Quality Control (Q.C.) คืออะไร? ต่างจาก QA อย่างไรบ้าง

Quality Control (Q.C.) คืออะไร? ต่างจาก QA อย่างไรบ้าง

เราอาจเคยได้ยินคำว่าของหลุด Q.C. มาบ้างใช่ครับ หมายถึง ‘ของที่ไม่มีคุณภาพ‘ หรือสินค้าที่ผิดมาตรฐานที่ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นควรเป็น (Quality Control) และในสมัยนี้ทุกคนก็คงรู้อยู่แล้วว่าสินค้าไม่มีคุณภาพนั้นส่งผลร้ายกับธุรกิจมาเยอะมาก ทั้งในเชิงความพึงพอใจของลูกค้าและที่แย่กว่าก็คือทางปัญหาด้านกฏหมายและข้อบังคับต่างๆ

ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า Quality Control หรือ QC แปลว่าอะไร มีประโยชน์อะไร และ แตกต่างอย่างไรกับการควบคุมคุณภาพอย่างอื่น

Quality Control (Q.C.) คืออะไร?

Q.C. คือ การประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ชิ้นต้นแบบ เพื่อควบคุมและสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าในภาคอุสาหกรรม เพื่อแก้ไขสิ่งที่ไม่ไปตามข้อกำหนดมาตรฐานที่มีไว้ รวมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องและกำจัดสาเหตุ โดยถือเป็นมาตรฐานแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 

สินค้าจะขายดีและตั้งราคาได้สูงนั้นจำเป็นต้องมีคุณภาพ ต้องได้รับการตรวจสอบให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเราสามารถสังเกตได้จากเครื่องหมายรับรองคุณภาพต่างๆ จะปรากฏอยู่บนสินค้านั้นผู้ที่จะทำให้สินค้าได้คุณภาพตามมาตรฐานเหล่านี้ คือพนักงานตรวจสอบคุณภาพ หรือ พนักงานฝ่าย Q.C. กับ Q.A. นั่นเองครับ (Quality Control กับ Quality Assurance)

ประโยชน์ของการทำ Quality Control (QC)

แน่นอนว่าการควบคุมคุณภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะลูกค้าทุกคนก็อยากได้สินค้าที่ใช้งานได้ดี หากเราสามารถผลิตสินค้าที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง เราก็จะลดต้นทุนและลดความเสี่ยงได้หลายอย่าง โดยข้อดีของการทำ Quality Control มีดังนี้

• ลดค่าใช้จ่ายภายใน ภายนอกโรงงาน
• ช่วยวางแผนงานการผลิต วางนโยบายระดับบริษัทหรือองค์กร 
• ทำให้หาสาเหตุของการผิดพลาดในการทำงานได้
• ช่วยแก้ปัญหาการเกิดความไม่พอใจของลูกค้าได้ 

ในบางประเทศ ‘กฏหมาย’ และ ‘มาตรฐาน’ ต่างๆจะเป็นตัวกำหนดว่าคุณภาพที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างไร (เช่น ISO มอก. อย.) สินค้าที่ไม่ได้ตามคุณภาพเหล่านี้ก็อาจจะมีปัญหาด้านการขายเพิ่มเติมได้

พนักงานตรวจสอบคุณภาพทำหน้าเกี่ยวกับ การควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าโดยตรวจสอบทุกขั้นตอน ของกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยหน่วยงานรัฐหรือตามมาตรฐานทั่วไปเพื่อเป็นเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือต่อลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

มาตรฐานของ Q.C. หมายถึงอะไร?

Q.C. คือ การควบคุมคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐานตามกฎหมายได้กำหนดไว้ เพื่อแก้ไขสิ่งผิดพลาดที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อบกพร่องและกำจัดสาเหตุของสิ่งนั้น

จริงๆแล้วการทำ QC นั้นสามารถทำได้กับทุกสินค้าและกระบวนการ เพราะเราสามารถคุมคุณภาพการทำอาหาร การผลิตสินค้า หรือแม้แต่การจัดซื้อสินค้าก็ได้ แต่ในภาษาคนทั่วไป การทำ QC ก็คือการควบคุมคุณภาพตามการกำหนดของรัฐบาล หรือตามการกำหนดของระบบการผลิตขนาดใหญ่ อย่างโรงงานผลิตสินค้าเป็นต้น

