ยกตัวอย่างเช่นบริษัทระบบไอทีต่างๆที่นอกจากจะผลิตเครื่องอุปกรณ์ไอทีแล้วยังมีบริการซ่อมหรือดูแลหลังการขายเพิ่มเติม
ผลิตแบบมาตรฐาน (Standardization)
การแก้ปัญหาให้ลูกค้าด้วยสินค้าหรือบริการราคาถูกแต่มีมาตรฐาน โดยที่ปัญหานั้นเมื่อก่อนถูกแก้ได้ด้วยสินค้าหรือบริการเฉพาะทางราคาแพงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นการที่บริษัทฟอร์ด(Ford) สร้างระบบผลิตรถจำนวนมากในขณะที่บริษัทอื่นๆยังประกอบรถด้วยมืออยู่
ค่าสมาชิก
ค่าสมาชิก เป็นการคิดค่าใช้จ่ายลูกค้าในการลงชื่อเป็นสมาชิกเพื่อใช้สินค้าหรือบริการ ยกตัวอย่างเช่น นิตยาสารต่างๆ
เครือค่าย (User Communities )
คือการสร้างเครือข่ายของสมาชิก และสร้างรายได้ผ่านค่าสมาชิกหรือค่าโฆษนา ยกตัวอย่างเช่น เฟสบุ๊คที่กำไรมหาศาลจากค่าโฆษนา
Business Model เป็นสิ่งที่ต้อง ‘ทำซ้ำ’ ได้
ผมคิดว่าหลายคนจะได้รู้จักตัวอย่างธุรกิจ และวิธีทำเงินให้กับธุรกิจมากกว่าการ ‘ซื้อมาขายไป’ แล้วนะครับ บางบริษัทก็ไม่ได้ใช้แค่ business model เดียว แต่เกิดจากการเอาหลายอย่างมารวมเข้าด้วยกันจนเกิด ‘นวัตกรรม’ ขึ้นมาครับ
แน่นอนว่าตัวอย่าง Business Model ที่คุณเลือกขึ้นอยู่กับสิ่งที่ธุรกิจของคุณต้องการ และมูลค่าที่คุณอย่างสร้างให้กับลูกค้าหรือผู้ถือหุ้น
สุดท้ายนี้ข้อคิดในการเลือกโมเดลที่เหมาะกับตัวคุณและตลาดของคุณก็คือ ธุรกิจที่ ‘ขายได้’
ธุรกิจที่ ‘ขายได้’ ไม่จำเป็นต้องเกิดจาก ‘นวัตกรรมใหม่’ ทั้งหมด สิ่งที่เราควรจะคิดก็คือเราจะทำสิ่งที่เรามีดีอยู่แล้วมาปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพตลาดและลูกค้าให้ดีได้อย่างไร หากใครสนใจเรื่องโมเดลธุรกิจแบบละเอียดก็สามารถหาซื้อหนังสือของ Mark W. Johnson ได้นะครับ ใครชอบ Business Model ไหนเป็นพิเศษก็คอมเม้นบอกกันได้ครับ