สำหรับประเทศไทยมีการควบคุมโดยรัฐบาลโดยมีการจัดตั้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ มีหน้าที่ดำเนินงานด้านมาตรฐานของประเทศเพื่อความปลอดภัยและเศรษฐกิจ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

ในปี พ.ศ.2534 ประเทศไทยได้นำระบบมาตรฐาน ISO 9000 มาใช้ในประเทศโดยสำนักงานมาตรฐานผลผลิตอุตสาหกรรมได้ดำเนินการให้มีการประกาศใช้เป็นมาตรฐาน (มอก. 9000) เป็นมาตรฐานระดับชาติเพื่อให้บริษัทและโรงงานนำไปใช้ 

ถ้าเป็นสินค้าอุปโภค-บริโภค จะใช้มาตรฐานของ อย. ควบคุมโดย สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา(Food and Drug Administration) เป็นหลักครับ ทำหน้าที่ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง การได้เครื่องหมาย อย. อยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ

เช่น อาหารที่จะได้รับ อย.ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบ ความเหมาะสมของสถานที่ตั้งอาคารเครื่องมือผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ในการผลิต การควบคุมกระบวนการผลิต บำรุงรักษาโรงงานรวมถึงบุคลากรในการผลิต ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ในการผลิตอาหาร หรือ จี.ดี.พี. (Good Manufacturing Practice) เมื่อผ่าน อย. จะได้สัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์แล้วสินค้าก็จะถูกรับผิดชอบความปลอดภัยโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข นั่นเองครับ

ประเภทของ Q.C. มีอะไรบ้าง ? 

1. Q.C. สำหรับผลิตภัณฑ์

การผลิตสินค้าในปัจจุบันจำเป็นต้องผ่านการควบคุมคุณภาพก่อนนำสินค้าออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดเพราะการควบคุมคุณภาพ นอกจากจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจในสินค้าแล้ว องค์กรที่ผลิตสินค้ายังได้ประโยชน์จากการลดของเสียในโรงงานอีกด้วย Q.C. จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการควบคุมคุณภาพสินค้าตรวจสอบสินค้าและประกันคุณภาพให้แก่ลูกค้า

2. Q.C. สำหรับวัตถุดิบ

วัตถุดิบดีมีคุณภาพจะทำให้ผลิตภัณฑ์ ผลิตออกมามีคุณภาพ ดังนั้นการคัดเลือกวัตถุดิบให้ตรงตามมาตรฐาน เป็นเรื่องจำเป็นมากการ Q.C. ในระยะเริ่มต้นจะต้องเข้าใจถึงเรื่องมาตรฐานของอาหารที่จะผลิตโดยต้องคำนึงว่า ผลิตภัณฑ์อาหาร นั้นสุดท้ายแล้วต้องการให้ได้ รูปร่างหน้าตา รสชาติอย่างไรและสอดคล้องกับกฎข้อบังคับทางกฎหมายและมาตรฐาน ต่างๆ อย่างไรบ้าง แล้วนำมาตั้งข้อกำหนดในการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบขึ้นเรียกว่า Specification (สเปคสินค้า)

3. Q.C. สำหรับกระบวนการต่างๆ

กระบวนการก็ต้องมีการสุ่มตรวจคุณภาพอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารต้องมีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีการควบคุม Q.C. เป็นพิเศษ อาจมีการใช้วิธีตรวจแบบ สุ่มตรวจเป็นชั่วโมง หรือ สุ่มตรวจในระหว่างการผลิตซึ่งการสุ่มตรวจจะเหมาะสมเพียงใดขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์นั้นๆ

โดยการสุ่มตรวจกระบวนการนั้นทำได้หลายอย่าง เราจะเห็นได้ว่าในธุรกิจที่เน้นด้านบริการต่างๆ (ร้านอาหาร สายการบิน หรือแม้แต่บริษัทขนส่ง) ก็ต้องมีการสุ่มตรวจแต่ละกระบวนการเพื่อดูว่าพนักงาน เครื่องจักร หรือกระบวนการต่างๆ ยังสามารถสร้างผลลัพธุ์ที่น่าพึงพอใจได้อยู่แค่ไหน เช่น ส่งของทันเวลาหรือเปล่า สินค้ามีปัญหาระหว่างการเคลื่อนย้ายหรือเปล่า

ตัวอย่าง การ Q.C. ควบคุมคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์น้ำปลา

เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพมากขึ้น ผมจะขอยกตัวอย่างการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จ จนเกิดเป็นมาตรฐานของน้ำปลา ซึ่งอาจจะละเอียดมากกว่าที่ทุกคนคิดนะครับ

-มีกลิ่นรสน้ำปลาแท้
-ใสไม่มีตะกอนเว้นแต่ตะกอนอันเกิดขึ้นตามธรรมชาติไม่เกิน 0.1 กรัมต่อน้ำปลา 1 ลิตร
-มีเกลือ (Sodium Chloride) ไม่น้อยกว่า 200 กรัม ต่อน้ำปลา 1 ลิตร
-มีไนโตรเจนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 9 กรัมต่อน้ำปลา 1 ลิตร
-มีไนโตรเจนจาก กรดอะมิโน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และไม่เกินร้อยละ 60 ของไนโตรเจนทั้งหมด
-มีกรดกลูตามิคต่อไนโตรเจนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 0.4 แต่ต้องไม่เกิน 0.6
-ไม่ใช้สีเว้นแต่สีน้าตาลเคี่ยวไหม้หรือสีคาราเมล
-ไม่ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล

Q.C. และ Q.A. คืออะไร ต่างกันไหม?

ความหมายของ Q.A. (Quality Assurance) คือ การสร้างความมั่นใจและการประกันคุณภาพของสินค้า

ทำหน้าที่วางแผนและประยุกต์ใช้ระบบมาตรฐานภายใต้ระบบงานคุณภาพทั่วไปแล้วคือ กิจกรรมเพื่อการสร้างความ ‘มั่นใจ’ สามารถรับประกันกับลูกค้าได้ว่าคุณภาพของสินค้าในทุกด้าน ในทุกช่วงเวลาจะเป็นไปตามที่ตกลงกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ความหมายของ Q.C. (Quality Control) คือ การตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามมาตร  ฐานที่กำหนดไว้ ทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามแผนงาน ทั่วไปแล้วคือ กิจกรรมเพื่อการสร้างความ ‘พึงพอใจ’ ให้แก่ลูกค้าเพื่อการยืนยันว่าสินค้าเป็นไปตามที่ได้ประกันคุณภาพไว้กับลูกค้าหรือไม่ โดยใช้วิธีควบคุมและการตรวจสอบ การทดสอบใช้สินค้าจริง ก่อนถึงมือลูกค้าจริงๆ

Q.A. สร้างความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภค
Q.C. สร้างความพอใจเป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายได้กำหนดไว้

ทั้งสองหน้าที่ต่างต้องทำงานร่วมกันต้องช่วยกัน ซึ่งในแต่ละบริษัทอาจจะรับผิดชอบหรือมีขอบเขตงานต่างกันขึ้นอยู่กับบริบท มุมมอง ข้อจำกัดหรือวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์กร 

“หลักการของ Q.C. คือ วัตถุดิบ > คัดวัตถุดิบ > ผลิตภัณฑ์ > ผู้บริโภค”

ในตลาดโลกรัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจก่อตั้งสถาบันสาหรับให้ข้อมูลผู้บริโภคและให้การรับรองผลิตภัณฑ์ตลอดจนกำหนดข้อมูลการแสดงฉลากสำหรับ GM  foods ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ ในเดือนเมษายน 2544 โดยมีฉลากกำหนดผลิตภัณฑ์ 30 ชนิด โดยสินค้าที่ได้มาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้ จะต้องแสดงฉลากว่า “GMO-used” หรือ “GMO non-segregated” ผลิตภัณฑ์ที่พิสูจน์ได้ว่าปราศจาก GMO crops เป็นต้นเพื่อเป็นการบอกนานาประเทศว่า สินค้าเหล่านี้ได้รับการ Q.C. และตรวจสอบได้รับซึ่งมาตรฐานแล้วเรียบร้อยแล้วเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้านั่นเองครับ

Tiger

เจ้าของบล็อก TWN ชอบอ่านหนังสือและข่าวธุรกิจทั้งในไทยและนอกประเทศ พออ่านมาเยอะก็เลยอยากนำความรู้มาแบ่งปัน

บทความล่าสุด